มนุษย์ที่อยู่บนอวกาศยาวนานถึง 20 ปี
The International Space Station (ISS) หรือสถานีอวกาศนานาชาติได้ปูทางด้านการพัฒนามากมาย ไม่เพียงแต่การสำรวจอวกาศ แต่ยังรวมไปถึงการศึกษาในสาขาอื่น ๆ และได้ครบ 20 ปีแล้ว ที่มนุษย์ได้เดินทางไปอยู่บนอวกาศ โดยสถานีอวกาศนานาชาติกำเนืดขึ้นมาได้เพราะการร่วมมือกันระหว่าง United States' NASA, Russia's Roscosmos, Japan's JAXA, Canada's CSA และ European Space Agency (ESA) ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางสถานีอวกาศนานาชาติ ก็ได้ปรากฎโฉมมนุษย์ที่อยู่บนอวกาศมานานมากถึง 20 ปีให้ได้เห็นหน้ากันแล้ว
โดยพวกเขาได้เป็นลูกเรือของ Expedition 1 ที่ได้เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2000
เกี่ยวกับ "The International Space Station (ISS) หรือสถานีอวกาศนานาชาติ"
- สถานีอวกาศนานาชาติได้รับการพัฒนาครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1990
- มีโมดูลแรกคือ Zarya ซึ่งถูกยกขึ้นด้วยจรวดโปรตอนของรัสเซีย ตามมาด้วยภารกิจ STS-88 โดยมีโมดูล Unity ที่เชื่อมต่อกับ Zarya
- ในเดือนกรกฎาคปี 2000 ยาน Zvezda ของรัสเซียติดอยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ อนุญาตให้ลูกเรือสามารถอยู่บนสถานีอวกาศได้สูงสุดสองคน
- ลูกเรือกลุ่มแรกคือทีม Expedition 1 ประกอบด้วยนักบินอวกาศของ NASA และผู้บัญชาการภารกิจ Bill Shepherd พร้อมนักบินอวกาศชาวรัสเซีย Yuri Gidzenko และ Sergei Krikalev ยานอวกาศทั้งสามลำถูกบรรทุกโดยจรวด Soyuz ในวันที่ 31 ตุลาคม และอีกสองวันต่อมา พวกเขาก็ได้กลายเป็นลูกเรือกลุ่มแรกของสถานีอวกาศนานาชาติ
- ตั้งแต่ปี 2000 มา สถานีอวกาศนานาชาติได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอาคารอวกาศที่มีความยาวเกือบ 240 ฟุต (73 เมตร) และกว้าง 360 ฟุต (109 เมตร)
- ตามข้อมูลของ NASA ณ เดือนกรกฎาคม 2020 มีบุคลากรอยู่บนสถานีอวกาศ 240 คนจาก 19 ประเทศ
- นอกจากนี้สถานีอวกาศ ยังได้ติดตั้งแพลตฟอร์มเพื่อให้มีพื้นที่ว่างและสภาพแวดล้อมที่มีแรงโน้มถ่วง ซึ่งช่วยให้สามารถศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในสาขาการวิจัยที่หลากหลายได้
- ขณะนี้สถานีอวกาศนานาชาติได้รับการสนับสนุนโดยลูกเรือจาก Expedition 64 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการของลูกเรือเจ็ดคนแรกในสถานีอวกาศนานาชาติ นักบินอวกาศรัสเซียเซอร์เกย์ริซฮิคอฟทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการภารกิจ
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
แหล่งที่มา sciencetimes.com