มีหลายท่านที่มาถามผมว่าทำไมพืชผักถึงไม่ค่อยมีเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืชเลย ใช้วิธีการจัดการอย่างไรเพราะบางส่วนก็ไม่ได้กลางมุ้ง ความลับของผมก็คือ เราจะใช้แมลงปีกแข็งสีสันสวยงามที่มีชื่อว่า "เต่าทอง" คอยเป็นผู้ช่วยตัวน้อยในสวนผักของเรา การที่เราจะปลูกผักปลอดสารพิษนั้นไม่ยากเลยหากเราสามารถที่จะให้เวลาในการดูแลเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็กๆน้อย เพราะการปลูกผักปลอดสารพิษนั้นมีการจัดการหลายอย่างเพื่อให้ได้ซึ่งประสิทธิภาพ วิธีที่ใช้และมีประสิทธิภาพมากนั้นคือใช้เต่าทอง เต่าทองเป็นแมลงปากกัดปีกแข็งรูปร่างทรงกลมหรือรี ชนิดที่เป็นตัวห้ำนั้นส่วนใหญ่ปีกจะมันไม่มีขน ส่วนตัวด้วงเต่าที่เป็นศัตรูพืชนั้นมีไม่กี่ชนิดที่พบบ่อยคือ เต่ามะเขือ ด้วงเต่าแตง ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดว่าเต่ามะเขือคือเต่าทอง ไม่ใช่นะครับ เต่ามะเขือเป็นแมลงศัตรูพืชไม่ใช่แมลงที่ช่วยกำจัดเพลี้ยแต่อย่างใดผมได้ทดลองเลี้ยงเต่าทองและทดลองใช้ ซึ่งได้ผลแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เพลี้ยลดจำนวนน้อยลงมากอยู่ในปริมาณที่ไม่ทำอันตรายพืชผักของเราให้โทรมหรือผลผลิตตกต่ำถ้าไม่พลิกใบพืชส่องหาก็ไม่รู้เลยว่าพืชต้นนี้มีเพลี้ย ซึ่งจะต่างกับเมื่อก่อนต้นไหนมีเพลี้ยใบหงิกต้นโทรม วิธีการดูแลพืชผักของผมก็คือ ฉีดน้ำส้มควันไม้กับสมุนไพรสลับกันทุกๆ15วัน ปล่อยเต่าทองระยะที่ 2 (Larval Stage) ประมาณ 100 ตัว ต่อเดือน ซึ่งภายในเวลา 3 เดือนได้ผลเป็นที่พอใจตัวอ่อนเต่าทอง วงจรชีวิตของเต่าทองนั้นแบ่งเป็น4ระยะ ไข่-ตัวอ่อน-ดักแด้-ตัวเต็มวัย ตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มเรียงเป็นแถวคล้ายๆลูกลักบี้ ตัวอ่อนเต่าทองจะมีลักษณะเหมือนหนอนแต่มี 6 ขา มองดูผิวหนังคล้ายๆตุ๊กแก ซึ่งตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ภายใน 2- 3 วัน ตัวเมียผสมพันธุ์ครั้งเดียวสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิต ตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 1 – 2 เดือน วางไข่ได้ประมาณ 1000 ฟอง ตลอดชีวิตสามารถกินเหยื่อได้มากกว่า 1,100 ตัว วงจรชีวิตเต่าทองเต่าทองเป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จับกินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยทุกชนิดที่เล็กกว่ามัน รวมทั้งไข่ของแมลงศัตรูพืช เต่าทองลายหยักสีแดงที่คัดไว้ ไข่เต่าทองเต่าทองพร้อมขยายพันธุ์ การเลี้ยงและขยายพันธุ์วัสดุอุปกรณ์ กระถางปลูกดินผสมเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวโหลขนาด 10 x 10 x 15 ซม. เจาะรูด้านบนขั้นตอน ปลูกถั่วเขียวในกระถางให้แน่นดูแลรดน้ำถั่วให้งอกและให้มีอายุหลังจากงอกประมาณ 10 วันนำเพลี้ยอ่อนมาปล่อยไว้บนต้นถั่วรอให้เพลี้ยเพิ่มจำนวนจนได้ปริมาณมากพอที่จะใช้เป็นอาหาร นำพ่อแม่พันธุ์เต่าทองใส่เข้าไป ตัวเมียจะตัวใหญ่อ้วนกลมกว่าตัวผู้ หรือใช้วิธีง่ายๆ ที่ใช้แยกตัวเมียกับตัวผู้คือ นำเต่าทองตัวเต็มวัยหลายๆตัวมาอยู่ตู้เลี้ยงเดียวกันปล่อยไปสักพักใหญ่ ตัวผู้จะคอยขึ้นหลังตัวเมียบ่อยๆ เราจึงจับเต่าทองคู่นั้นไปเลี้ยงแยกไว้ต่างหาก โดยการถอนต้นถั่วที่มีเพลี้ยอ่อนมาใส่ไว้แล้วใช้กระดาษทิชชูรองก้นโหลเพื่อดูดความชื้น ปล่อยให้เต่าทองวางไข่ เก็บพ่อแม่พันธุ์เต่าทองออกแล้วเอาไปใส่ในโหลใบใหม่เพื่อให้วางไข่อีก ให้เตรียมใส่เพลี้ยอ่อนไว้ในโหลที่เต่าทองวางไข่ไว้ ในกล่องเลี้ยงจะต้องเปลี่ยนอาหารบ่อยและนำต้นถั่วเก่าออกทิ้งด้วยเมื่อตัวอ่อนฟักออกจากไข่จึงนำไปปล่อยในสวนในจุดต่างๆที่มีเพลี้ย หวังว่าพอจะเป็นแนวทางสำหรับท่านที่อยากปลูกผักแบบปลอดสารพิษแล้วได้ของแถมเป็นเพื่อนตัวจิ๋วสีสันสวยงามนะครับรูปภาพหน้าปกจาก Pixabayรูปภาพ1จาก http://www.pmc03.doae.go.th/webpage/NE.htmlรูปภาพจาก2-10 ถ่ายโดยนักเขียน