รีเซต

เชื้อเพลิงเครื่องบินจากแสงแดด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์

เชื้อเพลิงเครื่องบินจากแสงแดด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์
TNN ช่อง16
6 สิงหาคม 2565 ( 12:27 )
208
เชื้อเพลิงเครื่องบินจากแสงแดด น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์

สำหรับเชื้อเพลิงเครื่องบินแบบใหม่นี้ ทีมวิจัยอธิบายว่าหลักการสร้างของมัน จะเริ่มจากการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O) เข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวขับเคลื่อน แล้วใช้ความร้อนของมันช่วยในการแยกโมเลกุลต่าง ๆ ออกมา


กระบวนการดังกล่าว จะทำให้ได้ ไฮโดรเจน (Hydrogen) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) ซึ่งสามารถนำไปทำก๊าซสังเคราะห์ หรือ ซินแกส (Syngas) เช่น เคโรซีน เมทานอล (Kerosene Methanol) หรือน้ำมันก๊าดเมทานอล ซึ่งสามารถนำไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้

นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมา จากการใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ดังกล่าว ยังเทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่นำมาใช้ในการผลิต จึงไม่ทำให้เป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีกด้วย


สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นฝีมือของทีมวิจัย นำโดยศาสตราจารย์ อัลโด สไตน์ฟีล (Aldo Steinfeld) จากมหาวิทยาลัยอีทีเอช ซูริค (ETH Zurich) โดยตีพิมพ์ลงบนวารสารโจลล์ (Joule) วารสารด้านเทคโนโลยีระดับโลก 


และยังได้ฟิลิปป์ เฟอร์เลอร์ (Philipp Furler) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท ซินฮีเลียน (Synhelio) บริษัทด้านเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ


ซึ่งทางทีมพัฒนา มีความต้องการที่จะผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์ ไปสู่ระดับอุตสาหกรรม ภายในปี 2025 ทั้งนี้การจะนำเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องมีกำลังการผลิตก๊าซสังเคราะห์ที่ประมาณ 10 ล้านลิตรต่อปี


ทางบริษัทจึงได้ตกลงที่จะร่วมมือกับ สวิตช์ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) เพื่อเริ่มกระบวนการผลิตในปี 2023 ที่จะถึงนี้ และจะขยายไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต


ข้อมูลจาก www.cell.com

ภาพจาก www.sciencenews.org

ข่าวที่เกี่ยวข้อง