สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่านด้วยนะคะ ขอต้อนรับทุกท่านสู่โลกแห่งการเรียนรู้ค่ะ วันนี้เราจะมาทำภารกิจของนักเขียน true ID ที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อ "แหล่งเรียนรู้" หากพูดถึงความรู้ ทุกคนคงจะคุ้นหูกับคำคมที่ว่า ไม่มีใครแก่เกินเรียน ไม่ใช่แค่เป็นคำคมธรรมดา ที่ใครต่อใครต่างพากันพูดลอยๆนะคะ ณ จุดๆนี้ขอบอกเลยค่ะว่า มันมาจากเรื่องจริงค่ะ ทนายความ อาจเป็นอาชีพที่ห่างไกลจากใครหลายๆคน แต่ความจริงแล้วมันชั่งเป็นอาชีพทางเลือกที่เหมาะสมกับยุคในปัจจุบันที่สุดค่ะ หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมหรอ? เพราะสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ใครทำอะไรผิดนิดผิดหน่อยก็เป็นเรื่องเป็นราว เป็นข่าว ถูกฟ้องใหญ่โต ถูกปรับบ้าง ทำให้เสียทั้งเงินและเสียทั้งเวลา หากจะอ้างว่าที่ได้ทำไปนั้นเพราะไม่รู้กฎหมาย ก็หาฟังขึ้นไม่ ดังนั้นการมีวิชาความรู้ติดตัวไว้ หากแต่จะไม่ให้คนอื่นเอาเปรียบเราได้แล้วนั้น ความรู้ทางกฎหมาย ยังจะช่วยให้เราช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย เรามาทำความรู้จักกับทนายความกันเถอะค่ะ หากจะมาเป็นทนายความได้นั้น คุณสมบัติสำคัญคือเป็นบุคคลที่จบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์บัณฑิต ต้องเป็นสาขานี้เท่านั้นนะคะ หากเป็นสาขาอื่นไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ก็ไม่สามารถสมัครได้นะคะ การสมัครก็สามารถไปสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิกัดจำง่ายๆก็คือไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเขตบางเขนค่ะ หากใครไม่สะดวกก็สามารถสมัครผ่านช่องทางไปรษณีย์ได้เช่นกันค่ะ ถ้าหากคุณคิดว่าตอนนี้คุณอายุเยอะแล้ว จะให้ไปสมัครเป็นทนายนะเหรอ ไม่เอาด้วยคนหรอก หยุดค่ะ!หยุด!!!!! ทนายไม่ได้จำกัดอายุขั้นสูงเอาไว้ เพียงแต่ว่าจำกัดอายุขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นหากคนเกษียณแล้ว กอปรกลับมีใบปริญญานิติศาสตรบัณฑิต ไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ คุณก็มีคุณสมบัติที่จะมาสมัครเป็นทนายความได้นะคะ ที่เรากล้าพูดเช่นนั้น เพราะเราก็ลงสมัครอบรมวิชาว่าความไว้เช่นกันค่ะ แต่ไม่ใช่เราที่มีวัยวุฒิขนาดนั้นนะ แต่เรามีเพื่อนร่วมชั้นเรียน บางท่านก็เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ตำรวจเกษียณ พนักงานเอกชน และอีกหลากหลายอาชีพ มีตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปตามเกณฑ์ และคาดว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเราที่อายุเยอะสุดน่าจะถึงอายุ 70-80 ปีได้ เราชื่นชมพวกท่านเหล่านั้นเป็นอย่างมาก ที่ไม่หยุดจะไขว่คว้าหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เกือบลืมไปเลยค่ะ การสมัครเป็นทนายจะมี 2 แบบ ที่เขาเรียกกันว่าตั๋วรุ่นและตั๋วปี ตั๋วรุ่น ก็คือการสมัครตามรอบที่สภาทนายความเปิดรับสมัคร แล้วก็เข้ารับฟังการอบรม จากนั้นจึงจะสอบภาคทฤษฎี เมื่อคะแนนผ่านเกณฑ์ จึงจะมีฝึกงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจึงจะมีสิทธิ์สอบภาคปฏิบัติ (เราสมัครแบบนี้ค่ะ) ตั๋วปี คือเป็นการฝึกงานทนายความเป็นเวลา 1 ปีโดยมีการให้แจ้งให้ทางสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความได้ทราบไว้ว่าเราได้ฝึกงานที่ไหน เมื่อครบ 1 ปี ก็จะมีสิทธิ์สอบปฏิบัติจริงเพราะถือว่าผ่านการฝึกงานมาแล้ว (เหมือนเป็นบทพิสูจน์ว่าฝึกงานมาจริงตลอดระยะเวลา 1 ปี ไม่ได้ฝากชื่อไว้กับสำนักงานทนายความที่ได้ไปฝึกงาน) การอบรมตั๋วรุ่นจะถูกจัดขึ้นที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่สมัครอบรมทนายความแล้วจะเข้าหรือไม่เข้ารับฟังการอบรมก็ได้ แต่การเข้าเรียนย่อมจะทำให้ได้รับความรู้ดีกว่าไม่เข้าเรียนอย่างแน่นอน หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมก็จะมีการวัดผลด้วยการสอบภาคทฤษฎี หากใครสอบผ่านเกินเกณฑ์ 50 คะแนนจาก 100 คะแนนเต็ม ก็จะมีสิทธิ์ยื่นฝึกงาน 6 เดือน หลังจากนั้นจึงจะมีสิทธิ์สอบภาคปฏิบัติ (ซึ่งเรายังสอบทฤษฎีไม่ผ่าน😭เราท้อนะ แต่บอกเลยว่าเราไม่ถอย✌️) หากผ่านภาคปฏิบัติแล้วก็ถือว่าคุณสอบผ่านเป็นทนายความอย่างเต็มตัว ณ จุดนี้หากใครสนใจก็สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ขอขอบคุณรูปภาพจากกลุ่มไลน์สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความรุ่นที่ 52 ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ