มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้มีโครงการศูนย์วัฒนธรรมศึกษา (เรือนสี่ภาค) ผู้รับหน้าที่ดูแลก็คือ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเรือนไทยโบราณ การดำรงชีวิต และ ภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนรวมถึงเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมทั้ง 4ภาค ซึ่งแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนา โดยสร้างเรือนไทยทั้งหมด 4หลัง คือเรือนไทยภาคกลาง 1หลังเรือนไทยภาคเหนือ 1หลังเรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1หลังเรือนไทยภาคใต้ 1หลัง เรือนไทย 4ภาคนี้ ออกแบบโดย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) นามว่า รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีผลงานที่โดดเด่นคือ สถานีรถไฟใต้ดิน เส้นทางรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง – บางแค ซึ่งตั้งอยู่ที่พื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ และมีผลงานอีกมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้เห็นผลงานต่าง ๆ แล้วน่าทึ่งมากค่ะ จึงอยากให้เข้าไปอ่านประวัติส่วนตัว การเรียน และผลงานชิ้นสำคัญต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติผู้นี้ ที่ลิงค์ประกอบด้านล่างhttp://isminttt.blogspot.com/?m=1เรือนที่ 1 เรือนไทยภาคกลาง เอกลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจน คือหน้าจั่วที่มีความสวยงามหลังคาจะมีความสูงชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลได้เร็ว ไม่รั่ว เพราะภาคกลางฝนตกบ่อย และหน้าร้อนจะร้อนอบอ้าว หลังคาสูงชันจะทำให้เย็นสบาย บวกกับยกใต้ถุนสูง และพื้นที่เรือนกว้างขวาง ทำให้ลมพัดผ่านระบายอากาศได้ดี ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเย็นสบาย และมีชายคายื่นออกมา กันฝนสาดและแดดส่อง ด้านข้างด้านหลังด้านหลัง เรือนที่ 2 เรือนไทยภาคใต้ เรือนจะยกสูง มีใต้ถุน แต่ไม่สูงเท่าเรือนภาคกลาง แค่พอให้เดินลอดได้ เพราะภาคใต้ มักจะเจอมรสุม พายุฝน ลมแรงเป็นประจำ เอกลักษณ์ที่ชัดเจนคือ ตัวเรือนจะกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน มีการตกแต่งหน้าจั่วให้สวยงาม หลังคาปูกระเบื้อง ด้านข้างทางซ้ายด้านข้างด้านหลังด้านข้างทางขวาเรือนที่ 3 เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เรือนของภาคนี้จึงไม่มีการตกแต่งอะไรเพื่อความสวยงามมากนัก สร้างเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก หน้าต่างเจาะเป็นบานเล็ก ประตูมีเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อนข้างมืด เพราะในฤดูหนาว ลมพัดตลอด พัดรุนแรง และหนาวมาก จึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้ด้านข้างทางซ้ายด้านข้างทางขวาด้านหลังด้านหลังเรือนที่ 4 เรือนไทยภาคเหนือ เอกลักษณ์ที่เด่นชัดเจน เห็นแล้วก็รู้เลยว่าเป็นเรือนภาคเหนือคือ ด้านบนสุดของหลังคา มีไม้ไขว้แกะสลัก ตรงนี้เรียกว่า กาแล ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นล้านนาคำว่า กะแล๋ แปลว่า กากบาท กาแลทำเพื่อความสวยงามและตามความเชื่อของชาวเหนือ ลักษณะของฝาบ้านจะเป็นฝาล้ม ผายออก ตามแบบศิลปะล้านนาไทยดั้งเดิม ใต้ถุนจะเตี้ย ช่องหน้าต่างเล็ก เพื่อกันลมหนาวเพราะสภาพอากาศที่หนาวมากในฤดูหนาว ห้องใหญ่ห้องเล็กด้านข้างด้านข้างด้านล่าง ใต้ถุนด้านข้าง ด้านข้างด้านข้าง บึงน้ำในบริเวณ สามารถจัดกิจกรรมต่างๆ ได้เช่น ลอยกระทง เครดิตภาพ : ผู้เขียน สถานที่แห่งนี้ นอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว และที่พักผ่อนของประชาชนละแวกใกล้เคียง เวลางานเทศกาลเกี่ยวกับวัฒนธรรมก็ใช้จุดนี้เป็นสถานที่จัดงานเช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง สิ่งที่อยากจะเสนอแนะก็คือ อยากให้ทางศูนย์จัดแผ่นป้ายบอกว่าเรือนไหนเป็นเรือนของภาคใด อธิบายเอกลักษณ์สำคัญ ๆ แบบคร่าว ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของผู้มาเยี่ยมชม เวลาปกติประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ตามสะดวก หากต้องการมาเป็นหมู่คณะ ต้องการวิทยากร หรือ ต้องการใช้เป็นสถานที่จัดงานทางวัฒนธรรม ให้ติดต่อสำนักศิลปะและวัฒนธรรม 077913354 ล่วงหน้าในเวลาราชการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เลขที่ 272 ม. 9 ถนนสุราษฎร์-นาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100