รีเซต

ทรู ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว สาธิตการบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังช้าง ฯ

ทรู ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว สาธิตการบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังช้าง ฯ
Oopsoi5
17 พฤศจิกายน 2564 ( 15:03 )
144
ทรู ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว สาธิตการบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังช้าง ฯ

ทรู ลงพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว สาธิตการบริหารจัดการระบบเฝ้าระวังช้าง ฯ ให้ตัวแทนหมู่บ้านคชานุรักษ์ หลังนำเทคโนโลยี AI เสริมระบบคัดกรองภาพช้าง หนุนการเฝ้าระวังช้างป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 
กลุ่มทรู โดยฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ลงพื้นที่แนะนำ วิธีการบริหารจัดการใช้งานระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการเฝ้าระวังช้างป่าผ่านแอพพลิเคชั่นคชานุรักษ์ ให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ของกรมอุทยานแห่งชาติ 7 คน ตัวแทนหมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวนกว่า 41 คน รวมถึง จาก 8 หมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ณ สวนพฤกษศาสตร์ วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
 
โดยตัวแทน ฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม พร้อมด้วย อาจารย์วิชาญ ทุมทอง จาก คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งร่วมพัฒนาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) เข้ามาเสริมระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้า ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถคัดกรองเฉพาะภาพช้างป่าได้แม่นยําถึงร้อยละ 90 และแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังทีมเฝ้าระวังในแต่ละจังหวัดทันที
 
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวัตถุใดๆ รวมทั้งช้างป่าผ่านหน้ากล้อง กล้องจะทำการส่งภาพทุกภาพเข้าระบบ Cloud หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะทำการคัดเลือกเฉพาะภาพช้างและพิกัดแจ้งเตือนไปยังทีมผลักดันช้างป่าของแต่ละจังหวัดผ่านแอปพลิเคชัน “คชานุรักษ์”(Kajanurak)  ซึ่งพัฒนาและออกแบบโดยทีม True Innovation เพื่อรองรับการทํางานร่วมกับระบบ Cloud โดยเฉพาะ
 
เมื่อมีการ นำเทคโนโลยี AI เข้ามาเสริมระบบ AI จะทำการคัดกรองเฉพาะภาพช้างป่า พร้อมพิกัด และส่งเข้า Cloud และ Cloud จะส่งการแจ้งเตือนต่อไปยังแอปพลิเคชั่น “คชานุรักษ์” ของเจ้าหน้าที่ที่หรือตัวแทนชุมชนที่รับผิดชอบในพื้นที่ตามพิกัดนั้นๆ โดยอัตโนมัติ
 
หลังจากการผลักดัน ช้างป่าเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่หรือตัวแทนชุมชนที่ได้รับมอบหมายจะทำการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติภารกิจกลับไปที่ระบบ Cloud โดยอัตโนมัติ เช่น จํานวนช้างป่าที่พบ ความ เสียหายที่เกิดขึ้น จากนั้นระบบจะจัดเก็บและนําไปประมวลผลเพื่อรายงานสําหรับเป็นข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ใช้ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาต่อไป
 
ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน “คชานุรักษ์” (Kajanurak) รองรับการใช้งานใน โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ Android เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างดําเนินการพัฒนาเพื่อให้รองรับการใช้ งานในโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ iOS
 

นอกจากนี้ ตัวแทนทรู ยังได้ทดสอบการนําข้อมูลพิกัดกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ ป่าอัตโนมัติของศูนย์ปฏิบัติการคชานุรักษ์ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง จังหวัดระยอง เข้ามาต่อเชื่อมกับ ระบบ Cloud กลางของคชานุรักษ์ ทําให้ปัจจุบัน ระบบ Smart Early Warning ของโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ครอบคลุมแล้วทั้ง 5 จังหวัดเป้าหมาย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง