ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรเริ่มต้นขึ้น หลังจากอาณาจักรทวารวดีได้เสื่อมอำนาจลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ในช่วงนั้น พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้แผ่ขยายอำนาจโดยใช้กองทัพเข้าไปยังศูนย์กลางของทวารวดีจนสามารถเอาชนะได้สำเร็จ และครองความเป็นใหญ่นานอยู่เกือบ 300 ปี ก่อนหน้าที่อาณาจักรเขมรจะได้เข้ามาเป็นใหญ่นั้น อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรนี้นักวิชาการได้ตีความไว้ว่าเป็นอาณาจักรของชาวมอญ เพราะได้ค้นพบหลักฐานเป็นศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ เช่น จารึกวัดโพธิ์ร้าง ที่นครปฐม การค้นพบหลักฐานโดยส่วนใหญ่พบว่าอาณาจักรทวารวดี เป็นหลักฐานเกี่ยวของกับพระพุทธศาสนานิกายหินยาน หรือเถรวาทเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ฮินดูไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่ออาณาจักรเขมรขึ้นเป็นใหญ่ โดยเฉพาะภาคอีสานของไทย มีหลักฐานที่เห็นได้ชัด เช่น ปราสาทพนมวัน ปราสาทพิมาย ปราสาทเมืองเเขก ปราสาทครบุรี เมืองโบราณเสมา ฯลฯ จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทพนมรุ้ง ฯลฯ จังหวัดบุรีรัม ปราสาทสด๊อกก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ฯลฯ เป็นต้น อีกทั้งยังพบเทวรูปและพระพุทธรูป อีกมากในหลายพื้นที่ หลักฐานหรือศิลปะวัตถุเหล่านี้ทำให้ทราบว่า ความเจริญของอารยธรรมเขมรมีศาสนาอยู่เป็นเบื้องหลังและมีผลต่อระบบการปกครองและสังคม ความเชื่อความศรัธทาของกษัตริย์ และประชาชนในสมัยเขมรนั้นมีศาสนาเป็นตัวกำกับคือ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพระพุทธศานานิกายมหายานหรือตันตระยาน ทั้งสองศาสนานี้หลักฐานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ปกครองและความนิยมตามภูมิภาค หลักฐานที่พบมากคือปราสาทหิน ปราสาทหินเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรศรีวิชัย โดยการสร้างถาวรวัตถุนั้นจะใช้วัสดุที่เป็นหินนำมาตัดเพื่อใช้ในการก่อสร้าง และหินที่นำมาใช้ก่อสร้างนั้นจะเป็นหินทรายและศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก เทวสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู องค์ประกอบของปราสาทศิลปะเขมรประกอบด้วยปราสาทประธาน และมีปราสาทขนาดย่อมเป็นบริวาร ล้อมด้วยกำแพงหินเป็นกรอบ การสร้างปราสาทนี้เป็นการจำลองจักรวาล โดยมีปราสาทประธานเป็นตัวแทนของภูเขาสิเนรุ เป็นใจกลางของจักรวาล ปราสาทโดยส่วนใหญ่เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยส่วนใหญ่จะนิยมสร้างอุทิศให้กับพระศิวะ คือไศวะนิกาย การทำพิธีกรรมเพื่อแสดงความเคารพ นอกจากจะถวายเครื่องเส้นแล้ว พราหมณ์หรือนักบวชจะใช้น้ำรดลงบนแท่งศิวลึงค์ ให้น้ำไหลลงไปฐานโยนีผ่านรางน้ำหรือท่อโสมสูตร น้ำที่ผ่านการทำพิธีถือว่าเป็นน้ำศักสิทธิ์ สิ่งที่แสดงความเป็นศาสนาพราหมณ์ฮินดูอีกบริบทหนึ่ง คือการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีเรื่องราวทางวรรณคดีตามคติของศาสนาพรามณ์ ที่อยู่ในรูปแบบของงานแกะสลัก ตามทับหลัง หน้าบัน หรือส่วนอื่น ๆ ของตัวปราสาท เช่น เรื่องรามายาณะ มหาภารตะ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการกวนน้ำอัมฤทธิ์ เรื่องการกำเนิดโลกอย่างนารายณ์บรรทมสินธุ์ เหล่านี้เป็นต้น ส่วนประติมากรรมก็เป็นไปในลักษณะตามศาสนาพราหมณ์ฮินดู อย่างเช่น ศิวะลึงค์ ฐานโยนี ประติมากรรมรูปเทพ เช่น พระศิวะ พระนารายณ์ พระแม่อุมาเทวี และสัตว์ในตำนาน เช่น ครุฑ นาค เป็นต้น ฯนลฯ การขึ้นครองราชของกษัตริย์เขมรโบราณนั้น เมื่อพระองค์เถลิงลวัลราชสมบัติแล้ว พระราชกรณียกิจหนึ่งที่พระองค์ทรงต้องทำคือสร้างปราสาทประจำรัชการเพื่อเป็นการเคารพต่อเทพเจ้า และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์นั้นสวรรคตแล้ว จะได้เข้าถึงหรือจะได้ไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุดและจะได้รับการเปลี่ยนพระนามใหม่ ช่วงปลายของอาณาจักรเขมร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยเหตุที่ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและทรงนำเอาแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครองประชาชน หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ในสมัยของพระองค์ โดยมากจะเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ปราสาทที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือปราสาทบายน ที่มีเอกลักษณ์ใบหน้าของบุคคลสลักไว้บนองค์ปรางค์ของปราสาท นักวิชาการหลายท่านได้ตีความรูปสลักใบหน้าบุคคลว่าเป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในอีกมุมหนึ่งมีการตีความไว้ว่า เป็นในหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เปรียบเหมือนการเฝ้าดูประชาชนของพระองค์ การสร้างครัวมีไฟ หรือศาลาที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยหลบแดดหลบฝนให้พ้นจากอันตรายในระหว่างการเดินทาง สร้างอโรคยาศาลา หรือโรงพยาบาล 102 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่บำบัดโรคให้แก่ราษฎร์ และประติมากรรมที่สร้างขึ้นเกี่ยวของกับพระพุทธศาสนามหายานเช่น พระวัชรทร พระไภษัชยคุรุพุทธ พระอมิตภะพุทธะ พระโพธิศัตว์อวโลกิเตศวร พระแม่ตาลา ฯลฯ ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ในสมัยอาณาจักรเขมรโบราณเป็นลักษณะผสมปนกัน แต่ศาสนาใดจะมีบทบาทมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของประชาชนและกษัตริย์ จะนิยม แต่การแบ่งแยกที่ชันเจนนั้นก็ยังมีอยู่คือ พระพุทธศาสนาจะนับถือทั้งในระดับผู้ปกครองและประชาชน กล้าวคือ หลักแนวคิดในการดำเนินชีวิตเป็นพระพุทธศาสนา แต่ในด้านการทำพิธีกรรมจะเป็นแบบพราหมณ์ฮินดู ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ