ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าด้วยสถานการณ์โลกที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาดอยู่ตอนนี้ ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในภาวะไม่สู้ดีมาระยะใหญ่ตั้งแต่ในช่วงก่อนหน้านี้ เมื่อเจอพิษไวรัสโควิดเข้าไป กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หยุดชะงัก ก็อาจทำให้หลายคนประสบปัญหาทางการเงินได้ภาพประกอบจาก https://www.freepik.com/free-photos-vectors/businessวิธีการขั้นพื้นฐานที่สุดที่จะไม่ทำให้ตัวเราตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเงิน คือการรู้จักบริหารจัดการเงินของตัวเองอย่างเป็นสัดเป็นส่วน ไม่ใช้จ่ายจนเพลิน เพราะเมื่อรู้ตัวอีกที เงินที่เคยมีอาจจะปลิวหายไปจนหมด ยิ่งในภาวะที่ผลประกอบการของบริษัทอาจจะต่ำ ไม่รู้ว่างานประจำที่เราเคยคิดว่ามั่นคงจะยังคงอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหนรายการ “แก(ล้)มเล่า” ใน youtube ได้นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนในการเก็บเงินแบบง่าย ๆ ที่น่าสนใจ จึงขอเอามาแบ่งปันให้ทราบกันในวันนี้ค่ะวิธีการนั้นคือ การเก็บเงินแบบ 5-3-2รายได้ของเราในแต่ละเดือน ให้แบ่งออกเป็น 10 ส่วน5 ส่วน ใช้สำหรับใช้จ่ายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซื้อของที่จำเป็นและไม่จำเป็นต่าง ๆ3 ส่วน ใช้สำหรับชำระหนี้ หากใครมีสิ่งที่ต้องผ่อนชำระ บ้าน รถ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ใช้เงิน 30% ของรายได้ในการชำระหนี้ในส่วนนี้2 ส่วน เป็นเงินเก็บออม โดยมีหลักการสำคัญคือ “ออมก่อนใช้” หมายความว่าเมื่อคุณได้รับเงินเดือนมา ต้องกันเงิน 20% สำหรับเก็บออมก่อน โดยไม่นำมายุ่งกับส่วนที่ใช้จ่ายเลย อาจทำโดยการฝากประจำ หรือแยกบัญชีออมทรัพย์ที่จะไม่ใช้ค่ะภาพประกอบจากรายการแก(ล้)มเล่า EP.2 https://youtu.be/lya-w0-_hMMแต่ถ้าใครมีรายได้มาก หรือรู้สึกว่ามีความสามารถที่จะใช้หนี้ได้มากกว่า 3 ส่วน ก็สามารถแบ่งเป็นส่วนที่ใช้ชำระหนี้เพิ่มได้ อาจเป็น 4 ส่วน แล้วลดส่วนใช้จ่ายลงมาเป็น 4 ส่วนแต่ข้อห้ามคือ ห้ามลดเงินส่วนออมเด็ดขาดหรือถ้าใครยังมีรายได้น้อย ยังไม่เกิดการก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์อะไร ก็อาจนำส่วนที่ใช้ชำระหนี้มาเป็นส่วนใช้จ่ายหรือส่วนเก็บออมเพิ่มขึ้นได้ค่ะภาพประกอบจาก https://www.freepik.com/free-photos-vectors/backgroundถ้าลองมองในส่วนของเงินสำหรับใช้จ่ายเพิ่มเติม เราก็อาจวางแผนการใช้เงินส่วนนี้ให้ชัดเจนไปเลยได้อีกเช่นกันค่ะ เช่นถ้าเรารู้อยู่แล้วว่าค่าใช้จ่ายประจำ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง เป็นจำนวนเงินประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน ในส่วนที่เหลือเราจะแบ่งไว้สำหรับเป็นค่าอาหารอีกเท่าไหร่ ค่าของใช้ ค่าของฟุ่มเฟือย หรือค่าตอบสนองความสะดวกสบายและความชอบต่าง ๆ ส่วนละเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้ไม่เผลอใช้จนไม่รู้ตัวแล้วผิดแผนไปหมดในภาวะที่ทุกคนต่างก็ต้องประคับประคองสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองแบบนี้บริหารเงินตัวเองให้ดี ก็มีชัยไปครึ่งหนึ่งแล้วค่ะ