9 วิธีกำจัดความน่าเบื่อหน่าย ความรู้สึกจำเจ รู้สึกเซ็งกับชีวิตความน่าเบื่อ ความรู้สึกเซ็ง ความจำเจ เป็นสถานการณ์ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเราทุกคนค่ะ ที่เรารู้ได้เพราะบางคนพอเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายก็มักจะพูดว่าออกมาว่าเบื่ออย่างนั้นอย่างนี้ แต่อีกหลายคนอาจจะเก็บเงียบหรือแสดงออกในแบบอื่นแทนเมื่อรู้สึกเซ็งและเบื่อหน่ายค่ะ อาการของความเบื่อหน่ายสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปค่ะ ต่อให้เป็นวัยรุ่นก็ยังมีอาการเซ็งได้ค่ะ อาการเบื่อหน่ายหรืออาการเซ็งนี้เราสามารถสังเกตได้ค่ะ โดยคนที่มีอาการเบื่อหน่ายมักไม่มีความสนใจหรือความตื่นเต้นในสิ่งที่กำลังอยู่ตรงหน้า หรือไม่สนุกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวหรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในตอนนั้นค่ะ ความน่าเบื่อสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดค่ะ เพราะบางคนก็มีความเบื่อหน่ายกับสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป หนาวเกินไป ฝนตกบ่อย ดังนั้นความน่าเบื่อหน่ายของแต่ละคนมีสาเหตุต่างกันค่ะ แต่เรามารู้กันเลยดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้างที่สามารถทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่ายค่ะ- การทำงานที่เป็นกิจกรรมเดิมซ้ำๆ บางคนอาจเรียกว่า งานประจำค่ะ โดยงานประจำทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่ายได้เพราะลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในลักษณะเดิมตลอดจะว่าหลับตาทำก็ยังทำได้ค่ะ โดยงานประจำมีส่วนทำให้เราต้องคิดหรือใช้ความคิดสร้างสรรค์น้อยมากค่ะ พอไม่ได้มีอะไรใหม่ พองานเป็นแบบเดิมซ้ำๆ ความน่าเบื่อหน่ายจึงก่อตัวขึ้นค่ะ - ความผิดหวัง ในบางครั้งการที่เราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความผิดหวัง ก็ง่ายมากค่ะที่เราจะเซ็งและเบื่อ เพราะความผิดหวังทำให้เราไม่กระตือรือร้นและไม่กระปรี้กระเปร่า จึงกลายเป็นความน่าเบื่อหน่ายตามมา หมดแรงหมดกำลังใจและรู้สึกจำเจและเซ็งค่ะ- ความเครียด การมีความเครียดเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่ายค่ะ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วความเครียดมักเกิดจากการมีปัญหาให้ต้องแก้ไข เราจึงตกอยู่ในสถานการณ์ของความยากลำบากและตามมาด้วยการคิดลบค่ะ และการคิดลบนี่เองที่ทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายและเซ็ง เพราะเราคิดถึงแต่ความยากลำบาก ความยุ่งยาก ปัญหาและความซับซ้อนค่ะ โดยความเครียดอาจเกิดจากหลายสาเหตุนะคะ เช่น การทำงานหนักเกินไปจนทำให้ไม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอค่ะ- สภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในบางครั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีส่วนทำให้เรามีความเบื่อหน่ายได้ง่ายๆ ค่ะ เช่น การอยู่ในสภาวะที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้อื่น การอยู่ท่ามกลางปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเหตุรำคาญที่ย่ำแย่จนสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ค่ะ- ขาดแรงบันดาลใจ การขาดแรงบันดาลใจหรือความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตอาจทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายและเซ็งได้ง่ายๆ แบบไม่เกี่ยวกับคนอื่นเลยค่ะ เพราะการขาดแรงบันดาลใจจะทำให้เราหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่อยากลงมือทำอะไรเลย ดูเหมือนหมดแรงตลอดเวลา ใช้ชีวิตเหมือนผักเหี่ยว ไม่อยากพัฒนาอะไรในชีวิตให้ดีขึ้นค่ะ พอเป็นแบบนี้จึงรู้สึกเซ็งและเบื่อหน่ายได้ค่ะ- มีปัญหาทางจิต ในบางครั้งการมีภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลหรือปัญหาทางจิตอื่นๆ ก็สามารถทำให้เรามีความเบื่อเซ็งเกิดขึ้นได้ค่ะ เพราะโดยปกติแล้วปัญหาสุขภาพจิตมักบั่นทอนสุขภาพกายด้วย ดังนั้นพอซึมเศร้าก็ยากที่จะมองเห็นความหวังและโอกาสในชีวิตด้านอื่นๆ ค่ะ จึงไม่กระตือรือร้นและตามมาด้วยมีความเบื่อหน่ายในชีวิตค่ะซึ่งโดยสรุปแล้ว ความน่าเบื่ออาจเป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเราได้ค่ะ แต่ถ้าเราปล่อยให้ความน่าเบื่อเกิดขึ้นในระยะยาวหรือมีความรุนแรงขึ้น ก็อาจไม่ได้เป็นผลดีทั้งต่อตัวเองและคนอื่นรอบตัวเราค่ะ ดังนั้นการหันมาจัดการกับความน่าเบื่อหรือความรู้สึกเซ็งที่เป็นอยู่ก็เป็นเรื่องจำเป็นตามมาค่ะ โดยความน่าเบื่อหน่ายไม่ใช่เรื่องคงทนถาวร แต่การกำจัดความเบื่อหน่ายมีวิธีการที่จำเพาะเจาะจงค่ะ โดยผู้เขียนมีวิธีกำจัดความน่าเบื่อหน่ายมาฝากในบทความนี้แบบจัดเต็มค่ะ เพราะเชื่อว่ามีอีกหลายคนแน่นอนที่กำลังมองหาแนวทางกำจัดความน่าเบื่อ ความจำเจและความเซ็งค่ะ โดยมีวิธีที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ1. ทำกิจกรรมใหม่ๆ การลองทำกิจกรรมหรืองานที่ไม่เคยลองมาก่อน เช่น การเรียนรู้กีฬาใหม่ การทำงานฝีมือแบบใหม่ หรือการลองอาหารชนิดใหม่ เป็นต้น การทำกิจกรรมใหม่จะช่วยเติมเต็มชีวิตของเราเพราะส่วนมากแล้วกิจกรรมใหม่ๆ จะเต็มไปด้วยความสนุกสนานและความตื่นเต้นค่ะ เพราะเราไม่คุ้นเคยกับสิ่งใหม่นั้นเลยจึงทำให้มีความกระตือรือร้นและอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลาในระหว่างที่ทำกิจกรรมใหม่นั้นๆ ค่ะ ความน่าเบื่อจึงก่อตัวได้ยากขึ้นค่ะ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้ประจำค่ะก็พบว่ายิ่งสนุกค่ะเวลาได้ทำอะไรใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ ค่ะ 2. เปลี่ยนสภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่ายๆ ค่ะ เพราะเราจะไม่รู้สึกตื่นเต้นอะไรเลย ให้ลองเปลี่ยนสถานที่หรือสภาพแวดล้อมใหม่ค่ะ อาจเป็นการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ในช่วงสั้นๆ ก็ได้ค่ะ เช่น การไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ การเดินเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ หรือการจัดห้องนอนและจัดบ้านแบบใหม่ๆ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมดูต่างจากเดิมค่ะ ปกติผู้เขียนจัดข้าวของในบ้านเพื่อเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ตลอดเวลาค่ะ จัดสวนหน้าบ้านใหม่ ไปเที่ยวในที่ใหม่ๆ ตลอดที่เป็นไปได้ค่ะ โดยส่วนตัวเคยสังเกตตัวเองค่ะ พบว่ามีความน่าเบื่อหน่ายเกิดขึ้นน้อยมาก คือตอนไหนถ้าจับได้ว่าตัวเองกำลังเบื่อๆ จะเปลี่ยนบรรยากาศรอบตัวเองทันทีค่ะถึงแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตามค่ะ3. ใช้เวลากับเพื่อน สมาชิกในครอบครัวหรือคนรัก การที่เรามีเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือคนที่คุณรักช่วยให้คุณรู้สึกเติมเต็มในชีวิตและไม่เบื่อหน่ายได้ค่ะ ในบางครั้งการพบปะกันนี้ยังทำให้เราได้เรียนรู้ พูดคุยและมีกิจกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นร่วมกันด้วยค่ะ จึงรู้สึกสนุกและกระปรี้กระเปร่าค่ะ ยังไงให้ลองใช้เวลากับเพื่อนสนิท ไปออกกำลังกายร่วมกันหรือแบ่งปันความสนุกสนานเล็กๆ น้อยๆ กับสมาชิกในครอบครัวดูค่ะ เพราะการใช้เวลากับคนที่สำคัญกับเราถือเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับตัวเองเราจึงไม่เบื่อค่ะ4. ฝึกฝนทักษะใหม่ การเรียนรู้ทักษะใหม่ที่เราสนใจ เช่น การเล่นเครื่องดนตรี การฝีกฝนกีฬาชนิดใหม่ หรือการฝึกฝนทักษะการเขียน การพูดในที่สาธารณะและอื่นๆ โดยการฝึกฝนทักษะใหม่นี้มีส่วนช่วยให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นค่ะ และทักษะใหม่ๆ ที่เราต้องการเรียนรู้ยังทำให้เราตื่นเต้นด้วยเพราะทักษะใหม่นี้ท้าทายความสามารถของเราค่ะ เราจึงไม่รู้สึกเบื่อหน่ายค่ะ5. มีเป้าหมายในชีวิตและให้รางวัลกับตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิตช่วยอย่างมากที่ทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อหน่ายค่ะ เพราะเราจะหันไปโฟกัสที่เป้าหมายที่เราตั้งใจว่าจะทำให้สำเร็จค่ะ พูดง่ายๆ คือ เราจะไม่ว่างมานั่งคิดเบื่อคิดเซ็งค่ะ และการให้รางวัลตัวเองเป็นสร้างแรงจูงใจค่ะจึงทำให้เรากระตือรือร้นมากขึ้น อยากทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้เสร็จมากขึ้นเพราะมีรางวัลรออยู่ จึงไม่มีเวลามาคิดถึงความเบื่อหน่าย ความเซ็งและความจำเจในชีวิตค่ะ6. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลและทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นค่ะ เราจึงกระตือรือร้น กระฉับกระเฉงมากขึ้น จึงช่วยลดความเบื่อหน่ายและความเซ็งในชีวิตประจำวันได้ค่ะ7. อ่านหนังสือหรือฟังหนังสือเสียง การอ่านหนังสือหรือฟังหนังสือเสียงเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะและทำให้เรามีความสนใจในเรื่องนั้นๆ มากขึ้นค่ะ ลองเลือกหนังสือหรือหนังสือเสียงที่เราสนใจมาอ่านและฟังดูค่ะ ในบางครั้งพอเรากำลังอ่านหนังสือไปนั้นผู้เขียนพบว่าไอเดียใหม่ๆ มักผุดขึ้นมาค่ะ จะว่าการอ่านหนังสือทำให้เรากระตือรือร้นขึ้นมาก็ได้ค่ะ และที่สำคัญยังทำให้เรามีสมาธิและสติมากขึ้นด้วย เราจึงเลิกสนใจความน่าเบื่อหน่ายและหันมาสนใจสิ่งที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นค่ะ8. ช่วยเหลือผู้อื่น การที่เราได้ช่วยเหลือผู้อื่นและเป็นอาสาสมัครสามารถช่วยให้เรารู้สึกเติมเต็มในชีวิตได้ค่ะเราจึงมีความสุขตามมา และความสุขนี่เองที่ทำให้เราไม่เบื่อแต่เราจะกลับอยากทำสิ่งนั้นมากขึ้น จึงกระตือรือร้นมากขึ้นตามมาค่ะให้ลองเข้าร่วมกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชนของเราค่ะ การช่วยเหลือผู้อื่นนี้ยังหมายถึงสถานการณ์ที่เราได้สร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นด้วยนะคะ สมัยการออกมาให้ความรู้คนก็เป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้คนอื่นค่ะ จึงพบว่าเราจะรู้สึกเติมเต็มและไม่เบื่อหน่ายในชีวิตค่ะ9. การพักผ่อน การหันมาจัดตารางเพื่อพักผ่อนหรือพยายามหาเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อคลายความเครียด ถือเป็นการกำจัดความน่าเบื่อหน่ายที่ดีอีกวิธีการหนึ่งค่ะ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วกิจกรรมการพักผ่อนมักมีความแตกต่างจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันปกติ เลยคล้ายกับว่าเราเอาตัวเองไปอยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่ได้จำเจเหมือนปกติทุกวันค่ะ ดังนั้นเราจึงสนุกเพลิดเพลินและลืมความเบื่อหน่ายได้ค่ะและทั้งหมดคือ 9 วิธีกำจัดความน่าเบื่อหน่าย ความรู้สึกจำเจ รู้สึกเซ็งกับชีวิตค่ะ ที่ผู้เขียนประยุกต์ใช้ประจำ อ่านหนังสือ ฟังหนังสือเสียง ออกกำลังกาย ไปเที่ยวที่ใหม่ๆ ทำกิจกรรมใหม่ๆ เหล่านี้ทำตลอดค่ะ ถึงแม้ว่าบางอย่างจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำค่ะ จากที่ทำตลอดก็พบว่าตัวเองแทบจะไม่ค่อยมีความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นค่ะ คืออย่างน้อยที่สุดถ้าจับได้ความน่าเบื่อกำจัดก่อร่างสร้างตัวจะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ทันที ซึ่งสิ่งแรกและคนแรกที่จะช่วยกำจัดความเบื่อหน่ายในชีวิตเรา คือ ตัวเราและการตื่นรู้ของตัวเราเองค่ะ ที่หลายคนตกอยู่ในสถานการณ์ของความเบื่อหน่าย เป็นเพราะเราไปคิดว่าสิ่งภายนอกควบคุมและกำหนดความเบื่อหน่ายในชีวิต แต่แท้จริงแล้วตัวเราเป็นเจ้านายของความเบื่อหน่าย 100% ค่ะ และถ้าเราไม่เอาไม่ยอมให้ตัวเองเบื่อหน่ายความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นไม่ได้ค่ะ ดังนั้นลองนำทั้ง 9 วิธีกำจัดความน่าเบื่อหน่าย ความรู้สึกจำเจ รู้สึกเซ็งกับชีวิตไปปรับใช้กันค่ะ เพราะนี่คือทางรอดทางออกหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองมีความเบื่อหน่ายค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Karolina Grabowska จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย Krivec Ales จาก Pexels, ภาพที่ 2 โดย Afta Putta Gunawan จาก Pexels, ภาพที่ 3 โดย freestocks.org จาก Pexels, ภาพที่ 4 โดย nappy จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจ10 สาเหตุที่ทำให้คนรู้สึกหมดหวังในชีวิต ท้อแท้สิ้นหวัง หมดกำลังใจในชีวิต15 วิธีผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวลด้วยตัวเองสรุปแนวคิดจากหนังสือปรัชญาการใช้ชีวิต คาถาชีวิต 3 โดย วิกรม กรมดิษฐ์เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !