บทความนี้ผู้เขียนจะมาแชร์ทริคและวิธีเตรียมตัวสอบ TOEIC ยังไงให้ได้คะแนน 650+ โดยผู้เขียนได้มีโอกาสไปสอบ TOEIC มาและได้คะแนนไป 675/990 คะแนนและเนื่องจากในปัจจุบันนั้นผลคะแนน TOEIC สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างมาก ๆ ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากจะมาแชร์ทริคและวิธีเตรียมตัวสอบ TOEIC ยังไงให้ได้ 650 คะแนนขึ้น ใครกำลังมีแพลนจะสอบต้องไม่พลาดบทความนี้เป็นอันขาด!ลักษณะของข้อสอบ TOEICข้อสอบ TOEIC จะเป็นข้อสอบแบบ multiple choice หรือแบบกานั่นเอง โดยตัวโครงสร้งข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกันนั่นก็คือส่วนที่ 1; การฟัง (Listening Comprehension) จำนวน 100 ข้อ เวลาสอบ 45 นาที คิดเป็น 495 คะแนนส่วนที่ 2; การอ่าน (Reading Comprehension) จำนวน 100 ข้อ เวลาสอบ 75 นาที คิดเป็น 495 คะแนนจำนวนข้อรวมทั้งหมดได้ 200 ข้อใช้เวลาสอบทั้งหมด 120 นาทีหรือ 2 ชั่วโมงด้วยกัน.จะเห็นได้ว่าเวลาสอบนั้นน้อยมาก ๆ ด้วยจำนวนข้อสอบถึง 200 ข้อแต่มีเวลาสอบแค่ 120 นาทีเท่านั้นเองดังนั้นการบริหารจัดการเวลาระหว่างสอบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ และถ้าต้องการสอบให้ได้คะแนนสูง ๆ นั้นแน่นอนว่ายิ่งต้องเตรียมตัวก่อนสอบไปให้ได้มากที่สุดซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าถ้าเตรียมตัวไปดี ๆ การได้คะแนน 600 คะแนนขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปอย่างแน่นอน.รายละเอียดของข้อสอบแต่ละส่วนและข้อแนะนำการเตรียมตัวไปสอบส่วนที่ 1; การฟัง (Listening Comprehension) จำนวน 100 ข้อ เวลาสอบ 45 นาที คิดเป็น 495 คะแนนในส่วนแรกของการสอบจะเป็น การฟัง (Listening Comprehension) ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ส่วนย่อยโดยทุกข้อจะมีการพูดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นและจะมีการเว้นให้ฝนคำตอบไม่กี่วินาทีและจะไปข้อต่อไปเลยไม่มีการเปิดซ้ำ.การฟัง (Listening Comprehension) จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนย่อย คือPart 1. Photographs มี 6 ข้อแต่ละข้อจะมีภาพมาให้ 1 ภาพและจะมีเสียงอ่านตัวเลือก 4 ข้อให้เราเลือกข้อที่บรรยายได้ตรงกับภาพมากที่สุดในส่วนนี้จะเห็นว่ามีแค่ 6 ข้อถ้าเราฟังข้อไหนไม่ทันก็ให้ไปตั้งสมาธิทำข้อต่อไปเลยอย่ามัวไปจมกับแต่ละข้อนานนะ.Part 2. Question-Response มี 25 ข้อแต่ละข้อคำถามและตัวเลือกจะเป็นเสียงทั้งหมดโดยคำถามจะเป็นเสียงคำถามสั้น ๆ และตามด้วยเสียงตัวเลือก 3 ข้อซึ่งเราต้องเลือกตอบให้ถูก. ส่วนนี้ขอแค่เราฟังออกก็ตอบได้เลยเพราะไม่ต้องมาคิดซ้อนหลายชั้นส่วนใหญ่คำตอบที่ถูกก็จะตรงกับคำถามที่ข้อสอบถามมาเลย.Part 3. Short Conversations มี 39 ข้อเป็นบทสนทนาสั้น ๆ ระหว่างคน 2-3 คนหลายบทความโดยแต่ละบทความก็จะมีคำถาม 3 ข้อโดยแต่ละข้อจะมีเสียงอ่านโจทย์แต่ละข้อ. พาร์ทนี้ต้องมีสมาธิดี ๆ ในแต่ละบทความเพราะถ้าหลุดจะเสียบทความละ 3 ข้อเลยทีเดียว.Part 4. Short Talks มี 30 ข้อเป็นเสียงประกาศตามสถานการณ์หรือสถานที่ต่าง ๆ โดยมีผู้พูดคนเดียวแต่ละประกาศจะมีคำถาม 3 ข้อ. พาร์ทนี้ต้องมีสมาธิดี ๆ เช่นเดียวกันในแต่ละเสียงประกาศเพราะถ้าหลุดจะเสียเสียงประกาศละ 3 ข้อเลยทีเดียว.การเตรียมตัวสำหรับส่วนการฟังนั้นแน่นอนว่าผู้เขียนแนะนำให้ต้องฝึกฟังให้เยอะ ๆ เข้าไว้เพราะขอแค่เราพอฟังออกอาจจะไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ก็ทำให้เราทำข้อสอบได้หลายข้อแล้ว ตอนที่ผู้เขียนสอบนั้นก็ไม่ได้ฟังออกหมดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เป๊ะซึ่งผู้เขียนก็ทำคะแนนได้ไม่ได้เยอะแต่ก็ไม่ได้แย่มากนัก แน่นอนว่าถ้าเราฝึกฟังมาบ่อย ๆ ทั้งจากแนวข้อสอบ TOEIC หรือฟังจากช่องทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตอนมาทำข้อสอบจริงเราก็จะพอฟังรู้เรื่องอยู่และถ้าเราฟังออกการเลือกคำตอบที่ถูกก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากมากนัก.ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุดในส่วนการฟังที่ต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจเลยก็คือถ้าข้อไหนที่ฟังแล้วเราลังเล ไม่แน่ใจหรือไม่ว่าอะไรก็ตามให้เราฝนคำตอบไปเลย แล้วตั้งสมาธิเตรียมที่จะฟังข้อต่อไปทันที ห้ามมัวนั่งคิดอยู่ไม่ยอมฝนเพราะว่าเมื่อข้อต่อไปขึ้นมาแน่นอนว่าเราไม่มีสมาธิจะฟังเราก็จะฟังไม่รู้เรื่องและก็จะทำข้อถัดไปไม่ได้อีก. อย่างที่บอกว่าขอแค่เราพอฟังออกก็จะมีโอกาสสูงมากที่จะตอบได้ดังนั้นเราควรโฟกัสไปที่การฟังในแต่ละข้อให้มากที่สุดถ้าเราฟังแล้วไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้คำตอบก็ให้ฝนเลือกไปเลยแล้วเตรียมทำข้อต่อไปทันที.ส่วนที่ 2; การอ่าน (Reading Comprehension) จำนวน 100 ข้อ เวลาสอบ 75 นาที คิดเป็น 495 คะแนนพาร์ท Reading มีทั้งหมด 100 ข้อซึ่งมีเวลาทำแค่ 75 นาที จะเห็นได้ว่าเราต้องอ่านบทความต่าง ๆ ทั้งสั้นและยาวหลายบทความเพื่อตอบคำถาม 75 ข้อในเวลาแค่หนึ่งชั่วโมงนิด ๆ เท่านั้นซึ่งต้องบริหารเวลาให้ดีมาก ๆ เลย.การอ่าน (Reading Comprehension) จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนย่อย คือPart 1. Incomplete Sentences มี 30 ข้อแต่ละข้อจะให้เติมคำในช่องว่างโดยจะมีตัวเลือกข้อละ 4 ตัวเลือกด้วยกันPart 2. Text Completion มี 16 ข้อเป็นประกาศหรือบทความสั้น ๆ โดยแต่ละประกาศหรือบทความจะเว้นช่องว่างไว้ 4 จุดซึ่งก็คือ 4 ข้อนั่นเองแต่ละข้อเราก็ต้องเลือกตัวเลือกที่เมื่อนำไปเติมแล้วจะทำให้ประโยคถูกต้องสมบูรณ์นั่นเอง.การเตรียมตัวสำหรับส่วนการอ่านใน 2 ส่วนแรกนี้นั้นผู้เขียนแนะนำให้ฝึกทำข้อสอบที่เป็นแนวข้อสอบ TOEIC จริง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยให้อ่านหลัก Grammar และคำศัพท์ที่ออกสอบบ่อย ๆ ใน TOEIC มาคร่าว ๆ ก่อนและลองทำข้อสอบจริงเยอะ ๆ ไปเลยเมื่อทำเสร็จก็ตรวจดูว่าเราตอบถูกมั้ยถ้าผิดผิดยังไง เพราะยิ่งเราทำเยอะเราจะเริ่มจับ pattern บางอย่างได้ว่าจุดที่ผิดมันจะเป็นแบบนี้และเป็นการผิดแบบไหนและถ้าเป็นคำศัพท์ถ้าเราเจอบ่อย ๆ รับรองว่าเราจะจำได้อย่างแน่นอน.ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุดในส่วนนี้ก็คือเรื่องเวลาเช่นกัน (จริงๆเรื่องเวลาสำคัญกับทุกส่วนเลยนะ) ผู้เขียนแนะนำว่าแรกสุดเมื่อเราเห็นข้อสอบแต่ละข้อให้เราทำการแบ่งประโยคเลยว่าตัวไหนเป็นประธาน, กริยา, กรรม, adjective, adverb เมื่อเราแบ่งได้แล้วว่าตัวไหนคืออะไรและถ้าเราทำข้อสอบมาเยอะ ๆ บางข้อเราจะรู้ได้ทันทีว่าจุดนี้มันผิดนี่ ซึ่งก็ให้เรารีบฝนและไปข้อต่อไปเลยในส่วนข้อที่วัดคำศัพท์ถ้าเราทำข้อสอบมาเยอะ ๆ และมีคลังคำศัพท์เยอะรับรองว่าก็จะทำได้หลายข้อเลย.ผู้เขียนก็แนะนำให้เราทำไปให้หมดทุกข้อก่อนถ้าเวลาเหลือค่อยกลับมาทวนอย่าไปมัวจมอยู่กับข้อนึงนาน ๆ เพราะข้อที่ง่าย ๆ ก็มีอยู่ถ้าเรามัวจมอยู่กับบางข้อนานแล้วยิ่งเวลาเหลือน้อยก็จะยิ่งทำให้เราลนจนอาจทำผิดหลายข้อทั้ง ๆ ที่บางข้ออาจจะไม่ยากเลย.Part 3. Reading Comprehension มี 54 ข้อแบ่งเป็น บทความเดี่ยว (Single Passage) 29 ข้อ จะเป็นบทความสั้น ๆ ให้อ่านแล้วหาคำตอบ บทความคู่ (Double Passages) 10 ข้อ จะมีบทความ 2 อันมาให้อ่านเวลาหาคำตอบก็ต้องดูควบคู่กันทั้งสองบทความ และ บทความ 3 ส่วน (Triple Passages) 15 ข้อ มีบทความมาให้ 3 ส่วน เวลาหาคำตอบก็ต้องดูควบคู่กันไปบางข้ออาจจะต้องหาข้อมูลจากส่วนที่ 1 กับ 2 บางข้ออาจะต้องหาข้อมูลจากส่วนที่ 1 กับ 3 เป็นต้น.การเตรียมตัวสำหรับส่วน Reading Comprehension นั้นแน่นอนว่าเราก็ต้องฝึกอ่านให้เยอะจนแบบที่ว่าอ่านแล้วต้องไม่มาแปลเป็นภาษาไทยในหัวอยู่อีกเพราะถ้ามัวมาแปลอยู่อีกแบบนั้นมีโอกาสสูงที่จะทำไม่ทันแน่นอน. ซึ่งการฝึกอ่านแบบไม่แปลในหัวอาจฟังดูยากแต่ถ้าเราฝึกอ่านสิ่งต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันเวลาเราเจอประโยคหรือคำซ้ำ ๆ เราก็จะรู้ไปเองเลยแบบไม่ต้องมามัวแปลและทำความเข้าใจเป็นภาษาไทยอยู่อีก แน่นอนว่าก็ควรฝึกอ่านจากสิ่งที่เราชอบเยอะ ๆ และเดี๋ยวเราก็จะชินและอ่านได้โดยไม่ต้องแปลเป็นภาษไทยก่อนได้.ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุดในส่วน Reading ก็คือเรื่องเวลาเช่นกัน (อีกแล้ว) ผู้เขียนแนะนำว่าในแต่ละบทความจะมีข้อที่ง่ายมาก ๆ อยู่ให้หาข้อนั้นให้เจอและรีบตอบให้ได้โดยมันจะมีข้อที่ยากและต้องใช้เวลาหาคำตอบนาน ผู้เขียนแนะนำให้ข้ามไปทำบทความต่อไปเลยโดยหาข้อที่ง่ายก่อนเช่นเดิมในรอบแรก ๆ ที่สอบผู้เขียนก็ชอบที่จะทำให้เสร็จไปทีละข้อทีละบทความโดยในบางบทความผู้เขียนก็เสียเวลาไปหลายนาทีกว่าจะหาคำตอบเจอซึ่งถึงแม้จะเป็นข้อที่ตอบถูกแต่การที่เราเสียเวลาไปเยอะมากจนอาจจะทำหลายข้อด้านหลังไม่ทันก็จะส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้ ให้นึกไว้ว่าเราไม่ได้มาทำจะเอาคะแนนแบบเต็มเลยซึ่งถ้าได้เต็มมันก็ดีแต่ถ้าเรายังไม่เก่งขนาดนั้นก็ต้องวางแผนต้องบริหารเวลาให้ดีขอแค่บรรลุเป้าหมายคะแนนที่เราต้องการมาให้ได้ถ้าเรามัวไปคิดว่าทุกอย่างต้องเพอร์เฟคเราต้องกาคำตอบข้อนี้ให้ได้ไม่งั้นจะไม่ไปทำข้ออื่นการทำแบบนั้นจะยิ่งส่งผลเสียมากกว่าผลดีแน่นอน. โดยคนที่เก่งมาก ๆ นั้นผู้เขียนมองว่าเขาก็ไม่ได้ใช้เวลาในการทำแต่ละข้อนานเพียงแต่ว่าเขามีความรู้ ความคุ้นชินชนิดที่อ่านแล้วคิดแล้วรู้คำตอบแล้วฝนเลยเพราะคนเก่ง ๆ ก็มีเวลาสอบเท่าเรานี่แหละนะ.เรื่องควรรู้ก่อนวันสอบจริง1.) วางแผนเรื่องการบริหารเวลาให้ดีที่สุดคิดไว้เสมอว่าต้องได้ฝนคำตอบครบทุกข้อและจะไม่จมอยู่กับแต่ละข้อนาน อาจจะเตรียมนาฬิกาข้อมือใส่ไปด้วยแต่วันสอบจริงก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยบอกเวลาแต่อาจจะไม่บ่อยเท่าที่เราต้องการตรงนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนเลยขอแค่บริหารเวลาดี ๆ อย่าไปลนในห้องสอบเด็ดขาด.2.) ถ้าเราพอจะรู้คำตอบแล้วถึงไม่มั่นใจมากก็ให้ฝนไปเลยเพราะเราจะไม่สามารถย้อนไปทำพาร์ทก่อนหน้าได้ เช่น เราทำข้อสอบพาร์ท Reading ซึ่งเป็นพาร์ทสุดท้ายเสร็จก่อนหมดเวลาแล้วคิดว่าย้อนกลับไปทำหรือทวนข้อสอบพาร์ท Listening ดีกว่า ทำแบบนั้นไม่ได้เลยนะเพราะเราจะต้องทำให้เสร็จเป็นพาร์ท ๆ ไปจะย้อนกลับไปทำพาร์ทก่อนหน้าไม่ได้ถ้ากรรมการคุมสอบเห็นอาจจะโดนลงโทษได้.3.) พักผ่อนให้เพียงพอ เข้าห้องน้ำ กินอาหารหรือทำอะไรให้เราสบายตัวมากที่สุดก่อนเข้าห้องสอบเพราะว่าเราก็เสียตังค์เป็นพันมาสอบและเตรียมตัวอ่านหนังสือมาตั้งนานแต่ถ้าเรามากังวลหรือเกิดอะไรที่ทำให้เราไม่มีสมาธิตอนสอบสิ่งที่เราทำมาก็อาจจะสูญเปล่าไปก็ได้ ไม่ต้องกังวลว่าเราจะผ่านหรือไม่ผ่านให้ทำให้เต็มที่ถ้าไม่ผ่านเราก็จะได้รู้ว่าขาดคะแนนตรงส่วนไหนเราจะได้กลับมาเตรียมตัวได้ถูก เช่น คะแนนพาร์ท Listening ค่อนข้างต่ำ แต่คะแนน Reading พอจะโอเคแล้วเราก็สามารถกลับมาเน้นในการเตรียมตัวพาร์ท Listening ได้.4.) ผู้สอบควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเวลาสอบในแต่ละรอบสอบเพราะจะต้องมีมาลงทะเบียนอะไรต่าง ๆ ก่อนเข้าห้องสอบด้วยและต้องอย่าลืมนำบัตรประชาชนตัวจริงมาสอบด้วยนะ.สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอให้ทุกคนที่กำลังจะไปสอบเชื่อมั่นในตัวเองเข้าไว้ไม่ว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดทำให้เต็มที่ของเราก็พอ ถ้าเราไม่ผ่านก็แค่กลับมาตั้งหลักแล้วลุยต่อ ชีวิตแต่ละคนก็มีทั้งช่วงที่ดีและแย่เราไม่ควรที่จะกดดันตัวเองจนเสียความเชื่อมั้่นในตัวเองเพราะถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตัวเองและยอมแพ้ในตัวเราเองแล้วนั้นก็ยากที่เราจะทำอะไรให้สำเร็จได้. ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าทุกคนเตรียมตัวไปดี ๆ และสู้ไม่ถอยก็จะได้คะแนนดังที่หวังไว้อย่างแน่นอน.เครดิตภาพภาพหน้าปก Canva template by Neng-Studioรูปประกอบโคยครีเอเอตอร์ Artery เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !