(Photo by Miguel Á. Padriñán from Pexels)คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้หรือไม่ ระบบการจัดเก็บข้อมูลผิดพลาด เช็คในระบบมีการระบุว่าเกิดปัญหาตรงจุดนี้ แต่พอไปดูหน้างานจริงกลับไม่มี หรือบางทีในระบบไม่มีการแจ้งเตือนใด ๆ แต่หน้างานกลับเจอปัญหา ซึ่งถ้าเกิดปัญหาประเภทนี้ คือ ข้อมูลในระบบที่บันทึกกับการปฏิบัติงานจริงไม่ตรงกัน เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจาก เจ้าหน้าที่ไม่บันทึกลงระบบ หรือเพราะความเคยชิน และที่มักจะอ้างว่า เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวค่อยทำ แต่สักพักก็ลืม(ภาพโดย Jens P. Raak จาก Pixabay)ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว เราสามารถที่จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Cycle Counting หรือการตรวจนับตามรอบ หลักการง่าย ๆ ที่ให้ทำ คือ ใช้แนวคิดของพาราโต้ (Pareto กฎ 80:20) ถ้าสินค้ามีมูลค่ามากก็ตรวจนับให้ถี่ (รายสัปดาห์) ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าน้อย แต่มีปริมาณมาก ก็อาจจะไม่ต้องถี่มากนักหลักการของวิธี CYCLE COUNTING จะมีอยู่ 5 ข้อ คือ1. แบ่งกลุ่มประเภทสินค้า โดยใช้กฏของพาราโต้ (Pareto) ในการพิจารณาถึงมูลค่ากับปริมาณ : แบ่งเป็น 3 กลุ่ม(Photo by ELEVATE from Pexels)กลุ่มที่มี มูลค่ามาก ปริมาณน้อย (A) ต้องมีการตรวจนับทุกสัปดาห์กลุ่มที่มี มูลค่าปานกลาง ปริมาณปานกลาง (B) : อาจจะตรวจนับทุกเดือนกลุ่มที่มี มูลค่าน้อย ปริมาณมาก (C) : อาจจะตรวจนับทุกไตรมาส หรือรายปีก็ได้ซึ่งตามหลักการของพาเรโต้ (Pareto) ที่สัดส่วนจะอยู่ที่ 80 : 20 แต่เราอาจจะปรับเป็น 95 : 5 ก็คือ เพื่อแบ่งกลุ่มของสินค้าที่อาจจะมีมูลค่าถึง 95% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดก็เป็นได้2. ติดระบบบาร์โค้ด (Barcode) ให้กับสินค้า เนื่องจากการจัดเก็บสินค้ามีจำนวนมาก และมีหลายร้อยไอเทม การใช้บาร์โค้ด (Barcode) จะช่วยให้เราตรวจสอบสถานะสะดวกและมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น(ภาพโดย Hans Braxmeier จาก Pixabay)3. กำหนดค่าตั้งต้นใหม่ของสินค้าแต่ละชนิด แต่ละประเภท ดำเนินการ Set Up ขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สินค้าไม่ซ้ำซ้อนกันในระบบ เช่นถ้า Barcode สินค้าไหนไม่มีของแล้วต่อไป ก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้4. จัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องแลรวดเร็ว(Photo by Stephen Dawson on Unsplash)5. จัดทำหรือปรับปรุงระบบการเบิกจ่ายสินค้า เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายสินค้า และระบุถึงขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนได้การจัดทำระบบ Cycle Counting หรือการตรวจนับตามรอบ ยิ่งเป็นปัจจุบันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การวางแผนการจัดการระบบโลจิสติกส์ของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ > นิยมเล่าเป็นเรื่องผู้เขียนเป็นเจ้าของ Blog : http://businessconnectionknowledge.blogspot.com