สวัสดีนักอ่านทุกท่านนะครับ...ช่วงนี้หลายคนทำงานอยู่ที่บ้านเพราะพิษของโควิด-19 และทำให้หลายคนที่มีแผนจะออกท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก แบบไม่มีกำหนด ยังไงๆนักเขียนเองก็เป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ แล้วก็อย่าลืมป้องกันตัวเองจากไวรัสอย่าเคร่งครัดด้วยนะครับ และวันนี้เองนักเขียน ก็จะพาทุกคนมารู้จักกับอีกหนึ่งประเพณีชื่อดังทางภาคใต้อย่าง 'ประเพณีชักพระหรือเทศกาลชักพระ' เป็นประเพณีที่จะมีการจัดเทศกาลที่จัดพร้อมกันทั่วภาคใต้ เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี หรือเคยเห็นผ่านๆตามาทางทีวีบ้างแล้ว วันนี้จะพาทุกคนไปรูจักกับประเพณีชักพระ ว่ามีอะไร และเป็นยังไงกันบ้าง หากสิ้นโควิด-19แบบหมดจด ลิสต์การเที่ยวประเพณีชักพระไว้ในแผนการเที่ยวได้เลย 'ประเพณีชักพระ' จะจัดขึ้นตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หรือตรงกับวัน 'วันออกพรรษา(ซึ่งปี63 ตรงกับวันที่2 วันศุกร์เดือนตุลา)' ซึ่งก่อนหน้าจะถึงวันออกพรรษาประมาณ 10 กว่าวัน หรือมากกว่า ชาวบ้านในหมู่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน หรือชาวบ้านระแวกใกล้วัด จะมารวมตัวประชุมกับท่านเจ้าอาวาสเพื่อวางแผนตกลงว่าจะตกแต่ง'เรือพระ (อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเรือพายนะไม่ใช่ครับ)' แบบไหน จะใช้อุปกรณ์อะไร จะนำวัสดุอะไรมาตกแต่ง และตกแต่งเป็นธีมอะไร เมื่อตกลงกันได้ก็มอบหมายให้ฝ่ายจัดหาไปจัดหาวัสดุอุปกรณ์มา เมื่อได้ของมาแล้วทุกคนก็ลงมือทำ ฝ่ายหญิงก็จะทำเกี่ยวกับการฝีมือ ส่วนงานตัดแต่งติดตั้งก็จะเป็นฝ่ายผู้ชาย การตกแต่งทำ'เรือพระ'ส่วนมากจะเป็นงานเกี่ยวกับฝีมือเกือบ100% และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นวัสดุทางธรรมชาติตามที่ผู้คนสมัยก่อนได้ทำกันมา โดยปัจจุบันก็ยังเน้นวัสดุทางธรรมชาติมาทำ'เรือพระ' เช่น...ใบพ้อ,ทางมะพร้าว,ใบเตย,ดอกหญ้าต่างๆ,ดอกไม้ต่างๆ,ไม้หรือกิ่งไม้...เป็นต้น เมื่อได้อุปกรณ์มา จะเอามาพับเรียงหรือจัดเรียงตามรูปแบบต่างๆ อีกอย่าง...หลายคนคงสงสัยว่า'เรือพระ'เป็นเรือ หรืออะไร ไม่ใช่เรือนะครับ แต่จะเป็นรถที่ดัดแปลงใส่ล้อรถยนต์ไป4ล้อ มีแต่ช่วงล่างล้ออย่างเดียว ที่เหลือชาวบ้านก็ช่วยตกแต่งขึ้นมาให้มันคล้ายๆเรือที่วิ่งบนถนนได้ เมื่อใกล้ถึงวันชักพระหาก 'เรือพระ' ยังไม่เสร็จชาวบ้านทุกคนก็พร้อมใจกันช่วยทำ ยันเช้าเป็นประจำของทุกปี เมื่อชาวบ้านตกแต่งและทำ 'เรือพระ' เสร็จเรียบทางวัดก็จะมีการจัดเลี้ยง หรือสมโภช 'เรือพระ' จะจัดขึ้นก่อนวันออกพรรษา 1 วัน (แล้วแต่จะเลือกวัน แต่ต้องก่อนวันออกพรรษา และเรือพระต้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว) โดยจะมีการเลี้ยงอาหาร และมีการจ้างวงดนตรีมาเล่นหน้า 'เรือพระ' และสร้างความสนุกแก่ชาวบ้าน (การจะจ้างวงดนตรีมาเล่นส่วนมากจะเป็นวัดที่มีชื่อเสียง และมีคนมาช่วยทำ 'เรือพระ' เป็นจำนวนมาก)ที่ช่วยทำ 'เรือพระ' มาอย่างตั้งใจ (บางวัดก็จะจัดแค่เลี้ยงอาหารตามความเหมาะสม) การทำ 'เรือพระ' เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธไมตรี ให้แก่ชาวบ้านได้สามัคคีกันมากขึ้น หรือเรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมใจประจำปีก็ว่าได้ ในสมัยก่อนการรวบรวมคนมาทำ 'เรือพระ' เมื่อใกล้ออกพรรษาชาวบ้านก็จะเดินไปชักชวนเพื่อนๆ หรือญาติพี่น้องที่บ้าน จะเดินทางไปทำการจัดเตรียมและตกแต่ง 'เรือพระ' ชาวบ้านก็จะจับกลุ่มเดินหรือปั่นจักรยานไปที่วัด เพื่อที่จะจัดการทำ 'เรือพระ' และในสมัยก่อนจะเห็นวัยรุ่นมาช่วยกันทำเยอะ เทียบกับสมัยนี้แทบไม่เห็นวัยรุ่นมาช่วยกันทำ 'เรือพระ' และก่อนถึงวันออกพรรษาชาวบ้านบางส่วนที่ไม่ได้มาทำ 'เรือพระ' (ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ) ก็ได้มีการรวมตัว 'แทงต้ม(ทำขนมต้ม)' เพื่อนำไปห้อยประดับ 'เรือพระ' เป็นการทำบุญที่เป็นอักลักษณ์ของประเพณี 'ชักพระ' ของภาคใต้ เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจว่าขนมต้มในที่นี้คือขนมต้ม ที่เป็นแบบที่เป็นลูกกลมๆละก็คลุกมะพร้าว ไม่ใช่นะครับคนละอันกัน อันนี้เป็นแบบของทางภาคใต้โดยเฉพาะ และจะหากินได้ก็ช่วงใกล้ ๆ ประเพณีชักพระนี่แหละ ส่วนการทำ 'ขนมต้ม' แบบทางภาคใต้นั้น วิธีการคือคล้ายการทำข้าวเหนียวมูน แต่จะแตกต่างตรงที่ขนมต้มการทำ คือนำข้าวเหนียวที่ยังดิบ ๆ ไปผัดและนำหัวกะทิมาคลุก ให้ชุ่มฉ่ำทั่วข้าวเหนียว และนำถั่วดำ,แดง หรือถั่วขาวใส่ลงไป ผัดไปเรื่อยๆห้ามหยุดผัด และผัดจนข้าวเหนียวแห้งแต่ไม่ต้องแห้งมาก ขั้นตอนห่อก็จะนำแทง(ยัดใส่)ลงในใบพ้อที่นำมาม้วนเป็นกรวย เพื่อทำให้เป็นรูป3เหลี่ยม อัดข้าวเหนียวลงไปให้แน่น และห่อให้เป็นสามเหลี่ยม มันจะเหลือปลายใบพ้อ ที่เหลือยาวให้นำมาผูกกับชิ้นอื่นๆให้เป็นพวง หรือตัดทิ้งให้ดูเป็นชิ้นตามความสวยงาม และนำไปนึ่งจนสุก(กินอุ่นๆอร่อยมาก) และเก็บไว้ทำบุญในวันต่อไป (วันที่ทำขนมคือก่อนวันออกพรรษาเพียง1วัน) เมื่อถึงรุ่งเช้าวันออกพรรษาก็จะมีการตักบารตหน้า 'เรือพระ' ชาวบ้านก็นำกับข้าว และขนมหวานต่างๆมาใส่บาตร และนำขนมต้มมาแขวนห้อยไว้ตามหัวเรือพระ หรือหางและตามลำเรือพระ เมื่อเสร็จสิ้นการตักบารตก็จะมีชาวบ้าน นำอาหารมาเลี้ยงคนที่จะร่วมกันชักพระ โดยการที่ 'เรือพระ' จะออกจากวัดได้ ก็ต้องดูฤกษ์ตามที่พระท่านได้ดูไว้ เมื่อใกล้ได้ฤกษ์ก็จะมีการนิมนต์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด ขึ้นไปไว้บนเรือพระ ที่ทำเป็นซุ้มไว้ข้างบนเรือพระ และก็ต้องนิมนต์พระลูกวัด หรือเจ้าอาวาสหรือพระที่มีคนเคารพกราบไหว้เป็นอย่างสูง ขึ้นไปนั่งบนเรือพระ (การนั่งของพระคือจะพรมน้ำมนต์ให้แก่คนที่นำขนมมาแขวน หรือโยนขนมขึ้นมาบนตัวเรือพระ หรือคนที่นำเงินมาใส่ทำบุญ) เมื่อได้ฤกษ์จุดประทัดเบิกฤกษ์ และชาวบ้านก็จะจับเชือกที่ใช้ลาก 'เรือพระ' บนตัวเรือพระก็จะมีกลองทัด ไว้ตีให้จังหวะปลุกใจคนที่มาชักพระ (โดยคนที่ตีต้องเป็นผู้ชาย หรือเด็กวัดเพราะต้องนั่งบนตัวเรือพระ) โดยคำที่ใช้โห่ร้องชักชวนร้องตอบที่เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์อย่าง "อีสาระภา เฮโลๆๆ" หรือไม่ก็จะมีรถแห่เปิดเพลงมันส์ๆ นำหน้าขบวนเรือพระ และลากตัวเรือพระไปเวียนในหมู่บ้านเพื่อเป็นศิริมงคล หรือลากไปตามระยะทางที่เหมาะสม โดยจะมีคนถือขันใส่เงินทำบุญเดินนำหน้าขบวนอีกที เมื่อชาวบ้านเห็นว่าจะมีขบวนผ่านทางนี้ก็เลยจัดนำน้ำมาเลี้ยง หรือนำของกินต่างๆ มาเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมกันชักพระในครั้งนี้ เมื่อพักหายเหนื่อย จากการที่ชาวบ้านนำขนมของกินมาเลี้ยง ผู้คนที่ร่วมกันชักพระ ก็จับเชือกชักพระออกเดินทางแห่เรือพระต่อ โดยจุดสิ้นสุดคือที่ว่าการอำเภอ โดยระหว่างทางก็มีผู้คนมาทำบุญ และนำขนมต้มมาประดับเรือพระกันจนเต็ม และอีกหนึ่งอย่างที่เป็นศิริมงคลคือการที่นำขนมต้มที่แขวนไว้ที่เรือพระมารับประทาน ถือว่าเป็นการเสริมศิริมงคลและก็ขอพรให้กับตัวเอง และเมื่อถึงที่ว่าการอำเภอ ก็ต้องทำการนำเรือพระเข้าจอดประจำจุดที่ทางเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ ชาวบ้านที่ร่วมกันชักพระมาจนถึงตัวอำเภอ ก็ได้แยกย้ายไปทำบุญกับเรือพระของวัดต่างๆ ที่มาถึงก่อน เมื่อทำบุญตามที่เราศรัทธา ทางพระก็จะพรมน้ำมนต์ หรือมอบของศักดิ์สิทธิ์ให้เราหยิบมาเก็บไว้เป็นศิริมงคล และในอำเภอนึงมีวัดเป็นสิบๆแห่ง แต่ละอำเภอมีเรือพระไม่ต่ำกว่า50ลำ การจัดเทศกาลประเพณีชักพระ จะขึ้นในแต่อำเภอหรือ แต่ละอำเภอจะหารือแล้วก็มาจัดพร้อมกัน และก็จะจัดพร้อมกันทั่วภาคใต้(บางที่จะจัดก่อนไม่กี่วัน) ส่วนการชักพระจะชักพร้อมกันหมด คือวันออกพรรษา การท่องเที่ยวในงานจะหน้าแน่นมากจนเดินไม่ค่อยได้ เพราะคนต่างแห่แหนกันเที่ยวชมประเพณี และลูกหลานชาวใต้จะลางาน กลับมาชักพระประจำถิ่นบ้านเกิดของตัวเองอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีการประกวดเรือพระกันอีกด้วย (ถ้าวัดไหนได้ที่1เวลาแห่กลับจะดูหึกเหิมและมันส์มาก) เมื่อเรือพระจอดอยู่ที่ครบกำหนดวันที่ทางวัดตั้งไว้ (เรือพระจะจอดให้คนมาชม และทำบุญส่วนมากจะ1-2คืน) ทางชาวบ้านก็พากันมาชักเรือพระกลับ โดยการเดินทางกลับก็จะกลับทางเดิมที่มา แต่ขากลับชาวบ้านจะมาร่วมกันชักพระมากกว่าเดิม เพราะขากลับชาวบ้านที่ไม่ได้ชักพระขาไป ก็จะลางานมาชักพระขากลับ (ส่วนมากร้านต่างๆ ในภาคใต้จะปิดให้ลูกจ้างไปชักพระตามธรรมเนียม1-2วัน) เมื่อการชักพระขากลับ กลับถึงที่วัดบรรดาผู้ชาย จะต้องขึ้นไปนิมนต์พระพุทธรูปลงมา ให้ชาวบ้านสงค์น้ำพระก่อนนำไปเข้าเก็บไว้ที่โบสถ์ อีกหนึ่งอย่างที่ผู้คน และเหล่าบรรดาวัยรุ่นต่างอยากได้มาบูชา คือ 'จีวรพระหรือผ้าลูกไม้' ซึ่งใช้ห่มให้กับพระพุทธรูป ก่อนที่จะสงค์น้ำพระจะมีปลดออกมาจากพระพุทธรูป และได้ทำการฉีกผ้าเพื่อแบ่งให้ทุกคนเก็บไว้บูชา หรือนำไปผูกกับคอรถมอเตอร์ไซต์ หรือผูกที่คอพวกมาลัยรถยนต์ เชื่อกันว่าทำให้แคล้วคลาดอุบัติเหตุ และขั้นตอนสุดท้าย...เมื่อนำเรือพระเข้าไปเก็บยังโรงเก็บเรือพระประเพณีชักพระก็เป็นอันเสร็จสิ้น นอกเหนือจากนี้ประเพณีชักพระ ก็ไม่ได้มีแค่ทางบนบก ยังมีเรือพระแบบที่เป็นเรือวิ่งบนน้ำจริงๆ ซึ่งก็จะจัดขึ้นในพื่นที่ที่มีแม่น้ำอยู่มาก โดยการชักพระทางน้ำก็คล้ายๆกับทางบนบก แตกต่างกันแค่ในน้ำไม่มีคนลากแต่จะมีคนนำขบวนไม่กี่คน และจะมีพระพุทธรูป และพระสงค์ และลูกศิษย์อีกส่วนนึงอยู่บนเรือเหมือนกับบนบก และก็มีชาวบ้านเต็ม2ฝั่งคลอง เตรียมโยนขนมต้ม หรือดอกบัวให้ขึ้นบนเรือ ซึ่งประเพณีชักพระทางน้ำจะมีน้อยมากในปัจจุบัน และนอกเหนือจากนี้ยังมีเรือพระที่ไม่มีล้อ (ใช้ท่อนไม้มาแทนล้อ) ซึ่งผู้คนจะหลั่งไหลไปช่วยกันชักพระกันมากเป็นพิเศษ (วัดที่ขึ้นชื่อในนครศรี คือ 'วัดร่อนนา' วัดที่มี 'พระแม่เศรษฐี' สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราช) และยังมีการชักพระฝ่าลำธารออกสู่อำเภอ อันนี้ขึ้นชื่อเป็นอย่างมากในอำเภอลานสกา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช บอกเลย1ปีมีแค่ครั้งเดียว เกือบๆปลายปีนี้หากสิ้นโควิด-19แล้ว อย่าลืมวางแผนเตรียมข้อมูลมาเที่ยวกันได้นะ (ซึ่งปี63 ตรงกับวันที่2 วันศุกร์เดือนตุลาคม) บอกเลยสนุกมากกกภาพหน้าปกบทความ-อดิศักดิ์ เดชสถิตย์ขอบคุณในการอนุญาติให้ใช้ภาพและติดตามภาพสวยๆได้จากFB-อดิศักดิ์ เดชสถิตย์