อย่าปล่อยให้ลูกคุณสายเกินแก้สังเกตตั้งแต่ยังเด็กมีโอกาศที่จะดีขึ้นได้ เด็กแต่ละคนเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนพัฒนาการช้า บางคนพัฒนาการเร็ว หรือความสมดุลของการพัฒนาไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ปกครองไม่เข้าใจแล้วคิดว่าลูกคุณอาจผิดปกติเป็นเด็กพิเศษ แต่ความจริงแล้วลูกคุณก็ปกติเหมือนคนทั่วไป แต่แค่ต้องใช้เวลาในการเข้าใจ เรียนรู้ หมั่นสังเกตลูกน้อย หรือถ้าสงสัยมาก ๆ ก็พาไปพบแพทย์ได้ ลูกของคุณอาจเกิดภาวะ โรค LD หรือที่เรียกว่าโรคบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเราก็ไม่ใช่แพทย์ แต่อยากมาแชร์เรื่องราวและประสบการณ์วัยเด็กให้ทุก ๆ คนฟังว่า เราบกพร่องทางไหน และพัฒนาการมาได้อย่างไรตามไปอ่านกันเลยค่ะ โรค LD หรือที่เรียกว่า โรคบกพร่องทางการเรียนรู้คืออะไร โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี โดยปกติจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด1.บกพร่องด้านการอ่านความบกพร่องทางด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุด เด็กจะไม่สามารถจดจำพยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันวรรณยุคไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะการอ่านต่ำกว่าเด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกันถึง 2 ระดับ2.บกพร่องด้านการเขียนสะกดคำมักจะพบร่วมด้วยกับด้านการอ่าน ทำให้ตัวเด็กเองมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง มีปัญหาความสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือและสายตา เขียนช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันไป 2 ระดับชั้น3.ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ขาดทักษะความเข้าใจในการคิดคำนวณ การจำสูตรสัญลักษณ์ไม่ได้ ทำให้การบวก ลบ คูณ หาร หาคำตอบได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย- เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดที่ทำอะไรไม่ทันเพื่อน- ทำงานช้า ทำไม่เสร็จ สะเพร่า- ความจำไม่ดี เรียนแล้วได้หน้าลืมหลัง เหมือนสอบเสร็จก็คืนความรู้ครูไปหมด- ไม่มั่นใจและขาดความภูมิใจในตัวเองการพาลูกไปพบแพทย์เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้หาวิธีเข้าใจและดูแลลูกได้อย่างถูกต้องหาวิธีร่วมกันกับคุณหมอ และจัดสรรการเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กเหล่านี้ คอยเป็นกำลังใจไม่ให้ลูกรู้สึกน้อยใจ หรือไปดุด่า ควรไปพบกับคุณครูเพื่อหาแนวทางร่วมกัน เพราะเด็กไม่ได้พิการหรือเป็นออทิสติก สมองปกติดีแบบเด็กทั่วไปนี่แหละค่ะ แค่มีบางส่วนที่ทำงานบกพร่องเท่านั้นเองประสบการณ์จากครีเอเตอร์และวิธีเลี้ยงดูจากคุณแม่ ครีเอเตอรืเองเกิดเป็นเด็กกล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรงและสายตาเอียง เวลาเขียนหนังสือจะช้ากว่าเด็กทั่วไปและลายมือจะหวัดมากจนบางครั้งคุณครูอ่านไม่ออก ไม่มีแรงจับดินสอให้มั่นคง ซึ่งทุกวันที่ไปโรงเรียนจะกดดันมากเป็นพิเศษเพราะเราขาดความมั่นใจและความภูมิใจในตัวเอง ต้องทำทุกอย่างแข่งกับเวลา เพราะความช้าหรือจดไม่ทันจะทำให้เพื่อนคนอื่นรำคาญเอาได้ ยืมสมุดมาจดบ่อย ๆ ก็เป็นภาระเข้าไปอีก และในด้านคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน มีความช้าในการคิดคำนวณหรือบางครั้งก็ไม่เข้าใจเลย คุณแม่ได้ไปปรึกษาคุณหมอ เช่นเดียวกับไปปรึกษาคุณครูที่โรงเรียน และสิ่งที่คุณแม่เอาใจใส่เราเป็นประจำคือลายมือเราเองทุกวันหยุดเสาร์อาทิตย์จะไม่ได้ดูทีวีหรือออกไปเล่นกับเพื่อน แต่คุณแม่จะจับนั่งโต๊ะและจับมือเขียนหนังสือทีละตัว จนเขียนเข้มขึ้น และหัดเขียนเป็นคำ ๆ ทำวันทุกปิดเทอมในช่วงวัยเด็กทำแบบนี้จนขึ้นประถมก็พอเขียนได้ดีขึ้น ทุกอย่างคือต้องอดทนและทำซ้ำ ๆ คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน คำที่คุณแม่บอกตลอดคือ ให้เขียนม้วนหัวตัวหนังสือ และ คณิตศาสตร์ทำโจทย์ซ้ำให้มากกว่าคนอื่น แต่เราก็ได้แค่พอผ่านแค่นั้นและก็คืนครูหลังสอบไปเลย ในด้านการเขียนมาเขียนเร็วขึ้นทันเพื่อนตอนจบประถมศึกษาปีที่ 6 พอดี ลายมืออาจจะไม่สวยมาก แต่ก็ยังอ่านออกกว่าตอนเด็ก ต้องกำหนดเป้าหมายว่าจะเขียนตัวอักษรออกมาแบบใดในแต่ละวันค่อย ๆ เขียนให้มีช่องไฟและครูอ่านออกแค่นี้ แต่ถ้าถามเรื่องความสวยเอาไว้ว่ากันทีหลัง เขียนให้ทันก่อนเป็นใช้ได้ แต่เวลาอยู่คนเดียวจดอะไรเร็ว ๆ ลายมือก็จะกลับไปแย่แบบบางทีตัวเราเองก็มีบ้างที่อ่านไม่ออกเอง สิ่งสำคัญอยู่ที่การเอาใจใส่ของผู้ปกครองและตัวของเด็กเองด้วยที่จะช่วยให้เราพัฒนาครบทุกด้าน ตรงไหนไม่ได้ให้ทำซ้ำ ตอนเด็กเราเขียนและคิดคำนวณช้า แต่เราสามารถอ่านและใช้ความจำได้เร็วอะไรที่ท่องจำจะเร็วกว่าอะไรที่ต้องคิดคำนวณค่ะ จนถึงทุกวันนี้เราพบคุณหมอจิตเวชเรื่องขาดความเชื่อมั่นในตนเองและเป็นโรควิตกกังวลที่สะสมมาตั้งเด็ก ๆ หลังจากได้ทานยาก็ดีขึ้นปรับทัศนะคติต่อตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้เราอายุ 30 แล้วถือว่าผ่านความยากลำบาก แต่บากบั่นมาจนสำเร็จทันคนอื่นได้และเรียนจบปริญญาให้พ่อแม่ภูมิใจได้ค่ะ หลายคนอาจเข้าใจผิดโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ แต่มีมานานแล้วแค่ไม่ได้แพร่หลายมากเท่าที่ควรลายมือที่ดีขึ้นมาหน่อยไม่ใช่มีแค่เราหรือเด็กธรรมดาที่เป็นแต่ก็มีดาราดังที่เป็นโรคนี้เช่นกัน อย่าง "แดเนียล แรดคลิฟฟ์" แฮรี่พอตเตอร์ผู้โด่งดังก็เป็นเช่นกัน ในเรื่องเขียนหนังสือแทบอ่านไม่ออก ทอม ครูซ เป็นในเรื่องของการอ่านหนังสือไม่ออกเป็นต้น สุดท้ายนี้อยากบอกว่าทุกสิ่งล้วนมาจากความพยายามของทุกฝ่าย ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญและเป็นด่านแรกที่พักพิงของลูก ๆ ลูกให้ความร่วมมือรับคำปรึกษากับคุณหมอ และได้รับการเอาใจใส่จากคุณครูที่โรงเรียน เพื่อน ๆ เห็นใจถึงแม้ว่าจะทำไม่ได้ตามนี้ทั้งหมด แต่เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้นแน่นอน ฝึกฝนค่ะและทำเป็นประจำคนอื่นทำได้ คุณก็ทำได้ เราหวังว่าใครที่ได้มาอ่านบทความนี้จะได้ประโยชน์กลับไปนะคะ อย่าลืมสังเกตลูกน้อยของต้นเองด้วยนะคะ ปกพร่องด้านไหนก็เติมด้านนั้นให้เต็มเหมือนกับที่คุณแม่เชื่อในตัวครีเอเตอร์ค่ะเครดิตภาพที่ 1-3 ภาพปก ตกแต่งเองโดย Canvaภาพที่ 4-5 ถ่ายเองโดย Hometownsomi 7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์