Photo by Glenn Carstens-Peters on Unsplashการตั้งชื่อบทความเป็นคำถาม เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้หลายคนต้องการเข้ามาหาคำตอบ แต่ผมขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะชื่อของบทความนี้เป็นเพียงตัวหลอกล่อให้คุณคลิกเข้ามาเท่านั้น เพราะการเขียนบทความที่ดี ไม่มีเกณฑ์วัดได้ ขึ้นกับว่าบทความนั้นถูกใจใครบ้างต่างหาก และในที่นี้เรากำลังขายบทความให้ทรูไอดีฯ บทความที่ดีจึงควรเป็นที่ถูกใจของผู้ตรวจสำหรับนักเขียนที่ต้องการให้บทความผ่านการตรวจง่าย ๆ โดยไม่ต้องแก้ซ้ำหลายรอบผู้เขียนขอแนะนำให้อ่านบทความ “เขียนบทความอย่างไร ให้ถูกใจ บก.” ที่ผมเคยเผยแพร่ไปแล้ว ส่วนในบทความนี้ผมจะนำเสนอวิธีการเขียนบทความให้ถูกตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นPhoto by Quino Al on Unsplashความคิดสร้างสรรค์สอนกันไม่ได้คุณสมบัติสำคัญของนักเขียนที่ควรมีคือ “ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อสร้างสิ่งใหม่ สิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่จรรโลงสังคม และเป็นที่ถูกใจของผู้อ่าน ซึ่งความสร้างสรรค์นี้อยู่ในตัวของแต่ละคน เพียงแต่ต่างกันในแง่มุมมอง ตลอดจนการแสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ชัดเจนมนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติในตัวเอง แต่การฝึกฝนก็สามารถสร้างให้ความคิดนั้นเกิดขึ้นได้ไม่ยาก สำหรับถนนของการเป็นนักเขียน การอ่านเป็นสิ่งสำคัญที่จะปูทางให้คุณสะสมคลังศัพท์ความรู้ คลังความคิด และสิ่งใหม่ที่สามารถหาได้จากการอ่าน ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ การ์ตูน หรือแม้แต่การบทความสั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นการสะสมคำศัพท์และเพิ่มมุมมองในการเล่าเรื่องใหม่ๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันมี Podcast แม้จะเป็นการเล่าเรื่องผ่านเสียง แต่ก็สามารถสร้างความรู้ และวิธีการเล่าเรื่องให้กับเราได้เป็นอย่างดีPhoto by Glen Carrie on Unsplashวิธีฝึกความคิดสร้างสรรค์ตั้งคำถามให้มากเข้าไว้ - เมื่อพบกับเหตุการณ์หรือสิ่งบางอย่าง ให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดการตั้งคำถามจะเกิดกระบวนการคิดและจิตนาการต่อสังเกตและจิตนาการ - การมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว สังเกตให้ลึกซึ้ง ตั้งคำถามและคิดจินตนาการจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์คิดต่างแต่อย่าแตกแยก - การฝึกคิดต่าง มองมุมตรงข้าม คิดมุมกลับปรับมุมมองจะช่วยให้เกิดความคิดใหม่ ๆ แต่ต้องระวังอย่านำความคิดสุดโต่งนั้นมามากเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียได้นอกกรอบ แต่อย่านอกคอก - การคิดให้แปลก ใหม่ ใหญ่ ดัง อะไรที่แปลก อะไรที่ใหม่ ยิ่งใหญ่ มักจะดัง เป็นหลักแนวคิดที่จะนำไปสู่ความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์นอกกรอบแต่สิ่งที่หลายคนมักลืมไปคือ ก่อนที่เราจะออกนอกกรอบ เราต้องรู้ก่อนว่า “ในกรอบมีอะไร?” เมื่อเรารู้ว่ากรอบที่เราอยู่มีหกเหลี่ยม เก้าเหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม เราก็สามารถต่อยอดออกจากกรอบนั้นได้ลงมือเขียน - หลังจากอ่านสะสมความรู้และคำศัพท์ได้มากแล้ว การฝึกเขียนจะช่วยให้เราเห็นพัฒนาการของตัวเองแนะนำให้เขียนไดอารีบอกเล่าชีวิตประจำวันของตัวเองเป็นอันดับแรก และลองเขียนให้ได้หนึ่งปี เมื่อมองย้อนกลับมาในวันแรกที่เขียน คุณจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนPhoto by Aaron Burden on Unsplashเริ่มต้นเขียนบทความอย่างไรผู้เขียนขอแนะนำว่า ให้เริ่มจาก “หัวใจ” ของตัวเอง การเขียนด้วยความจริงใจ ด้วยความรัก จะทำให้เราภูมิใจในสิ่งที่เรากำลังเขียน มอบความรักให้กับเนื้อหา แล้วสิ่งที่เขียนออกมาจะเต็มไปด้วยความตั้งใจ บทความนั้นจึงจะน่าอ่านองค์ประกอบของบทความเกริ่นนำการเขียนบทนำ เกริ่นนำ เป็นการนำให้ผู้อ่านสนใจเรื่องราวที่เรากำลังจะบอกเล่า กระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจใคร่รู้ เนื้อหาอาจเป็นการท้าวประวัติต่าง ๆ อ้างอิงข้อมูล หรือนำเรื่องด้วยประโยคที่ดึงดูดเพื่อชักจูงให้คนคล้อยตามเนื้อเรื่องทั้งหมดการเกริ่นนำผู้เขียนควรเริ่มจากสิ่งที่ตนเองประทับใจ ความคิดเห็นส่วนตัว การตั้งคำถามให้คิดต่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนย่อหน้าสั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเท่านั้นข้อควรระวังการเขียนเกริ่นนำที่ดี ไม่ควรเริ่มด้วยประโยค “สวัสดีค่า วันนี้เราจะมาแนะนำครีมล้างหน้ายี่ห้อกอไก่กันนะคะ” ซึ่งเราไม่ได้ถ่ายวิดีโอ ไม่จำเป็นต้องสวัสดี แต่นักเขียนอาจปรับให้เป็น... “คุณเคยล้างหน้าแล้วรู้สึกว่าหน้าไม่สะอาดไหม?”... “การล้างหน้าให้สะอาด เป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน การหาครีมล้างหน้าที่ทำหน้าที่นั้นดีเป็นเรื่องที่ยาก แต่ด้วยคุณสมบัติของครีมล้างหน้ากอขอคอ”เนื้อเรื่องคือเรื่องราวที่เป็นประเด็นหลังของบทความ เป็นส่วนเนื้อหาที่บอกว่าผู้เขียนต้องการเล่าเรื่องอะไร ในส่วนนี้สามารถเพิ่มเนื้อหาโดยแบ่งให้เป็นหลายย่อหน้าได้ ขึ้นกับว่าผู้เขียนต้องการบอกเล่ากี่ประเด็น และอย่าลืมว่า ในหนึ่งย่อหน้าไม่ควรมีมากเกินหนึ่งประเด็นในส่วนของเนื้อเรื่อง จะแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถ การสะสมคำศัพท์ การบรรยาย การวาดฝีไม้ลายมือด้านการเขียน การถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการนำเสนอที่นำไปสู่จุดหมายของบทความบทสรุปเป็นเนื้อหาที่สรุปย่อเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่บทนำ เนื้อหา เป็นการเน้นเรื่องราวแบบรวบยอด โดยผู้เขียนสามารถแทรกแง่คิด ข้อเตือนใจ ปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติดี ๆ หรืออาจส่งท้ายด้วยความรู้สึกของตัวผู้เขียนเองด้วยภาษาที่สละสลวยบทสรุปไม่ควรกล่าวว่า “หากผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยไว้ ณ ที่นี้” ถือเป็นการแสดงออกความไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่าสนใจ และแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนขาดความสามารถในการเล่าเรื่อง จึงขอแนะนำให้เขียนในเชิงวิเคราะห์จะทำให้บทความจบอย่างสวยงามรวมถึงประโยคที่บอกว่า "จบกันไปแล้วนะคะสำหรับ xxx" ซึ่งมักเป็นสคริปต์พูดของพิธีกรทางรายการโทรทัศน์ ไม่ควรนำมาใช้ในบทความ ซึ่งบทสรุปที่ดีควรเป็น"ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าดีต่อสุขภาพของตัวเราเอง ดังนั้นการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และที่สำคัญยังช่วยให้เรามีอายุยืนอีกด้วยค่ะ" จบแค่นี้ก็สวยงามตามท้องเรื่อง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับแต่ละบทความและความคิดสร้างสรรค์ด้วยว่าจะทิ้งข้อคิดอะไรไว้ที่บทสรุปหรือไม่ ดังเช่นอีกหนึ่งตัวอย่างของบทสรุปในบทความนี้ Photo by Florian Klauer on Unsplashการเขียนบทความจะดีได้หากได้รับการฝึกฝน ทุกคนสามารถเป็นนักเขียนได้เพียงแค่ “ลงมือเขียน” และทุกคนก็เป็นนักเขียนที่ดีได้เพียง “มุ่งมั่นและหมั่นฝึกฝีมือ” สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีใจรักการเขียน” ที่จะทำให้นักเขียนประสบความสำเร็จติดตามผลงานจาก ปรภ ไม่ใช่ รปภ ได้ที่Porraphat.comblockdit TrueID