รวมวิธียอดฮิตลดหย่อนภาษี สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ใครมีคำถามเกี่ยวกับภาษีหรือสงสัยว่าเราถึงเวลาเสียภาษีหรือยัง และใครต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบ้าง ก่อนที่จะรู้ถึง 5 วิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา เรามาดูกันก่อนเลยว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษี และต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแล้วก็มาดูการลดหย่อนภาษีต่อได้เลยครับ 1. การบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษี เงินบริจาคทั่วไป : ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่บริจาคจริง สูงสุด 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เงินบริจาคเพื่อการศึกษา : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดบริจาค แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย เช่น ชวนมาบริจาคเพื่อการศึกษา ผ่าน connexted.org เงินบริจาคเพื่อพัฒนาสาธารณประโยชน์ : เช่น การบริจาคให้โรงพยาบาล ส่งมอบน้ำใจสู่มูลนิธิต่างๆ บริจาคผ่านแอปทรูมันนี่ 2. ค่าลดหย่อนภาษี ส่วนบุคคลและครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนตัว : ลดหย่อน 60,000 บาทต่อปีสำหรับผู้เสียภาษี คู่สมรส : ลดหย่อนเพิ่มเติม 60,000 บาท หากคู่สมรสไม่มีรายได้ บุตร : ลดหย่อน 30,000 บาทต่อบุตร 1 คน (สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป จะเพิ่มอีก 30,000 บาทต่อคน หากเกิดหลังปี 2561) บิดามารดา : ลดหย่อน 30,000 บาทต่อคน หากบิดามารดาอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 3. การออมและการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท (รวมกับกองทุนอื่นๆ เช่น LTF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันบำนาญ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) : ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่นายจ้างจ่ายสมทบ ไม่เกิน 15% ของรายได้ ลดหย่อนภาษีผ่าน ทรูมันนี่ หุ้นสามัญ (SSFX) : ในกรณีมีการส่งเสริมพิเศษ สามารถลดหย่อนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เงินสะสมกองทุนประกันสังคม : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท 4. เบี้ยประกันสุขภาพและชีวิต เพื่อลดหย่อนภาษี ประกันชีวิต : ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 100,000 บาท (กรมธรรม์ต้องมีอายุสัญญา 10 ปีขึ้นไป) ประกันสุขภาพบิดามารดา : ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท แต่รวมกับค่าลดหย่อนประกันชีวิตอื่นๆ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสุขภาพของตัวเอง : ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท แต่รวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท 5. มาตรการพิเศษจากภาครัฐ เพื่อลดหย่อนภาษี เที่ยวเมืองรอง : มาตรการลดหย่อนภาษีปี 2567 เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด สามารถนำค่าที่พักที่จ่ายจริง มาลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ การลดหย่อนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย : ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด รีวิวสรุปประสบการณ์ลดหย่อนภาษี บริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีในปีนี้ผมบริจาคผ่าน connexted.org บริจาคเพื่อการศึกษา หลังจากเราเลือกโครงการที่ต้องการบริจาคแล้วให้ทำตามขั้นตอนใส่จำนวนเงินที่ต้องการบริจาค หลังจากทำรายการสำเร็จเราจะได้หนังสือ e-Donation กลับเข้ามาทางอีเมลเพียงเท่านี้ครับเราก็ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าแล้วครับ การบริจาคให้ศาสนาและสถานพยาบาลหากเราบริจาคผ่าน QR พร้อมเพย์ ที่มีสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ทันทีครับผมก็ใช้วิธีนี้ อีกหนึ่งวิธีที่ผมเรียกใช้ก็คือการซื้อประกันชีวิตครับ และทั้ง 3 วิธีที่ผมแนะนำมาเหมาะสำหรับเพื่อนๆที่เสียภาษีน้อยหากเพื่อนๆอยู่ในเกณฑ์ที่เสียภาษีมากเป็นพิเศษแนะนำให้ดูเป็นกองทุนเพิ่มเติม การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทาความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ครับ เครดิต : ภาพจากผู้เขียน ขอบคุณภาพจาก ภาพปก และพื้นหลัง จาก Canva โดย @golibtolibov ภาพการออมและการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี จาก Truemoney ภาพประกอบจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอบคุณภาพจาก : truemoney : connexted เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !