ในโลกใบนี้มีกลไกตลาดอยู่ ซึ่งเกิดมาจากการแลกเปลี่ยน-ซื้อขายสินค้าและบริการกัน โดยในสมัยก่อนนั้นจะใช้สิ่งของเป็นตัวแลกเปลี่ยน เช่น อ้อยแลกกับปลา แต่ในปัจจุบันจะใช้เงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนทำให้มูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้แต่อย่างไรก็แล้วแต่ในการซื้อขายย่อมมีผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งแต่ละคนจะมีราคาและความต้องการที่แตกต่างกันทำให้ราคาของสินค้าจะเกิดการผันผวนกันได้ เนื่องจากว่ามักจะมีปัญหาเรื่องของราคาที่สูงหรือน้อยเกินไป จนปริมาณสินค้าและคุณค่าสินค้าหายไป จึงมีการปรับราคาให้สมดุลมากที่สุดโดยใช้กลไกราคา1. อุปสงค์ (Demand) หมายถึงปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อขาย กล่าวง่ายๆว่าเป็นความรู้สึกของผู้ซื้อนั่นเอง ทำให้เมื่อของแพงขึ้น ผู้ซื้อก็ไม่ค่อยอยากจะซื้อ แต่ถ้าของถูกลง ผู้ซื้อก็จะรีบซื้อไว้ในปริมาณมากนั่นเองเมื่อสินค้ามีราคาลดลง เช่น การติดป้ายลดราคา จะทำให้อุปสงค์ของผู้ซื้อหรือความต้องการในการซื้อสินค้าชิ้นนั้นก็จะมากขึ้นด้วย ซึ่งสามารถนำไปเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณอุปสงค์ได้ดังนี้เส้นอุปสงค์ ก็มีแนวโน้มลดลง ซึ่งเกิดจากการผันผวนระหว่างราคากับปริมาณความต้องการของผู้ซื้อ2. อุปทาน (Supply) หมายถึงปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการจำหน่ายหรือผลิต กล่าวง่ายๆว่าถ้าสินค้าราคาแพง ผู้ขายก็ต้องการขายออกเพื่อเอากำไร แต่ถ้าสินค้าราคาตก ผู้ขายก็ไม่อยากจะเอาไปขายมากนักเท่าไหร่เมื่อสินค้าที่ตนขายมีราคาสูงขึ้น ผู้ค้าก็ต้องการจำหน่ายสินค้าออกไป เพื่อหวังกำลังมากๆ ทำให้เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น อุปทานของผู้ค้าก็มีค่าสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งสามารถนำไปเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณอุปทานได้ดังนี้เส้นอุปทาน จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการแปรผันโดยตรงระหว่างราคากับปริมาณความต้องการขายของผู้ค้าจากอิทธิพลของอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกิดกลไกราคาเกิดขึ้น ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่พอดี จะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณอุปสงค์มีค่าเท่ากันกับปริมาณอุปทานจากกราฟกลไกราคานั้น จุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกันเรียกว่า จุดดุลยภาพ (Equilibrium's point) หรือจุด E ซึ่งเป็นจุดที่มีราคาเหมาะสมมากที่สุด ทำให้ปริมาณสินค้ากับปริมาณการซื้อขายพอดีกันบริเวณที่ต่ำกว่าจุด E จะมีราคาตกต่ำทำให้ใครๆก็อยากซื้อ จึงเกิดปรากฎการณ์ "สินค้าขาดตลาด"บริเวณที่สูงกว่าจุด E จะมีราคาแพงทำให้สินค้าจำหน่ายออกยาก จึงเกิดปรากฎการณ์ "สินค้าล้นตลาด"สรุปแล้วกลไกราคาก็คือระบบในการตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองได้ ด้วยลักษณะนิสัยของผู้ซื้อและผู้ขายที่ต้องการผลประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุด ดังนั้นการที่สินค้าหรือบริการใดๆจะอยู่รอดในตลาดได้นั้น จะต้องหาราคาที่เหมาะสมเพื่อให้ปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานใกล้เคียงกัน จึงจะทำกำไรให้แก่ร้านค้าและมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อได้อย่างมีคุณภาพ แต่ด้วยลักษณะของนิสัยผู้ซื้อที่มีมาอยู่แล้ว กลไกราคาก็เป็นสิ่งที่ถูกค้นพบขึ้นเพราะมนุษย์ก็ต้องปรับตัว ปรับราคาให้ดีตั้งแต่แรกอยู่แล้วเครดิตภาพภาพปกโดยนักเขียนภาพประกอบที่ 1 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 2 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 3 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 4 โดยนักเขียนภาพประกอบที่ 5 โดยนักเขียน7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์