พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 จำนวน 40 ข้อพร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499” ไว้ในนี้แล้ว1.พระราชบัญญัตินี้ให้ไว้เมื่อใดก. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ข.วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ค.วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ง.วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499ตอบ ก.2.ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใครก.สภานิติบัญญัติแห่งชาติข.วุฒิสภาค.สภาผู้แทนราษฎรง.รัฐสภาตอบ ค.3.พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดก.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาสามสิบวันค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวันง.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเก้าสิบวันตอบ ก.4.ประมวลกฎหมายอาญาท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อใดก. 1 มกราคม พ.ศ. 2499ข.1 มกราคม พ.ศ. 2500ค.1 มกราคม พ.ศ. 2501ง. 1 มกราคม พ.ศ. 2502ตอบ ก.5.ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 1 หมายถึงข้อใดก.ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทข.ปรับไม่เกินสามร้อยบาทค.ปรับไม่เกินห้าร้อยบาทง.จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อย บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตอบ ก.6.ถ้าอ้างถึงโทษชั้น 2 หมายถึงข้อใดก.ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทข.ปรับไม่เกินสามร้อยบาทค.ปรับไม่เกินห้าร้อยบาทง.จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อย บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 5 เมื่อประมวลกฎหมายอาญาได้ใช้บังคับแล้ว ในกรณีที่กฎหมายใดได้ กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญาไว้ให้ถือว่ากฎหมายนั้นได้อ้างถึง โทษ ดังต่อไปถ้าอ้างถึงโทษชั้น 1 หมายความว่า ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทถ้าอ้างถึงโทษชั้น 2 หมายความว่า ปรับไม่เกินห้าร้อยบาทถ้าอ้างถึงโทษชั้น 3 หมายความว่า จำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าอ้างถึงโทษชั้น 4 หมายความว่า จำคุดไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ7.เมื่อประมวลกฎหมายได้ใช้บังคับแล้ว ในการจำคุกแทนค่าปรับตาม กฎหมายใด ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้ประการใด ให้นำประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ แต่สำหรับความผิดที่ได้กระทำก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ มิให้กักขังเกินกว่ากี่ปีก.เกินกว่าหนึ่งปีข.เกินกว่าสองปีค.เกินกว่าสามปีง.เกินกว่าสี่ปีตอบ ก.8.ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัย ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเสมือน เป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับ มาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก.เกินกว่าสิบแปดชั่วโมงข.เกินกว่ายี่สิบแปดชั่วโมงค.เกินกว่าสามสิบแปดชั่วโมงง.เกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ในกรณีวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 46 แห่งประมวล กฎหมายอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเสมือน เป็นความผิดอาญา แต่ห้ามมิให้คุมขังชั้นสอบสวนเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ถูก จับมาศาลรวมเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย9.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ความผิด”ก.ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในข.ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกค.ความผิดเกี่ยวกับการปกครองง.ถูกทุกข้อตอบ ง.9.ข้อใดไม่ใช่ “ความผิดความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง”ก.ความผิดเกี่ยวกับเงินตราข.ความผิดเกี่ยวกับการค้าค.ความผิดเกี่ยวกับเอกสารง.ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตอบ ข.10.ข้อใดไม่ใช่ “ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย”ก.ความผิดต่อชีวิตข.ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชราค.ความผิดเกี่ยวกับเพศง.ความผิดต่อร่างกายตอบ ค.11.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง”ก.ความผิดต่อเสรีภาพข.ความผิดฐานเปิดเผยความลับค.ความผิดฐานหมิ่นประมาทง. ถูกทุกข้อตอบ ง.12.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์”ก.ความผิดเกี่ยวกับการค้าข.ความผิดฐานฉ้อโกงค.ความผิดฐานบุกรุกง.ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตอบ ก.13. ข้อใดหมายถึง “โดยทุจริต”ก.เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นข.ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรและให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วยค.หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธง.กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลขหรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นตอบ ก.14.ข้อใดหมายถึง “ทางสาธารณะ”ก.เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นข.ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจรและให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วยค.หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธง.กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลขหรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นตอบ ข.15.กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรตัวเลขหรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น ข้อความขึ้นต้นตรงกับข้อใดก. เอกสารข.อาวุธค.เคหสถานง.เอกสารราชการตอบ ก.16.เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย ข้อความขึ้นต้นตรงกับข้อใดก. เอกสารข.อาวุธค.เคหสถานง.เอกสารราชการตอบ ง.17.ข้อใดหมายถึง “เอกสารสิทธิ”ก.เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิข.เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตามค.เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทยรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใดเพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่างประเทศง.เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วยตอบ ก.18. ข้อใดหมายถึง “หนังสือเดินทาง”ก.เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิข.เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตามค.เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทยรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใดเพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่างประเทศง.เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้นๆที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วยตอบ ง.19.ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง ข้อความขึ้นต้นหมายถึงข้อใดก.คุมขังข.ค่าไถ่ค.กักขังง.เรียกค่าไถ่ตอบ ข.20.การได้รับโทษในราชอาณาจักร กระทำความผิดตามข้อใดก.ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรข.ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ค.ความผิดฐานชิงทรัพย์ ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.21.ข้อใดคือการกระทำความผิดนอกราชกอาณาจักรก.ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย ข.ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าวค.ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.ตอบ ง.22.ข้อผิดตามข้อใด จะต้องได้รับโทษภายในราชอาณาจักรก.ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนข.ความผิดเกี่ยวกับเพศค.ความผิดฐานทอดทิ้งเด็กง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร 1.ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้ เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ 2.ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็น ผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร(1)ความผิดเกี่ยวกับการให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน(2)ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร(3)ความผิดเกี่ยวกับเพศ(4)ความผิดต่อชีวิต(5)ความผิดต่อร่างกาย(6)ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก(7)ความผิดต่อเสรีภาพ(8)ความผิดฐานกรรโชก(9)ความผิดฐานฉ้อโกง(10)ความผิดฐานยักยอก(11)ความผิดฐานรับของโจร(12)ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์(13)ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์23.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “โทษสำหรับลงผู้กระทำความผิด”ก.ริบทรัพย์สินข.ปรับค.กักขังง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 18 โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้(1) ประหารชีวิต(2) จำคุก(3) กักขัง(4) ปรับ(5) ริบทรัพย์สิน24.โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำ ความผิดในข้อใด ก.ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีข.ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปีค.ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบสองปีง.ผู้ที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีตอบ ก.25.ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มี ระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษ จำคุกกี่ปีก.สามปีข.สี่ปีค.ห้าปีง.เจ็ดปีตอบ ค.26.ผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนด จะได้รับการเลี้ยงดูจากสถานที่ นั้น แต่ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ ผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิที่จะรับอาหารจากภายนอกโดย ค่าใช้จ่ายของตนเอง ใช้เสื้อผ้าของตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละกี่ชั่วโมงก. วันละหนึ่งชั่วโมงข.วันละสองชั่วโมงค.วันละสามชั่วโมงง.วันละสี่ชั่วโมงตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 25 ผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนด จะได้รับการเลี้ยงดูจากสถานที่ นั้น แต่ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ ผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิที่จะรับอาหารจากภายนอกโดย ค่าใช้จ่ายของตนเอง ใช้เสื้อผ้าของตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง และรับและ สองจดหมายได้ผู้ต้องโทษกักขังจะต้องทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับและวินัย ถ้าผู้ต้องโทษกักขัง ประสงค์จะทำงานอย่างอื่นก็ให้อนุญาตให้เลือกทำได้ตามประเภทงานที่ตนสมัครแต่ต้องไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ วินัย หรือความปลอดภัยของสถานที่นั้น27.ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินภายในกี่วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาก.ภายในสามสิบวันข.ภายในสี่สิบห้าวันค.ภายในหกสิบวันง.ภายในแปดสิบวันตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 29 ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่ง ให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้28.ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรากี่บาทต่อหนึ่งวันก.หนึ่งร้อยบาทข.สองร้อยบาทค.สามร้อยบาทง.สี่ร้อยบาทตอบ ข.29.เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้วให้ปล่อยตัวเมื่อใดก.ปล่อยตัวในวันที่ครบกำหนดทันทีข.ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนดค.ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนดเจ็ดวันง.ไม่มีข้อใดถูกตอบ ข.30.ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งตามข้อใดก.ให้ยึดทรัพย์สินนั้นข.ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็มค.ให้ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่งหรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้แต่ไม่ชำระให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งแต่ไม่เกินหนึ่งปีง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้(1) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น(2) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ(3) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกิน หนึ่งปีแต่ถ้าภายหลังปรากฏแก่ศาลเอง หรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่า ผู้นั้นไม่สามารถส่งทรัพย์สิน หรือชำระราคาได้ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบกำหนดก็ได้31.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “วิธีเพื่อความปลอดภัย”ก.ห้ามเข้าเขตกำหนดข.เรียกประกันทัณฑ์บนค.คุมตัวไว้ในสถานพยาบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 39 วิธีการเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้(1) กักกัน(2) ห้ามเข้าเขตกำหนด(3) เรียกประกันทัณฑ์บน(4) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล(5) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง32.ในการเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มขึ้นถึงประหารชีวิต จกคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกเกินกี่ปีก.เกินสามปีข.เกินสีปีค.เกินห้าปีง.เกินหกปีตอบ ค.33.ในการลดโทษจำคุกตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษ หรือลดโทษที่จะลง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกกี่ปีก.สามสิบปีข.สี่สิบปีค.ห้าสิบปีง.หนึ่งร้อยยี่สิบปีตอบ ค.34.เงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้นศาลกำหนดตามข้อใดก.ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราวข.ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะค.ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดนั้น ศาลอาจกำหนดข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงาน จะได้สอบถาม แนะนำช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการ ประกอบอาชีพ หรือจัดให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่เจ้าพนักงาน และผู้กระทำความผิดเห็นสมควร(2) ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ(3) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำ ความผิดในทำนองเดียวกันอีก(4) ให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกาย หรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ. สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด(5) เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก่ไข้ ฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ ผู้กระทำความผิดผู้กระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก35.ข้อใดหมายถึง “ความรับผิดชอบในทางอาญา”ก.ได้กระทำโดยเจตนาข.รู้สึกสำนึกในการกระทำค.กระทำโดยประมาทง. ถูกทุกข้อตอบ ง.36.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น”ก.อยู่ในที่บังคับ ข.เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดไดhค.อยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.37.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การพยายามกระทำความผิด”ก.ลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทาไปตลอด แล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลข.กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงายค.กระทำการโดยมุ่งต่อผลแต่การ กระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.38.ข้อใดหมายถึง “ตัวการและผู้สนับสนุน”ก.ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการข.นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดค.กระทำความผิดเพราะมีผู้ใช้ให้กระทำง. ถูกทุกข้อตอบ ง.39.ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หมายถึงโทษตามข้อใดก.สิบปีข.ยี่สิบปีค.สี่สิบห้าปีง.ห้าสิบปีตอบ ก.40.ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง เกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต หมายถึงโทษตามข้อใดก.สิบปีข.ยี่สิบปีค.สี่สิบห้าปีง.ห้าสิบปีตอบ ง.บทสรุป แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อยเกี่ยวกับ “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499” เช่น โทษการปรับ การประมวลกฎหมายอาญา ความผิดแต่ละหมวด ความผิดทั่วไป การใช้กฎหมายอาญา โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย วิธีการเพื่อความปลอดภัย วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอลงโทษ ความรับผิดชอบในทางอาญา การพยายามกระทำความผิด ตัวการและผู้สนับสนุน การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง และอายุความได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้กำหนดโทษโดยอ้างถึงโทษฐานลหุโทษในกฎหมายลักษณะอาญา โดย ปลาทู กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร โดย ปลาทู ระยะเวลากำหนดส่งทรัพย์สินที่รีบมา โดย ปลาทู เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทําความผิด โดย ปลาทูภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !