จากประสบการณ์การสอนคณะรัฐศาสตร์มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี มีหนังสือมากมายหลายเล่มที่เป็นหนังสือเรียนของชาวรัฐศาสตร์ หรือชาวสิงห์ ผู้ซึ่งต้องศึกษาแนวทางในการปกครอง การบริหารบ้านเมือง เพื่อใช้ในการทำงานและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ นั่นเป็นอุดมการณ์สำหรับชาวสิงห์ทุกคน ที่ตั้งแต่แรกเริ่มในการเลือกเรียนคณะรัฐศาสตร์ หมายความว่าทุกคนนั้นมีค่าความคาดหวังที่ต้องการพัฒนาประเทศไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่งตัวหนังสือที่นักรัฐศาสตร์จะต้องผ่านตามาบ้างมีหลายเล่มด้วยกันที่เป็นงานเขียนของนักปรัชญาชื่อดังระดับโลก หนังสือทางปรัชญาด้านรัฐศาสตร์นั้นก็ยังแบ่งออกเป็นปรัชญายุคเก่าดั้งเดิมหรือที่เรียกกันว่ายุคคลาสสิคและปรัชญาในยุคสมัยใหม่หรือที่เรียกกันว่าปรัชญายุคโมเดิร์น ซึ่งหนังสือยูโทเปียนั้นจัดอยู่ในประเภทปรัชญาในยุคสมัยใหม่หรือปรัชญายุคโมเดิร์นนั่นเองในเวลานี้เราจะทำการรีวิวในหนังเรื่องเนื้อหาหนังสือยูโทเปียของเซอร์โทมัสมอร์ในแบบสบาย ๆ เวอร์ชั่นที่เป็นภาษาพูดไม่ตึงเครียดไม่ไปเป็นเชิงวิชาการมากนัก เนื่องจากผู้เขียนนั้นคาดหวังให้ทุกคนที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของหนังสือที่ว่าได้โดยเข้าใจง่ายผ่านทางบทความนี้ก่อนอื่นผู้เขียนต้องอธิบายก่อนว่าเป้าหมายของการอ่านหนังสือในเชิงปรัชญาด้านรัฐศาสตร์นั้นมีจุดมุ่งหมายหลายประเด็นและสิ่งที่สำคัญก็เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่จะนำแนวความคิดหรืออุดมการณ์ดังกล่าวนั้นมาปรับใช้และพัฒนาการเมืองการปกครองรวมไปถึงการบริหารจัดการตามแนวทางที่ดีที่สุดที่ได้เรียนรู้นั้นและในการอ่านหนังสือเรื่องยูโทเปียจะเป็นในประเด็นการเรียนรู้เพื่อนำรูปแบบการปกครองรวมไปถึงการจินตนาการถึงการปกครองในรูปแบบที่ดีการจัดการบริหารบ้านเมืองที่ดีประเด็นสำคัญประการแรกของหนังสือยูโทเปียพูดถึงเรื่องของรูปแบบการปกครองที่ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมเป็นอันดับแรก คือการปกครองบ้านเมืองด้วยความดีงามความถูกต้องความยุติธรรมบวกกับหลักการใช้กฎหมาย ในเรื่องนี้เป็นภาพที่เราทุกคนอยากเห็นให้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่เพียงแค่นามธรรมแต่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างทั่วถึงทุกส่วนในสังคมโดยปัจจุบันนี้ทั้งสภาพสังคมการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งสภาพปัญหาเศรษฐกิจการเมืองในประเทศไทยของเรานั้นยิ่งทำให้ทุก ๆ คนอาจจะมีความคิดเห็นแตกต่าง และมีมุมมองในหลาย ๆ ด้านที่ไม่เหมือนกัน แต่ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าทุก ๆ คนนั้นต่างอยากจะอาศัยอยู่ในรัฐ ในประเทศที่มีการปกครองที่ดี และการบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ภายในรัฐได้อย่างดียอดเยี่ยม ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน คงไม่มีใครอยากอยู่ในประเทศที่วุ่นวายและเต็มไปด้วยปัญหาจริงไหมครับ ตรงจุดนี้เองจึงทำให้ในโลกโซเชียลรวมไปถึงเวทีการสนทนา และสื่อต่าง ๆ มีการพูดถึงปัญหาภายในรัฐ ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆในการแก้ไขปัญหา หลากหลายแนวทาง บ้างก็มีความรุนแรง บ้านก็เป็นวิธีการที่ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก บางวิธีการที่ผู้คนนำเสนอก็อาจจะกลายเป็นดาบสองคมที่กลับมาทำร้ายกันและกัน ซึ่งการเสนอความคิดเห็นท่ามกลางเสียงเรียกร้อง ของประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่ดีและควรให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่แต่จะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยเคารพสิทธิ ตามหลักกฎหมายด้วย หรือเรียกว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์นั่นเองหนังสือยูโทเปียได้กล่าวเอาไว้นอกเหนือจากรูปแบบการปกครองที่ดีระบบการปกครองที่ดีผู้นำที่ดี คุณธรรมจริยธรรมความยุติธรรมหลักกฎหมายที่ดีแล้ว ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใน ยูโทเปีย นั้นจำเป็นจะต้องเป็นมนุษย์ที่มีจิตสำนึกที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรมสูงด้วยจึงจะสามารถอยู่รวมกันได้ในข้อตกลงแบบฉบับของยูโทเปีย นั่นหมายความว่าการจะเกิดสังคมที่ดีรัฐที่ดีได้นั้นจำเป็นจะต้องเริ่มมาจากพื้นฐานที่สำคัญคือการให้ประชาชนหรือมนุษย์ทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้น ๆ สร้างจิตสำนึกที่ดีความคิดที่ดีเสียก่อนจึงจะสามารถรวมกันเป็นชุมชนของความคิดที่ดีมีคุณธรรมจริยธรรมสูง เมื่อทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรมในขั้นสูงมีจิตสำนึกที่ดีในจิตใจแล้วจึงสามารถดำเนินการขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ซึ่งเป็นลักษณะของการดำเนินชีวิตที่น่าเรียนแบบใน ยูโทเปีย เช่นในการทำงานที่เน้นไปทางด้านของการทำเกษตรพึ่งพาตนเองปลูกผักกินเองและเรียนรู้ที่จะแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตในการอยู่กับการเกษตรโดยพึ่งพาอาศัยกันและกันทั้งสังคม รวมไปถึงการบริหารจัดการที่เป็นลักษณะเด่นๆใน Utopia เช่น การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หนังสือยูโทเปียกล่าวว่า ผู้คนใน ยูโทเปียนั้นรักในการเรียนรู้และมักจะใช้เวลา การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมรวมไปถึงทำกิจกรรมที่เป็นสุนทรียภาพทางด้านความรู้ความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นดนตรีกีฬาสันทนาการ ศิลปะ และปรัชญา ซึ่งล้วนถูกให้คุณค่าในสังคมของยูโทเปียนั่นทำให้เกิดลักษณะของภาคสังคมที่น่าชื่นชม โดยชาวยูโทเปียนั้นจะไม่สนใจในสิ่งที่เป็น สิ่งของจอมปลอม สิ่งยั่วยุ สิ่งที่ทำให้เกิดกิเลส เช่น บ่อนการพนัน ร้านเหล้า ซ่องโสเภณี และการอบายมุขต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ชาวยูโทเปียไม่ให้ความสำคัญกับมันเลย ทำให้สังคมเช่นนี้นั้นสามารถไปสู่จุดที่พัฒนาทางด้านจิตใจได้ดีเยี่ยมรวมทั้งเมื่อมีการทำงานร่วมกันภายในสังคมโดยเฉพาะแนวทางการพึ่งพาตนเองด้วยการใช้การเกษตรเป็นแนวทางประกอบอาชีพหลักของสังคม ชาวยูโทเปียจึงมีค่านิยมที่ไม่รักในเงินทอง พวกเขาไม่ยึดติดกับค่านิยมความรวย จะไม่สะสมเงินทอง รวมไปถึงไม่เน้นการค้าระหว่างประเทศ แต่จะสนใจความมั่นคงของผู้คนในสังคม มากกว่าในด้านของจิตใจความรู้และชีวิตซึ่งจุดนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมแบบยูโทเปียได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่อยู่ในอุดมคติ ของนักปกครองและนักพัฒนาที่ปรารถนาจะเห็นสังคมที่มั่นคง มั่งคั่งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข แบบอย่างการดำเนินชีวิตจากหนังสือเรื่องนี้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจนำมาปรับใช้ในชีวิตจริง แม้ว่าจะมีบางจุดที่อาจไม่เข้ากับสังคมบ้านเราอยู่บ้าง แต่เราสามารถนำเฉพาะข้อดีของแนวคิดมาใช้ได้ แม้จะเป็นบางส่วนแต่ถ้าเกิดผลดีก็ถือว่าน่าสนใจ ปัจจุบันหนังสือยูโทเปีย ได้ตีพิมพ์หลายเวอร์ชั่นด้วยกันและสามารถหาซื้อได้ไม่ยากทั้งนี้หากท่านสนใจศึกษาต่อหรือสนใจที่จะอ่านเรื่องราวของยูโทเปียซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิถีชีวิตการสร้างสังคมที่น่าสนใจอีกหลายหัวข้อก็สามารถติดตามหาอ่านหนังสือดีเยี่ยมเรื่องนี้ได้ด้วยตัวเองและหวังว่าเราจะสามารถแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ รวมไปถึงแนวความคิดในการพัฒนาชุมชนสังคมและประเทศให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยกันต่อไป ภาพประกอบทุกภาพโดยผู้เขียน