เชื่อว่าตั้งแต่เด็กจนโตทุกคนต้องเคยเจอเพื่อนที่ปลีกตัวอยู่คนเดียว ไม่คบกับใคร บางคนเป็นคนเงียบๆแต่ไม่เข้าสังคม แต่บางคนไม่คบเพื่อนไม่พอยังมีพฤติกรรมก้าวร้าวและรังแกเพื่อน เราเคยเจอค่ะ เด็กหัวโจกที่ชอบแกล้งคนในชั้นเรียนประจำ โดนคุณครูทำโทษแล้วทำโทษอีก ทำไมเด็กเหล่านั้นถึงแสดงออกพฤติกรรมเหล่านี้และไม่เกรงกลัวที่จะถูกลงโทษทั้งๆที่คนส่วนใหญ่คงไม่อยากถูกทำโทษหรือสังคมประณามบ่อยๆหรอกจริงไหมคะ บุคลิกของคนประเภทนี้เรียกว่า บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder) จัดเป็นกลุ่ม Cluster B มีลักษณะเด่น คือขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่นไม่สนใจกฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงกฎหมาย อาจมีพฤติกรรม เช่น ลักขโมย โดดเรียน รังแกเพื่อนไม่สำนึกผิดหากทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมีพฤติกรรมก้าวร้าวและเป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง เช่น ชอบใช้กำลัง มีปัญหาชกต่อย เป็นต้นโดยบุคลิกภาพผิดปกติแบบนี้ยังถูกจำแนกแยกย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ โซซิโอพาธ (Sociopath) และไซโคพาธ (Psychopath)Sociopath and Psychopath are similar, but not the same.จริงอยู่ค่ะที่ทั้งสองบุคลิกนี้คล้ายกันมาก แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว หลายคนคงเคยได้ยินศัพท์ Psychopath หรือในภาษาปาก 'คนโรคจิต' มาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เรียกฆาตกรอำมหิตที่ฆ่าคนนับครั้งไม่ถ้วน อาจทำไปเพื่อความสะใจและความสนุก Psychopath มีลักษณะเป็นคนสุขุมนุ่มลึก ใช้ตรรกะและเหตุผลในการรองรับพฤติกรรมของตนเอง จากการวิจัยพบว่าฆาตกรมีแนวโน้มมีบุคลิกแบบ Psychopath สูงกว่าคนทั่วไป แต่ความเป็นจริงคนที่มีบุคลิกแบบนี้ไม่ได้เป็นฆาตกรทุกคน และก็ไม่เหมือน Sociopath ด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถพบคนบุคลิกแบบนี้ได้ทั่วไปแต่อาจไม่ทราบได้หากเขาไม่แสดงพฤติกรรมออกมาแล้วสองบุคลิกนี้แตกต่างกันอย่างไร?จากการสืบค้นข้อมูลและประสบการณ์ที่พบเจอ เราได้รวบรวมและนำมาสรุปเพื่อให้ทุกคนอ่านเข้าใจง่ายได้ดังนี้ค่ะSociopath ไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่นโดยเนื้อแท้ หมายความว่าเขา 'ไม่ได้ตั้งใจ' ที่จะไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น ขณะที่ Psychopath 'แสร้งทำ' แสดงออกว่าเห็นอกเห็นใจทั้งที่ภายในไม่ได้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้ Psychopath เข้ากับคนในสังคมได้ดี หากสังเกตผิวเผินก็จะกลมกลืนไปกับคนในสังคมนั่นเอง Sociopath มักใจร้อน มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น จึงมักใช้ความรุนแรงเมื่ออารมณ์ฉุนเฉียว ในขณะที่ Psychopath จะนิ่งสุขุมกว่า แสดงออกโดยใช้ตรรกะและเหตุผล มักเป็นจอมวางแผนโดยไม่ต้องลงมือกระทำเอง อาจใช้การพูดโน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามแล้วผู้อื่นนั้นก่อความเดือดร้อนแทนตนเอง เรียกอีกนัยหนึ่งว่าจอมบงการ (Manipulator) Sociopath ถูกหล่อหลอมพฤติกรรมจาก 'สภาพแวดล้อม' ที่เติบโตมา เช่น มีการทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว หรือพบเจอเหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลในจิตใจตั้งแต่เด็ก ขณะที่ Psychopath เป็น 'โดยกำเนิด' ส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม โดยงานวิจัยของนักประสาทวิทยา ศาสตราจารย์ ดร. เจมส์ แฟลลอน (Prof. Dr. James Fallon) ได้ทำการศึกษาภาพสแกนสมองของฆาตกรหลายราย พบว่ามีส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นน้อยกว่าคนทั่วไป ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น Psychopath อาจมีแนวโน้มสืบทอดทางพันธุกรรมได้มากกว่าคนทั่วไป แต่ไม่ได้การันตีว่าต้องเป็นทุกรายนะคะ Sociopath อาจแสดงออกความใส่ใจในเหตุการณ์ที่สมควรแก่การเห็นอกเห็นใจ เช่น เด็กสูญเสียพ่อแม่ไปในอุบัติเหตุ (ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เราเคยเจอ คือ เราร้องไห้และเสียใจเรื่องๆหนึ่งอยู่ แล้วมีเพื่อน Sociopath มาปลอบ) ขณะที่ Psychopath ไม่มีความรู้สึกนั้นเลย ไม่ใช่ว่าเขาไม่ใส่ใจนะคะ แต่เพราะเขา 'ไม่เข้าใจ' ความรู้สึกนั้นเลยต่างหาก (หรืออาจแสร้งปลอบแต่ภายในใจยังคงไม่เข้าใจอยู่ดี) Sociopath มีพฤติกรรมที่ขึ้นกับอารมณ์ ดังนั้นจึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่หุนหัน มักหลีกเลี่ยงการเรียนรู้ ในวัยรุ่นอาจโดดเรียน สูบบุหรี่ ติดสารเสพติด ในขณะที่ Psychopath เป็นนิสัย 'โดยกำเนิด' ดังนั้นจึงเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ บางรายอาจมีหน้าที่การงานที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จ เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตนเองได้นอกจากนี้ Sociopath ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่High-functioning sociopath : มีลักษณะเด่น คือ มี IQ สูงปรี๊ด ช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว ควบคุมสถานการณ์ต่างๆได้ดีมีพฤติกรรมคำนวณและคาดคะเนไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือความคิดให้คนภายนอกรับรู้บุคลิกมีเสน่ห์ แม้จะไม่ชอบเข้าสังคม แต่มีทักษะการเข้าสังคมที่ดียอดเยี่ยมเชียวล่ะ!ในบางครั้งอาจมีอารมณ์หุนหันพลันแล่นหากถูกขัดใจ เนื่องจากมักได้รับคำชื่นชมและเสียงตอบรับทางบวกบ่อยๆในบางรายอาจมีพฤติกรรมเสพติดได้ เช่น สารเสพติด สุรา เซ็กส์ เป็นต้นบุคลิกคนประเภทนี้ใกล้เคียงกับ Psychopath มาก แต่มีข้อแตกต่างตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นค่ะ มักใช้ความเป็น High-functioning พัฒนาอาชีพของตัวเองให้ก้าวหน้า ยกตัวอย่างตัวละครที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็คือ นักสืบสัญชาติอังกฤษ 'เชอร์ล็อค โฮล์มส' นั่นเอง 2. Low-functioning sociopath : มีลักษณะเด่น คือมีทักษะการเข้าสังคมต่ำ รักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ได้มีความอดทนต่ำ ในวัยรุ่นมักโดดเรียน ไม่ชอบการเรียนรู้ วัยผู้ใหญ่มักลาออกจากงานบ่อยๆ (หรืออาจถูกไล่ออกเพราะใช้กำลังได้!)มีพฤติกรรมรุนแรง ใช้กำลังชกต่อยเมื่อมีอารมณ์โกรธ มีความคิดว่าการกำจัดสิ่งนั้นให้พ้นทางง่ายกว่าการควบคุมอารมณ์อย่างไรก็ตาม บทความนี้ต้องการให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นถึงความแตกต่างลักษณะของบุคลิกภาพผิดปกติสองประเภทนี้จากการสรุปตามความเข้าใจของเราเท่านั้น ไม่ได้เป็นการการันตีใดๆว่า บุคคลที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นบุคลิกภาพผิดปกติกันทุกคนนะคะ ในเมื่อสังคมมีคนหลากหลายประเภท เราจึงควรเรียนรู้ไว้เพื่อที่จะปฏิบัติตัวต่อคนในสังคมให้เหมาะสมค่ะขอบคุณที่อ่านมาจนจบค่ะ เครดิตภาพปก Pasha Vorotilin และ parema / Canva ตกแต่งเพิ่มเติมโดยเจ้าของบทความภาพที่ 1 จาก Devonyu / Canvaภาพที่ 2 จาก Ahmed Zayan / Unsplashภาพที่ 3 จาก Gregory Hayes / Unsplashภาพที่ 4 จาก Sherlock / Facebookภาพที่ 5 จาก Icons8 Team / Unsplashที่มาของข้อมูล : อ้างอิง 1 / อ้างอิง 2 / อ้างอิง 3อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !