ในประเทศไทยนั้นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดก็คือน้ำท่วม มีจังหวัดที่ต้องเจอกับความเสียหายอยู่เกือบทุกปี ซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นในทุกๆปี โดยความเสียหายที่เกิดไม่เพียงแต่เกิดเฉพาะกับชีวิตหรือทรัพย์สินของประชาชน แต่ยังส่งผลถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย การจัดการกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ เราคงไม่สามารถป้องกันให้ไม่เกิดความเสียหายได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน แต่จะทำยังไงให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุดต้องเป็นอะไรที่ดีกว่าแน่นอนถ้าเราสามารถรับรู้ได้ถึงภัยน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นเสียอีก เราจะใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียม (Remote Sensing) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพอย่างมากต่อการจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ คาดการณ์ และทำแบบจำลองในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วม เป็นการจัดทำแบบจำลองทางภูมิประเทศให้เป็นในภาพกว้างทั้งเชิง 2 มิติ หรือ 3 มิติ (Digital Elevation Model: DEM) ทำให้สามารถกำหนดข้อจำกัด และทางเลือกแบบต่างๆเพื่อเตรียมการป้องกัน และเตือนภัยให้ทันต่อเหตุการณ์และเวลาขั้นตอนในการจัดการปัญหาน้ำท่วม คือเราจะคำนึงถึง 4 ข้อหลักๆอย่างแรกคือ การป้องกัน (Prevent) จะทำการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ก่อน และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติของการเกิดภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างแบบจำลองต่อด้วยการเตรียมการต่างๆ (Preparation) โดยการนำข้อมูลที่เรามีมาวิเคราะห์ ประเมิน และระบุสถานที่ เวลา หรือความรุนแรงของภัยน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น โดยนำระบบ GIS และ Remote Sensing มาจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อคำนวณสภาพน้ำฝน และทำการจัดทำ แผนที่หรือแบบจำลองความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม เพื่อไว้เตือนภัยประชาชน ซึ่งในช่วงวิกฤต (Crisis) จะมีการปฏิบัติการเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้ว เพื่อที่จะประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้เร็วที่สุด และกำหนดแนวทางในการช่วยเหลือ รวมถึงกระจายข่าวสารไปอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และในตอนสุดท้าย จะต้องทำการประเมินความเสียหายหลังเกิดวิกฤต (Post-Crisis Assessment) เพื่อวางแผนในการฟื้นฟูในส่วนที่เสียหายต่างๆ และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในการป้องกันระยะยาวที่ดำเนินการอยู่แล้วอย่างต่อเนื่องเราใช้ข้อมูลของสถิติน้ำท่วมที่เกิดก่อนหน้านี้มาสร้างแบบจำลอง โดยใช้ระบบ GIS และ RS เข้ามามีบทบาท และทำการคาดการณ์ เตือนภัยให้ประชาชนรับรู้ก่อนทั้งขอบเขตและปริมาณความเสียหาย เพื่อที่จะอพยพได้ทันและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพภาพที่ 1 โดย terimakasih0 / จาก Pixabayภาพที่ 2 โดย Hans / จาก Pixabayภาพที่ 3 โดย TiagoBaldasso / จาก Pixabayภาพที่ 4 โดย hitesh choudhary / จาก pexelsภาพปก โดย qimono / จาก Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !