เมื่อจะพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ ที่เป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชียแล้ว คงจะหนีไม่พ้นโรงเรียนชั้นนำของกรุงมะนิลา เป็นวิทยาลัยหนึ่งที่ชื่อว่า เซียน่า ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยดีที่สุดอันดับที่ 16 ของภูมิภาคในปี 2020 จัดอันดับโดย usnews.comข้อมูลของ วิทยาลัย Siena : เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนในระบบของ Catholic Dominican Education หรือที่เราเรียกว่าเป็น ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกปี 1958 เริ่มก่อตั้งโดย คุณแม่อธิการ Natividadpilgpil, O.P.ปี 1959 มีนักเรียนเมื่อเปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา รวม 500 คนปี 1972 เริ่มเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี Degree program Terminal Course and ladder type นอกจากนี้แล้วยังมีหลักสูตร Individualize Group Education หลักสูตรเฉพาะบุคคลปี 1980 เปิดหลักสูตร Catholic Schools System Dev. Programปี 2009 เตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของศาสนา ประเทศชาติและของครอบครัว โดยการจัดการศึกษา Catholic Dominicanปี 2010 เปิดสาขาใหม่เพิ่มเติม เช่น คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, ชีววิทยา, วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ และการศึกษาพิเศษซึ่งช่วงแรกเปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเท่านั้น ต่อมาในปี 1972 จึงเพิ่มหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรีระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ : ระดับที่สูงกว่ามัธยมนั้นจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาทักษะและการศึกษาด้านเทคนิคซึ่งยังมีหน้าที่ปฐมนิเทศ ให้การฝึกอบรมและการพัฒนาด้านทักษะอาชีพแก่เยาวชนที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนและผู้ใหญ่ที่ว่างงาน นอกจากนี้ประเทศฟิลิปปินส์ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษา วิชาหลัก เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จะสอนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่น ๆ จะสอนเป็นภาษาฟิลิปปินส์ระดับปฐมวัยหรือเตรียมประถมศึกษา รับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-4 ปีระดับประถมศึกษา ใช้เวลาศึกษาภาคบังคับ 6 ปีในโรงเรียนของรัฐบาล หรือ 7 ปีในโรงเรียนของเอกชนระดับมัธยมศึกษา ใช้เวลา 4 ปีระดับหลังมัธยมศึกษา แบ่งเป็นหลักสูตรอาชีวศึกษาหลักสูตรอุดมศึกษา ใช้เวลา 2-3 ปีพิกัด : Siena College Del Monte Avenue, Quezon CityGoogle maps: คลิกค่าเล่าเรียน : ยังคงในเรทของโรงเรียนเอกชนทั่วไป โดยอัตราไม่เหมือนกันสำหรับผู้เรียนคนฟิลิปปินส์และต่างชาติ ข้อมูลอัตราค่าเล่าเรียน แต่ละระดับ ตั้งแต่มัธยมโดยมัธยมก็จะมีห้องเรียนปกติ ห้องเรียนเฉพาะตามสาย จนถึงระดับถึงปริญญา โดยระดับปริญญาก็จะมีความแตกต่างด้านสาขาวิชาไม่เหมือนกัน ราคาจึงไม่เหมือนกัน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันซึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี เว็บไซต์วิทยาลัย: siena.eduข้อมูลในการเข้าเรียนของนักเรียนไทย หรือชาวต่างชาติ : ในระดับปริญญาตรี 70,000-80,000 เปโซ หรือ 44,000-50,300 บาทไทยนั่นเอง (ถึงเป็นสถาบันเอกชนแต่ที่นี่ก็มีการสอบเข้าด้วยนะจ๊ะ ภาคเรียนที่ 1 จะเข้าเรียนในช่วง กรกฎาคม)ความพิเศษของวิทยาลัยแห่งนี้ :ประเทศฟิลิปปินส์ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ซึ่งทำให้นักเรียนรู้สึกชินกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ทำให้วิทยาลัยนี้ นักเรียนต่างชาติ หรือนักเรียนในประเทศ ก็คุ้นเคยภาษาอังกฤษและสามารถสื่อสารได้ ส่งผลให้การสอบวัดระดับต่าง ๆ มีคุณภาพระดับสากลวิทยาลัยเซียนา เกิดจากแรงบันดาลใจของโดมินิกันในเรื่องความจริงและความเมตตาต่อมนุษยชาติ เพื่อเป็นชุมชนสาวกของพระเยซู ในการพัฒนามนุษย์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกพันธกิจ การปลูกฝังบุคคลให้เป็นผู้ที่ได้รับการฝังรากหยั่งลึกใน พระวจนะและตอบสนองความต้องการ ของคริสตจักรทั้งต่อประเทศ ครอบครัวและสภาพแวดล้อม ผ่านการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันในการศึกษาแบบคาทอลิกที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21ภายในห้องเรียน มีโต๊ะเก้าอี้ที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ซึ่งสังเกตว่าไม่ได้มีปริมาณมากเกินความพอดี นักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยประถม และมัธยมจะถูกดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนมากกว่าจำนวนนักเรียนต่อห้องที่มากเกินไปและทำให้การดูแลไม่ทั่วถึงห้องปฏิบัติการ อาทิ ห้องคอมพิวเตอร์ ที่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถพับเก็บหน้าจอเพื่อใช้งานในรูปแบบโต๊ะเขียนหนังสือใช้ได้แบบอเนกประสงค์ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ห้องอาหาร ห้องพัก ห้องเรียนทำอาหาร บาร์เครื่องดื่ม เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้านวิชาชีพ ภายในบริเวณโรงเรียนยังมี สถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมพิเศษ เช่น โบสถ์เซียนา ห้องสวดมนต์ เซียน่า ฮอลล์ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น โรงยิม สวนผีเสื้อ เรียกได้ว่าครบมาก ๆ และนอกจากนี้ก็มีห้องระบายอารมณ์ด้วย เป็นห้องที่เก็บเสียง ให้ที่ให้เรียนที่มีคดีทะเลาะกันได้เข้าไปสงบสติอารมณ์ในห้องนี้ความประทับใจจากการได้ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นี้คือ : การศึกษาประเทศเขาเปิดกว้างมากจริง ๆ ไม่เพียงแต่นักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในช่วงวัยเรียนเท่านั้นที่ได้มาศึกษา ผู้ใหญ่ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ ซึ่งการเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนในโรงเรียนปกติ โดยการจัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพวกเขา และเปิดโอกาสให้บุคคลที่ขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียน โดยมีความยืดหยุ่นของเวลาในการเรียน เช่น ในช่วงเย็นหลังเลิกงาน โดยการสนับสนุนของทางภาครัฐ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการเรียนต่อในสายอาชีพ และสายสามัญ ประโยชน์ที่ได้รับ : จากการไปศึกษาดูงานที่นี่เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องการศึกษาถึงระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ว่าทำไมถึงไปไกลและมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ จากการที่ผู้เขียนได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์แล้ว การสอนของเขาดีมาก เน้นเรื่องคุณภาพของเด็กเป็นสำคัญจริง ๆ และครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ก็มีสำเนียงที่ค่อนข้างดี จนถึงระดับดีมาก ไม่เร็วเกินไป ครูบางคนพูดได้เหมือนเจ้าของภาษาเลย ก็มีการมาสอนที่โรงเรียนรัฐบาลและเอกชนในประเทศไทยเยอะ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมด้านภาษาเขาเก่งมาก ประโยชน์ที่ได้รับคือเราสามารถนำการเรียนของประเทศเขามาปรับใช้ในประเทศไทยได้ เช่น การจำกัดผู้เรียนจำนวนต่อห้อง และการที่วิทยาลัยเขาเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนที่เป็นเด็กพิเศษให้ศึกษาต่อระดับปริญญาและที่มากไปกว่านั้นคือมีหลักสูตรรองรับให้ได้ศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีด้วย ให้กับผู้เรียนที่ 1. สมาธิสั้น 2. ASD 3. พิการทางสติปัญญา 4. บกพร่องทางการเรียนรู้ 5. ปัญหาทางอารมณ์ / พฤติกรรม เรียกได้ว่าเป็นการฝึกฝนเด็กที่มีข้อจำกัดให้มีการเรียนรู้เฉพาะทางสิ่งที่ดี ของประเทศฟิลิปปินส์ ที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษาในประเทศไทยหากมีโอกาส ในความคิดเห็นของผู้เขียนมีดังนี้ :การปรับหลักสูตรเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของนักเรียน เช่น ให้นักเรียนไทยได้กล้าแสดงออก ส่งเสริมการแสดงออกด้วยการให้กล้าคิดกล้าทำ และการมีส่วนร่วมในการเลือกหลักสูตรที่สนใจ มากกว่าระบบการศึกษาภาคบังคับ ที่บังคับเรียนทุกรายวิชา ที่มันมากเกินไป โดยดูที่ความถนัดเฉพาะบุคคลเป็นหลักการส่งเสริมการเรียนแบบทวิศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ทั้งในสายสามัญและสายอาชีพ (สนับสนุนทางด้านการเป็นผู้ประกอบการเพื่อที่จะ กล้าคิด กล้าลงมือทำ และเสริมยอดจากต้นทุนที่ตนเองมี)การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม พัฒนาทักษะการอ่านให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ซึ่งจากการศึกษาแล้วพบว่า ประเทศฟิลิปปินส์จะมีส่งเสริมให้เด็กนักเรียน ได้อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน อย่างน้อย ๆ เลยต้อง 2 เล่มขึ้นไป ใน 1 ปีการศึกษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายปีก่อน มีวิทยากรเป็นอาจารย์จากประเทศฟิลิปปินส์ได้มานำเสนอการประชุมวิชาการกับประเทศไทยที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park เกี่ยวกับพฤติกรรมการรักการอ่านของนักเรียนประเทศฟิลิปปินส์มาแล้ว (อ้างอิง คลิก) ซึ่งการนำเสนอการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ผู้เขียนสรุปได้ว่า : การจัดโปรแกรมการอ่านของประเทศเขา มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการจดจำ, พัฒนาการคำศัพท์, ความเข้าใจ, การชื่นชมวรรณกรรม และทักษะการศึกษา ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมรักการอ่าน สามารถอ่านวรรณากรรมได้ทั้งภาษาตนเองและภาษาอังกฤษ มีความรอบรู้จากการอ่านในเรื่องรอบตัว รอบโลก ที่ไม่ใช่อ่านเฉพาะแค่ในหนังสือเรียนหรือหนังสือแนววรรณกรรมอีกด้วย*ภาพทั้งหมดถ่ายโดยผู้เขียน