“วัดโพธิ์ ท่าเตียน” หรืออีกชื่อคือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารราม” ราชวรมหาวิหาร เป็นพระรามหลวงชั้นเอก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ภายในวัดนั้นมีทั้งสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ได้หลายแขนง ไม่ว่าเป็นเป็นในด้านของประวัติศาสตร์ ตำรายา ตำรานวด โบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นภายในวัดนั้นล้วนมีเรื่องเล่าและตำนานที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งภายหลังตำนานบางเรื่องก็ถูกเข้าใจผิด ในบทความนี้ผู้เขียนจึงนำเรื่องราวของยักษ์วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นอีกตำนานที่น่าสนใจและมักจะถูกเข้าใจผิดว่า ยักษ์วัดโพธิ์นั้น มีรูปร่างเป็นคนจีนตัวใหญ่ยืนเฝ้าอยู่บริเวณประตูซุ้มมงกุฎต่าง ๆ ของวัด ซึ่งจริง ๆ แล้ว นั่นเป็นเพียงตุ๊กตาจีนที่นำมาตั้งประดับไว้เท่านั้น ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องราวตำนานของยักษ์วัดโพธิ์ เพื่อให้ทุกท่านได้รับข้อมูลและมีความเข้าใจที่ถูกต้องทางด้านประวัติความเป็นมาและแนวคิดทางด้านศิลปะ ที่ถูกถ่ายทอดไว้จากคนสมัยโบราณภายถ่ายโดยผู้เขียนจริง ๆ แล้วเรื่องราวของยักษ์ที่ถูกนำว่าเล่าเป็นตำนานนั้น เป็นเรื่องเพียงเรื่องเล่าการเกิดข้อง “ชุมชนท่าเตียน” ที่ตั้งอยู่ฝั่งพระนคร ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาและติดกับวัดโพธิ์ด้วย ตำนานเล่าว่า แต่เดิมแล้วสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามียักษ์อยู่คนละฝั่งตรงข้ามกัน ซึ่งยักษ์สองฝั่งนี้เป็นเพื่อนกัน คือยักษ์วัดโพธิ์ กับยักษ์วัดแจ้ง อยู่มาวันหนึ่งยักษ์วัดโพธิ์ ได้ไปขอยืมเงินยักษ์วัดแจ้ง และนัดกำหนดวันที่จะคืนเงินให้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่นำเงินมาคืนตามนัด ยักษ์วัดแจ้งรอไม่ไหวจึงต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงิน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ ก็ไม่ยอมคืนเงินให้จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ทำให้ชุมชนที่อยู่บริเวณนั้นพังราบไปหมด เมื่อยักษ์วัดพระแก้วที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นมาเห็นเข้า จึงได้ห้ามยักษ์ทั้งสองฝ่ายไว้จึงได้เลิกรากัน ชุมชนที่พังราบไปตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า “ชุมชนท่าเตียน” เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องจึงลงโทษให้ยักษ์วัดแจ้ง ยืนเป็นหินเฝ้าที่วัดแจ้งหรือวัดอรุณ โดยมีอยู่ 2 ตนชื่อ “สหัสเดชะ” กายสีขาว และ “ทศกัณฐ์” กายสีเขียว ส่วนยักษ์วัดโพธิ์ก็ให้ยืนเป็นหิน เฝ้าทางเข้าวัดโพธิ์ทั้งสี่ทิศพญาแสงอาทิตย์ ภาพถ่ายโดยผู้เขียนพญามัยราพณ์ ภาพถ่ายโดยผู้เขียนพญาขร ภาพถ่ายโดยผู้เขียนพญาสัทธาสูร ภาพถ่ายโดยผู้เขียนส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการโปรดเกล้าฯให้รื้ออสูรเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูออก แล้วนำลั่นถันหรือตุ๊กตาศิลาจีนมาแทน กาลนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ขนาดเล็ก สูงประมาณ 175 เซนติเมตร จำนวน 8 ตน ตั้งไว้ที่ทางเข้าหอไตรจตุรมุข (พระมณฑป) ตรงซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รื้อซุ้มประตูออกไป 2 ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์อยู่เพียง 2 คู่ คือ มัยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพญาขรกับสัทธาสูร อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนซุ้มประตูด้านที่รื้อไปนั้น เดิมเป็นทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ อินทรชิตกับสุริยภพ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงใต้สำหรับวัดโพธิ์ ท่าเตียนนั้น สามารถเข้าชมในบริเวณวัดได้ทุกวัน ตั้ง 8.00 น. ถึงเวลา 18.00 น. แต่หลังจาก 17.00 น. จะไม่สามารถเข้าชมภายในประอุโบสถได้ ส่วนการแต่งกายควรสวมกางเกงขาขาวในชุดที่สุภาพซึ่งที่กล่าวมาก็เป็นประวัติความเป็นมายักษ์ วัดโพธิ์ ที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตุ๊กตาศิลาจีน หรือ ลั่นถัน ซึ่งในประวัติวัดโพธิ์นั้นก็ได้มีเรื่องราวของตุ๊กตาจีนอยู่ และผู้เขียนจะนำมาบอกเล่าในบทความต่อไป เพราะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์และศิลปะที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ตุ๊กตาศิลาจีน ลั่นถัน ยืนเฝ้าประตูซุ้มมงกุฏ ภาพถ่ายโดยผู้เขียน