ในเวลาที่เราอยู่บ้านช่วงนี้นอกจากการเสพข่าวในแต่ละวัน ต้องหากิจกรรมทำเพื่อไม่ให้ชีวิตน่าเบื่อกันนะครับ วันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอกิจกรรมการเรียนออนไลน์มาให้ทุกท่านได้เพิ่มความรู้กันใน EP.2 ในครั้งนี้ ซึ่งรอบนี้เป็นบทเรียนออนไลน์ด้านศิลปากรรมศาสตร์ ถือว่าเป็นบทเรียนเกี่ยวกับศิลปะความเป็นไทย ซึ่งเป็นมรดกที่สืบสานมา เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรที่จะเรียนรู้และอนุรักษ์เอาไว้ ซึ่งวันนี้ใน EP.2 ขอเสนอ รายวิชา “นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน” กับบทเรียนออนไลน์ฟรี ! ที่ CHULA MOOC เช่นเดิมขอบคุณภาพจากเว็บไชต์ https://mooc.chula.ac.th/courses/chulamooc4009 รายวิชา “นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน” เป็นบทเรียนออนไลน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาและ ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้ศึกษา โดยภาควิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ ได้เห็นความสำคัญของการนาฎยกรรมของไทยที่ควรจะอนุรักษ์และสืบทอดให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้รู้จัก เรียนรู้เอาไว้ให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของ โขน ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขนและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องขอบคุณภาพจากเว็บไชต์ https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse/course/18372 รายวิชา “นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน” จะเป็นบทเรียนที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของโขน ตัวละคร องค์ประกอบ ประเภทหัวโขน ท่าทางในการแสดง และขั้นตอนกระบวนการจัดแสดงโขน เพื่อให้กลุ่มนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทย ซึ่งมีเนื้อหาที่ทางผู้จัดทำได้คัดสรรและจัดทำเสนอบทเรียนในรูปแบบของวีดิทัศน์ รวมทั้งหมด 12 บทเรียนดังนี้ - แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) - บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของโขน - บทที่ 2 ประเภทของโขนขอบคุณภาพจากเว็บไชต์ https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse/course/18372 - บทที่ 3 ประเภทของตัวละครในโขน - บทที่ 4 การคัดเลือกผู้แสดงโขน - บทที่ 5 องค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงโขน - บทที่ 6 หัวโขน - บทที่ 7 เครื่องแต่งกายในการแสดงโขน - บทที่ 8 ดนตรีประกอบในการแสดงโขนขอบคุณภาพจากเว็บไชต์ https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse/course/18372 - บทที่ 9 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวพระ ตัวนาง - บทที่ 10 ภาษาท่าทางในการแสดงโขน ตัวยักษ์ ตัวลิง - บทที่ 11 ชีวิตคนโขน - บทที่ 12 การขึ้นทะเบียนโขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ - แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)ภาพโดยผู้เขียน รายวิชา “นาฎยกรรมสยาม ตอน โขน” มีทั้งหมด 12 บทเรียน ซึ่งมีวัดและประเมินผลเหมือนรายวิชาทั่วไป โดยจะมีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 50 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านหน้าเว็บที่เราเรียนได้เลย ผู้เขียนได้เรียนมาแล้ว เป็นบทเรียนที่น่าสนใจมาก จึงอยากจะเล่าประสบการณ์และเชิญชวนให้ทุกท่านได้ลองไปเรียนกันในเวลาว่าง ๆ เช่นนี้ครับ และสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับแหล่งเรียน Online ฟรีอื่น ๆ ได้ โดยคลิกที่ https://bit.ly/2LI0hpwบทความ : หมอกหม่น