รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินถือเป็นสายรถไฟฟ้าที่สมบูรณ์ที่สุด ณ ตอนนี้ได้มีโอกาสมาทำธุระแถวสถานีรถไฟหัวลําโพง เดินทางโดยรถไฟฟ้า MRT ลงสถานีหัวลำโพง เคยเดินผ่านเห็นนิทรรศการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินที่ตั้งประจำอยู่ที่นั่นหลายครั้งแล้ว เแต่ไม่มีโอกาสได้แวะดูสักที วันนี้พอมีเวลาว่างเลยถือโอกาสเยือนนิทรรศการความเป็นมาของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินตั้งแต่เปิดใช้บริการเมื่อปี 2547 เพราะได้ข่าวมาว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ก็กำลังทดสอบการให้บริการ และจะเปิดเต็มรูปแบบครบลูปเป็นวงกลมรอบกรุงเร็ว ๆ นี้เดินมาถึงจะเห็นโซนนิทรรศการ โดยมีโลโก้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่บนเสา และด้านหน้าจะมีป้ายที่มีข้อมูลของแท่นศิลาฤกษ์ เป็นแผ่นหินอ่อนสี่เหลี่ยมที่สลักแผนผังฤกษ์ทางโหราศาสตร์ ซึ่งไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู เพราะมีลักษณะคล้ายกับที่อื่น ๆ ทุกคนน่าจะรู้จักดี แต่ถ้าใครอยากเห็นกับตาเดินไปข้างในจะเห็นบรรจุแผ่นหินแกรนิตศิลาฤกษ์จัดแสดงอยู่ โดยในป้ายได้ให้ความรู้ว่า "ในวันเริ่มต้นของการดำเนินโครงการ พสกนิกรไทย ต่างชาบซึ้งในพระบหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงวางศิลาฤกษ์ ณ บริวณสถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกว่า "เฉลิมรัชมงคล" ซึ่งมีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา" เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2542"เดินเข้าไปข้างในจะมีการจัดแสดงของสำคัญไว้ มี 2 อย่างที่ดูโดดเด่น เลือกถ่ายรูปมาให้ดู นั่นก็คือ หนังสือที่ระลึกและดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก โดยหนังสือที่ระลึก จัดทำเป็นหนังสือปกหนาอย่างดี เล่มสีทอง ด้านใน 4 สี มีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินตั้งแต่แรกเริ่มจนกระทั่งเสร็จ นับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อวงการการศึกษา เพราะผู้จัดทำและผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างได้ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปภาพและตัวหนังสือแห่งประวัติศาสตร์ เนื่องจากในยุคนั้นอินเทอร์เน็ตยังไม่ค่อยแพร่หลาย ทุกคำเขียนด้วยใจ ทุกภาพมีความหมายและสวยงาม ฉันเคยได้เปิดดูอยู่บ้างเนื่องจากทำงานที่เกี่ยวข้องและมีหนังสือเหลือให้เปิดดูเรื่องราวในตอนนั้น ส่วนดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกนั้น เป็นรูปรถไฟฟ้ามูลค่า 3 บาทต่อดวง 1 แผ่นมี 20 ดวง ราคาขายตอนนั้นน่าจะอยู่ที่ 60 บาท ผลิตจำนวนจำกัด ปัจจุบันหาซื้อที่ไปรษณีย์ไทยไม่ได้แล้ว จะมีก็แต่นักสะสมแสตมป์ที่นำมาขายเก็งกำไรถึง 2 เท่า ราคา 120 บาท นอกจากนี้ยังมีซองที่มาเป็นเซ็ทเดียวกันอีกด้วย เมื่อเดินดูจนครบแล้ว ระหว่างทางที่เดินไปสถานีรถไฟหัวลำโพง จะเห็นว่าสองข้างทางจะเต็มไปด้วยเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ด้านที่เป็นสีเหลืองจะเล่าเรื่องกี่ยวกับการเสด็จมาเยือนรถไฟฟ้าของกษัตริย์และราชวงศ์ของไทย รวมถึงราชวงศ์จากต่างประเทศ ส่วนด้านที่เป็นสีน้ำเงินจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมและการก่อสร้างจนโครงการจะเสร็จสิ้นอย่างทุกวันนี้ เดินดูไปก็ได้รับความรู้มากมาย และตระหนักว่านี่ถือเป็นความก้าวหน้าทางระบบขนส่งมวลชนที่ยกระดับชีวิตเมืองให้ดีขึ้นตามลำดับ สามารถติดตามข่าวสารรถไฟฟ้าได้ที่ 2 เพจหลัก โดยเพจของ รฟม. คือเพจ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และเพจของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินโดยตรง ชื่อว่าเพจ MRT Bangkok Metro อย่าลืมไปใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินกันเยอะ ๆ นะคะเยือนนิทรรศการความเป็นมาของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน