การเรียนรู้จากการวิเคราะห์ประสบการณ์ในอดีต“อดีต” เป็นสิ่งที่เราควรที่จะก้าวข้ามผ่านไป เพราะวันเวลาไม่เคยจะหยุดเดิน อย่างไรเราคงต้องเดินไปกับมัน (พี่ตูนได้กล่าวไว้) แต่อดีตก็เป็นสิ่งที่น่ามองเพื่อเรียนรู้ เก็บทุกความผิดพลั้ง เป็นคำเตือนให้เราเข้าใจ (พี่ตูนก็ได้กล่าวไว้อีกเช่นกัน) การเรียนรู้ในอดีตจะทำให้เราสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ไปปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดอนาคตที่ดีขึ้นของชีวิตได้หากใครชอบจดบันทึกเรื่องราวลงในไดอารี่ ชอบโพสต์ Facebook เป็นประจำ หรือมีความจำเป็นเลิศ จะค่อนข้างในเปรียบในการสะสมข้อมูลเรื่องราวในอดีต ทุกวันนี้ “ข้อมูล” ในสายตาของทุก ๆ ธุรกิจมองว่าเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าน้ำมัน เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์และวางแผนเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดได้ จึงมีการคิดค้นโมเดลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/marketing-school-business-idea-21696/บทความนี้เราจะนำโมเดลในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ธุรกิจใช้กัน มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันจริง บทเรียนจริงในชีวิต ไหน ๆ ก็เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2019 แล้ว เรามาวางแผนกันดีกว่าว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตในปี 2020 ดีขึ้นกว่าเดิม1. ถามตัวเองว่า “เกิดอะไรขึ้น?” ลอง List รายการออกมาว่าที่ผ่านมาตลอดทั้งปี เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบ้าง ทั้งด้านบวกและด้านลบ หาเวลาสงบ ๆ อยู่คนเดียวนิ่ง ๆ และคิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น เท่าที่จำได้ อะไรเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจบ้าง อะไรที่ทำผิดพลาดไปบ้าง ที่ผ่านมาเราได้สร้างและสูญเสียความสัมพันธ์กับใครไปบ้าง เป้าหมายที่เคยตั้งไว้สำเร็จหรือไม่ อาจจะเขียนเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญต่อเรามาก ๆ จริง ๆ ก็ได้ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/pile-of-covered-books-159751/2. ถามตัวเองว่า “สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร” ในสองข้อแรกเราจะใช้เวลาอยู่กับอดีตสักพัก อาจจะอึดอัดและน่าเบื่อหน่อยที่ต้องทบทวนอะไรเดิม ๆ แต่เชื่อเถอะว่ามันมีประโยชน์ การหาสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นก็มีทั้งเรื่องบวกและเรื่องลบ เรื่องบวกจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งใดที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ ส่วนเรื่องลบไม่ได้ให้เรารู้สึกกล่าวโทษตัวเอง แต่ให้เราพยามที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำมาสู่ความล้มเหลวและหาทางออกให้ดีที่สุด3. ถามตัวเองว่า “อยากเห็นอะไรในอนาคต” ขั้นตอนนี้เรียกได้ว่าสนุกสุด ๆ เพราะเป็นขั้นตอนที่เราได้อยู่กับสิ่งที่เราอยากจะเป็นในอนาคตจริง ๆ แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ความฝันก็ตาม ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้หลายวิธีจะวาดรูป จะเขียนเป็นข้อ จะทำเป็นแผนผังความคิด หรืออะไรก็ตามแต่ สิ่งที่อยากจะบอกคือให้เราใช้ความคิดแง่บวกกับด้านนี้มาก ๆ เพราะเชื่อว่าทุกคนอยากจะเห็นตัวเองใน version ที่ดีขึ้นอยู่แล้ว อย่าเพิ่งคิดว่ามันจะเป็นไปไม่ได้จนกว่าจะได้ลงมือทำขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-woman-running-on-road-2346018/4. ถามตัวเองว่า “จะต้องทำอย่างไรให้ไปถึงอนาคตที่ตั้งใจไว้”ความปวดหัวเริ่มกลับเข้ามาอีกแล้วในขั้นตอนนี้ หลังจากที่วาดฝันกับข้อที่แล้วอย่างเต็มที่ ทีนี้เราก็ต้องมาคิดหัวแตกแล้วล่ะ ยิ่งตั้งเป้าสูง เป้าใหญ่ เป้ายาก ก็ยิ่งต้องมีข้อมูลด้านวิธีการที่จะนำชีวิตเราไปสู่จุดที่วาดฝัน จำไว้ว่าควาฝันจะแปรสภาพเป็นเป้าหมายได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้วิธีที่จะทำให้มันกลายเป็นความจริง ตัวอย่างคำถามในขั้นตอนนี้คือถ้าอยากจะไปถึงจุดที่วาดฝัน จะต้องทำอย่างไร ต้องรู้จักใคร ต้องมีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ เป็นต้นและนี่ก็คือ 4 ขั้นตอนในการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต นำมาซึ่งการวางแผนในอนาคต สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน เรื่องครอบครัว และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือเราจะต้องมี “สติ” ที่จะรู้เท่านั้นว่าเรากำลังอยู่ตรงจุดไหน และกำลังจะมุ่งหน้าไปสู่จุดไหน บทความโดย โอ้ติดตามต่อได้ที่เพจ “เรียนรู้ไปด้วยกันนะ”Facebook : fb.me/justlearntogetherYouTube : https://bit.ly/2PpkbZuIG : kanziri