วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 คือ วันอาสาฬหบูชา วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 คือ วันเข้าพรรษา 10 กรกฎาคม 2568 วันอะไร และ 11 กรกฎาคม 2568 วันอะไร หยุดไหม ? คงเป็นคำถามคาใจที่ใคร ๆ ก็อยากรู้ ว่าทำไมบางสถานที่หยุด บางสถานที่ก็ไม่หยุด มีทั้งเปิดให้บริการตามปกติเพียงวันใดวันหนึ่ง และปิดให้บริการทั้งวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 และ วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 การมีวันหยุดรวมทั้งสองวัน ส่งผลทำให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องติดต่อกัน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นั้นเอง วันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2568 ... เป็นวันอะไร และ เป็นวันหยุดไหม ??? วันหยุดราชการ : ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 วันอาสาฬหบูชา วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 วันเข้าพรรษา วันหยุดธนาคาร และเอกชน (ส่วนมาก) ดังนี้ วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดธนาคาร วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 วันเข้าพรรษา ไม่เป็นหยุดวันธนาคาร ทั้งนี้ วันหยุดธนาคาร จะเป็นวันหยุดของสาขาธนาคาร ที่ตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า เท่านั้น ***** ส่วนสาขาธนาคารในห้างสรรพสินค้า ... ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ช่วงเวลาของวันหยุด เป็นโอกาสที่ได้พักผ่อน ได้เติมพลัง จากการทำงานได้อย่างเต็มที่ สามารถช่วยเพิ่มพลังให้พนักงาน ได้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) คือ วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี กิจกรรมพุทธศาสนิกชน : ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรมเทศนา และเวียนเทียน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธ พระคุณของพระธรรม และพระคุณของพระสงฆ์ โดยละเว้นอบายมุข ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) คือ วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2568 วันเข้าพรรษาจะมาควบคู่กับ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากในสมัยก่อน ไม่มีไฟฟ้าใช้ กิจกรรมพุทธศาสนิกชน : ร่วมกันทำบุญหล่อเทียนต้นขึ้น เพื่อนำไปถวายแพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เป็นพุทธบูชา สำหรับใช้จุดให้แสงสว่าง จุดประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร จุดใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ เป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 3 เดือน และกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร เนื่องจาก "เข้าพรรษา แปลว่า พักฝน" การนำเทียนไปถวายนั้น พุทธศาสนิกชนมักจัดขบวนแห่เทียนกันอย่างสนุกสนาน จัดยิ่งใหญ่ อลังการ และปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี ตามความเชื่อและแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน การให้ทานด้วยแสงสว่าง ได้อานิสงส์ ทำให้เพิ่มพูนสติปัญญา เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง พบแสงสว่างทั้งในทางโลกและในทางธรรม เครดิตภาพทั้งหมด โดย : Namfah Phupha (ผู้เขียนเอง) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !