ในปัจจุบันการศึกษาทางประวัติศาสตร์ได้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มนุษย์สามารถศึกษาเรื่องราวในอดีตด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือทางโบราณคดี แน่นอนว่าการหาอายุของสิ่งมีชีวิตจากหลักฐานที่พบนั้น หากมองด้วยตาเปล่าก็ไม่สามารถระบุอายุของสิ่งมีชีวิตได้ มนุษย์จึงได้คิดค้นหลักการหาอายุในสิ่งมีชีวิตด้วยคาร์บอน-14ขึ้นมา เพราะว่าคาร์บอน-14นั้นมีทั่วไปในโลกจึงปะปนอยู่ในสิ่งมีชีวิต นั่นจึงเป็นแนวทางสำหรับการเลือกใช้คาร์บอน-14มาช่วยในการศึกษา มี 2 วิธีที่ใช้ในปัจจุบันและประเทศไทยก็ได้ใช้งานวิธีการเหล่านี้ด้วย ได้แก่ การหาอายุด้วยคาร์บอน-14 แบบวิธีดั้งเดิม และ การหาอายุด้วยคาร์บอน-14 แบบ AMS (Accelerator Mass Spectrometry)วิธีการแรก คือ การหาอายุด้วยคาร์บอน-14 แบบดั้งเดิม เป็นการนำตัวอย่างหลักฐานมาสกัดให้เหลือเพียงคาร์บอน-14 จากนั้นก็ทำการคำนวณอายุจากปริมาณคาร์บอน-14ที่มีอยู่ วิธีการนี้มีจุดเด่นคือ การใช้ต้นทุนต่ำ(ประมาณหลักพันบาท) แต่ก็มีจุดด้อยนั่นคือ การใช้ปริมาณตัวอย่างหลักฐานในปริมาณมากเพราะอาจมีความผิดพลาดทางกระบวนการเคมีที่สกัดคาร์บอน-14ออกมาจากหลักฐาน ยิ่งหลักฐานปริมาณน้อยความคลาดเคลื่อนยิ่งมาก วิธีการนี้จึงเหมาะสำหรับการศึกษาสิ่งมีชีวิตในช่วงที่ผ่านไปไม่นานนัก เช่น โครงกระดูกของสัตว์ที่ฝังตัวอยู่ในหินเนื่องด้วยโครงกระดูกฝังตัวอยู่ภายในจึงยังไม่ถูกน้ำชะล้างไปซะทีเดียว ปริมาณหลักฐานจึงอยู่ในสภาพดี หลักฐานในสภาพดีนั้นจะมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าหลักฐานในสภาพไม่ดีวิธีการที่สอง คือ การหาอายุด้วยคาร์บอน-14 แบบ AMS (Accelerator Mass Spectrometry) เป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยวิธีการนี้มีจุดเด่นคือ การใช้เครื่องเร่งอนุภาคแยกมวลของธาตุแต่ละชนิดโดยให้ความเร่งแก่มวลทำให้มวลมีความเร็วที่แตกต่างกันจึงสามารถแยกมวลที่เป็นธาตุต่างชนิดออกจากกันได้อย่างดี โดยวิธีการนี้จะใช้ปริมาณตัวอย่างน้อยกว่าแบบดั้งเดิมและมีความแม่นยำสูงกว่าแบบดั้งเดิม แต่ก็แลกมากับจุดด้อยก็คือต้องใช้ต้นทุนที่สูงกว่า(ประมาณหลักหมื่นบาท) วิธีการนี้จึงเหมาะสำหรับการหาอายุของสิ่งมีชีวิตในกรณีที่มีหลักฐานน้อยมาก ๆ หรือหลักฐานนั้นมีอายุมาอย่างยาวนาน เช่น ซากสัตว์ที่อยู่ในแหล่งน้ำหรืออยู่ในดินทั่ว ๆ ไป ซากเหล่านั้นได้รับความเสียหายมาก จึงควรต้องหลีกเลี่ยงที่จะเสียหลักฐานนั้นไปจากกระบวนการทางเคมีของวิธีแบบดั้งเดิม จากการเปรียบเทียบการหาอายุด้วยคาร์บอน-14 ทั้ง 2 วิธีที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า การหาอายุด้วยคาร์บอน-14ในแต่ละวิธี จะมีจุดเด่น จุดด้อยและการใช้งานในกรณีที่ต่างกัน จริงๆแล้วเนี่ยการเลือกใช้งานก็ขึ้นกับปริมาณหลักฐานที่หลงเหลืออยู่แหละ โดยการหาอายุแบบดั้งเดิมนั้นนิยมใช้ในห้องแลปทั่วไป เน้นทดลองเพื่อศึกษาหลักการเบื้องต้นของการหาอายุ อาจจะนำโครงกระดูกสัตว์ที่เก่าไม่มากแต่พบได้ทั่วไปมาใช้เพื่อศึกษา ส่วนการหาอายุแบบ AMS นั้น จะเน้นไปทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำของข้อมูลสูงมาก ๆ เช่น การค้นพบโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับความต้องการและงบประมาณของผู้ใช้บริการนี่แหละว่าต้องการเลือกใช้วิธีไหน ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าวิธีการหาอายุในสิ่งมีชีวิตนั้นยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกในอนาคตทั้งแบบดั่งเดิมและแบบAMS ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาทางประวัติศาสตร์และถ้าหากพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ในทางด้านอื่นได้จะมีประโยชน์ต่อพวกเราที่จะได้เรียนรู้และศึกษาได้อย่างมากมายในอนาคต ภาพปกทำเองจากเว็บไซต์ canva.com มี ภาพประกอบ โดย rawpixel.com จาก freepik.comภาพที่1 โดย macrovector จาก freepik.comภาพที่2 โดย macrovector จาก freepik.comภาพที่3 โดย brgfx จาก freepik.comภาพที่4 โดย GarryKillian จาก freepik.comอ้างอิงข้อมูลhttps://www.iaea.orghttps://www.tint.or.th/https://www-pub.iaea.orgเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !