รีเซต

CPF ยกระดับการจัดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า

CPF ยกระดับการจัดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า
TNN ช่อง16
14 มิถุนายน 2566 ( 17:49 )
65

บริษัท  เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  ยกระดับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการสูญเสียอาหาร โดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ขณะเดียวกันเดินหน้าลดปริมาณขยะอาหารและสนับสนุนการนำอาหารส่วนเกินไปใช้ประโยชน์ เน้นความปลอดภัยอาหาร  พร้อมสานต่อโครงการ" Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก"ปีที่ 3 เปลี่ยนอาหารส่วนเกินเป็นเมนูมื้ออร่อย ส่งต่อให้กลุ่มเปราะบางไปแล้วมากกว่า 1.3 แสนมื้อ   หนุนขับเคลื่อนเป้าหมายการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนตามแนวทาง SDGs 

    นางกอบบุญ ศรีชัย  ผู้บริหารสูงสุด  สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์  ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า  ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน  CPF 2030  Sustainability in Action บริษัท ฯ  ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าสูงสุด  มุ่งมั่นยกระดับการจัดการการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบ  โดยได้ประกาศนโยบายการจัดการอาหารสูญเสียและขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Policy) ในกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน  กำหนดเป้าหมายสำคัญในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินและขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจ

ของบริษัทฯให้เป็นศูนย์ในปี 2030 (พ.ศ.2573) สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals :SDGs)ที่ต้องการลดปริมาณขยะอาหารทั่วโลกลงกว่าครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค 

     "ซีพีเอฟ นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภค สนับสนุนเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)"นางกอบบุญ กล่าว    

     

บริษัทฯ ดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการสูญเสียอาหาร และลดปริมาณขยะอาหาร  ตลอดจนการขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อาทิ   โครงการระบบลำเลียงไข่อัจฉริยะ ที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุมการลำเลียงไข่ เพื่อลดความเสียหายจากการลำเลียงไข่จากฟาร์มสู่โรงคัดไข่และจากกระบวนการคัดไข่ ในปี 2565 สามารถลดจำนวนไข่เสียหายได้มากกว่า 1 ล้านฟอง และภายใน ปี 2566 จะมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติกับคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟทั้ง 7 แห่ง   โครงการนำเครื่องใน ขนสัตว์ปีก และไข่ไก่ที่เสียหายในระหว่างการผลิตแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์   นำชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆ ของสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ หน้ากากหมู เศษตัดแต่ง ไปจำหน่ายสดหรือแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สู่การบริโภคที่ปลอดภัย   

    นอกจากนี้  บริษัทฯนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาสร้างประโยชน์ต่อ อาทิ เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงาน  (Waste to Energy) โดยการนำเศษของเสีย เช่น ไขมัน ไปผลิตก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) นำน้ำมันพืชใช้แล้วสู่การผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น  

     

ในขณะเดียวกัน  ซีพีเอฟเดินหน้าขับเคลื่อนการลดอาหารส่วนเกิน (Surplus Food)โดยสานต่อความร่วมมือกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (มูลนิธิ SOS สาขาประเทศไทย) และ บริษัท เก็บ สะอาด จำกัด (GEPP) เปลี่ยนอาหารส่วนเกิน เป็นเมนูพร้อมรับประทานที่อร่อย สะอาด ปลอดภัย ในโครงการ"Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก"  ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินและการจัดการบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ซึ่งเป็นความร่วมมือกันมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2563 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 3  ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม  2564  -  พฤษภาคม 2566 สามารถส่งมอบอาหารให้แก่กลุ่มเปราะบาง  เช่น ผู้สูงอายุ   คนพิการ  ครอบครัวรายได้น้อย  ในชุมชน ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปแล้วมากกว่า 130,000 มื้อ            

 ทั้งนี้  อาหารที่ซีพีเอฟส่งมอบ เป็นอาหารที่มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย สารอาหารครบถ้วน และเป็นโปรตีนมากถึง 92.5% ของปริมาณทั้งหมด ให้พลังงานเพื่อสุขภาพที่ดีกับผู้บริโภค ซึ่งภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถลดขยะอาหารได้รวม  31.19 ตัน และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก   23.84  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมทั้งมีการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่การจัดการ  7,000 ชิ้น  เป็นการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่การจัดการแบบ Closed loop เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการจัดการรีไซเคิล และส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้  จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการจัดการที่เหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง