“เขียนแบบไหนคนถึงจะอยากอ่าน” ฟันธงได้เลยว่านี่คือคำถามสำคัญสำหรับเหล่านักเขียนทุกท่าน (Writers) โดยเฉพาะนักเขียนบนโลกออนไลน์ ที่มีคู่แข่งคอยผลิตสารพัดคอนเทนท์ออกมาอยู่แทบตลอดเวลา การแย่งนาทีสายตาของผู้อ่านให้เป็นของเราจึงนับว่าเป็นงานหินเอาการเลยล่ะค่ะ แต่หากเรามีทริคเด็ด และหมัดฮุกที่หนักพอ การส่งบทความของเราให้ไปอยู่ท่ามกลางสายตานักอ่านจำนวนมาก และผ่านหลัก SEO ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนทำไม่ได้ บทความนี้รวม 8 ทริคเด็ด เพื่อการเขียนบทความให้น่าอ่านและผ่านหลัก SEO ดันบทความให้ติดอันดับต้นๆมาฝากทุกคนกันค่ะเข้าถึงผู้อ่านจำนวนมาก ด้วยหลักการ SEO SEO ย่อมาจากคำว่า Search Engine Optimization แปลได้โดยง่ายคือ การปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ของเราจนสามารถติดอันดับต้นๆในหน้าการค้นหาได้ (Search Result) โดยการทำ SEO เปรียบเสมือนการลงทุนระยะยาว ไม่ต้องใช้ทุนยิงโฆษณา แต่จะไปเน้นกับการลงทุนในบทความ หรือคอนเทนท์คุณภาพที่ตอบโจทย์ปัญหาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแทน เช่น หากเราขายชุดเครื่องแบนนักเรียน บทความที่จะช่วยดึงลูกค้าหรือเหล่าผู้อ่านมายังเว็บไซต์ของเราก็จะต้องเกี่ยวกับชุดนักเรียน เช่น วิธีซักชุดนักเรียนให้ขาวสะอาดเหมือนใหม่ วิธีเลือกไซซ์ของชุดให้เหมาะกับรูปร่างของเด็ก เป็นต้น หลักการทำงานของ SEOเคยสงสัยกันไหมคะว่า ใครเป็นคนกำหนดว่าเว็บไซต์ต่างๆจะต้องอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ในหน้าแสดงผลการค้นหา (Search Result) คำตอบคือ Googlebot ค่ะ (ส่วนนี้ผู้เขียนขอพูดถึงกรณีของ Google เพียงอย่างเดียวนะคะ) โดย Googlebot มีขั้นตอนการทำงานหลักๆอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้1.ค้นหาและเก็บข้อมูล (Crawling) โดย Googlebot จะวิ่งไปยังเว็บไซต์หลายล้านเว็บ เพื่อเข้าไปทำความรู้จักกับเนื้อหา รูปภาพ หรือคอนเทนท์ใดๆก็ตามที่แสดงอยู่หน้าเว็บไซต์เหล่านั้น เทียบง่ายๆก็เหมือน Googlebot จะวิ่งออกไปเคาะประตูบ้าน คือ เว็บไซต์ต่างๆ ไปจนครบทุกหลัง แล้วเก็บข้อมูลเอาไว้ว่าบ้านแต่ละหลังคือบ้านของใคร ทำอะไรในบ้านบ้าง2.จัดเรียงข้อมูล (Indexing) หลังจากที่ปล่อย Bot ไปวิ่งเล่นทั่วทุกเว็บไซต์แล้วนั้น Google จะนำข้อมูลหลายล้านชุดที่ได้มาทำการจัดเรียงเอาไว้ โดยจะจับกลุ่มหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน แล้วเลือกเนื้อหาจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด (ณ ขณะนั้น) มาเป็นตัวแทนของกลุ่ม โดยใช้ปัจจัยต่างๆพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์ เช่น คุณภาพของเนื้อหาในเว็บไซต์มีความสดใหม่ เป็น Original Content หรือไม่ ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ โดยเฉพาะสมัยนี้ที่ต้องโหลดบนโทรศัพท์มือถือได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ สาเหตุนี้เองเราจึงต้องปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ของเราให้มีคุณภาพอยู่เสมอนั่นเองค่ะ3.การแสดงผลการค้นหา (Ranking) เป็นหน้าแสดงผลลัพธ์การค้นหา โดย Google จะใช้ฐานข้อมูลที่ได้จัดเรียงเอาไว้แล้ว (Index) มาแสดงผลให้ตรงกับ Keyword ที่ถูกค้นหาเข้ามาในระบบ แต่ทั้งนี้ทาง Google เองให้ข้อมูลว่านอกไปจากคะแนนจาการจัดเรียงข้อมูลแล้วนั้น ยังใช้ปัจจัยอื่นๆประกอบการพิจารณาสำหรับจัดเรียงผลอีกด้วยค่ะ เช่น หากเรากำลังเดินทางและ search ว่า “ข้าวหมูแดง” ระบบจะแสดงร้านหมูแดงที่ใกล้เรา แต่หากเราค้นหาคำนี้ตอนอยู่ที่บ้าน Google อาจแนะนำหน้าเว็บไซต์ที่สอนทำข้าวหมูแดงแทน เป็นต้น SEO ส่งผลต่อยอดการเข้าอ่านบทความของเราอย่างไร?จากหลักการทำงานของ Googlebot ทำให้เห็นได้ว่า ยิ่งเนื้อหาของเรามีคุณภาพมากเท่าไหร่ bot ก็จะยิ่งชอบและนำหน้าเนื้อหาของเราไปจัดเรียงไว้สำหรับแสดงผลการค้นหา ทำให้บทความของเรามีโอกาสติดอันดับต้นๆของการค้นหาได้ ยิ่งถูกจัดอยู่ในอันต้นๆมากเท่าไหร่ คนก็จะยิ่งคลิกเข้ามาอ่านบทความของเรามากขึ้นนั่นเองค่ะยิ่งบทความของเราถูกหลักการ SEO มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีคนเข้ามาอ่านบทความของเราได้มากยิ่งขึ้น8 ทริคเด็ด สู่บทความที่น่าอ่าน และผ่านหลักการ SEO1. หัวข้อน่าสนใจ มีชัยเป็นกว่าครึ่ง ยิ่งหัวข้อของเรามีความน่าสนใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับการตอบรับจากผู้ผ่านมากขึ้นเท่านั้นค่ะ การเลือกหัวข้อสำหรับเขียนบทความเป็นขั้นตอนการเริ่มต้นที่สำคัญและค่อนข้างยาก เพราะหลายๆครั้งผู้เขียนมักจะคิดไม่ออกว่าควรเขียนเรื่องอะไร หรือไม่มั่นใจว่าเรื่องที่ตัวเองเลือกมานั้นจะได้รับผลตอบรับที่ดีหรือเปล่า ทริคสำหรับการเลือกข้อหัวที่จะเขียน มีดังนี้ค่ะใช้ Google Trend เพื่อดูแนวโน้มการค้นหาในช่วงเวลาหนึ่งๆ ว่าเรื่องไหนกำลังเป็นที่สนใจของผู้คนในตอนนั้น ยิ่งเราเลือกเรื่องที่อิงกับกระแส ทันเหตุการณ์ ก็จะทำให้บทความมีน่าสนใจ ดูสดใหม่ดูบทความที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น ในหลายๆเว็บไซต์จะมีการจัดอันดับบทความที่ได้รับความสนใจ เราสามารถใช้ลำดับเหล่านี้เพื่อดูว่าเนื้อหาแบบไหนที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่าน แล้วนำมาใช้ปรับเข้ากับหัวข้อของบทความที่เราจะเขียนค่ะเลือกเขียนในเรื่องที่ตนเองถนัด บทความคุณภาพไม่จำเป็นต้องเป็นหัวข้อที่อยู่ในกระแสเสมอไปค่ะ การหยิบเอาสิ่งที่คุณรักและหลงไหลมาถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือก็น่าสนใจไม่ใช่น้อย เช่น คุณเป็นผู้ชำนาญและหลงรักในการเลี้ยงปลาคาร์ปมาก ก็สามารถเขียนบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาคาร์ปอย่างผู้เชี่ยวชาญ บทความก็จะดูน่าสนใจขึ้นมาได้หลายเท่าตัวเลยล่ะค่ะ ยิ่งได้เขียนในสิ่งที่เรารัก งานเขียนของเราก็จะออกมาดี มีคุณภาพแบบเน้นๆ2. วิเคราะห์ Keywordการทำ SEO กับ Keyword เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อเรามีหัวข้อที่ต้องการเขียนแล้ว งานต่อไปคือการค้นหา Potential Keyword หรือคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพสำหรับบทความของเราให้เจอ ยิ่งเราใช้คีย์เวิร์ดตรงกับคำค้นที่ผู้อ่านของเราใช้มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีโอกาสส่งบทความของเราไปสู่สายตาของผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายของเราได้มากขึ้นเท่านั้น คำถามถัดมาคือ แล้วเราจะหา Keywords ที่น่าสนใจได้จากไหนบ้าง ข่าวดีคือมีเครื่องมือสำหรับหา Keyword ที่ทั้งฟรีและดีเยอะแยะมากมายเลยค่ะ ทั้ง Google Keyword Planner / Ubersuggest หรือ SEMruch เป็นต้น Tips :เลือกใช้ Keyword ที่มีประสิทธิภาพ มีปริมาณการค้นหาที่ดี 3-5 keyword / บทความ ก็เพียงพอค่ะ หากเราใช้ keyword เยอะเกินไป เนื้อหาของเราจะยิ่งเยิ่นเย้อ หรืออาจถูกบอทจาก Google มองว่าเป็น spam ได้กระจายความหนาแน่นของ Keyword ไปให้ทั่วบทความ โดยคำหลักที่ใช้ควรอยู่ที่ 5% ไม่ใช้มากไปจนระบบมองว่าเป็น Spam และไม่น้อยเกินไปจนระบบของ Google ไม่เข้าใจจุดสำคัญที่เราต้องการจะสื่อออกไปค่ะ3. ชื่อบทความ คือรักแรกพบ เมื่อเราเลือกได้แล้วว่าบทความที่อยากเขียนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร การตั้งชื่อบทความ ให้ดูโดดเด่น น่าสนใจ นับเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ เชื่อไหมคะว่าถึงแม้เนื้อหาในทุกย่อหน้าของเราจะถูกถ่ายทอดออกมาน่าสนใจแค่ไหน แต่ถ้าชื่อเรื่องไม่ดึงดูดใจพอ บทความของเราก็มีโอกาสถูกเปิดได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับบทความอื่นๆที่มีเนื้อหาหาใกล้เคียงกับเรา แต่มีชื่อเรื่องที่ดูน่าสนใจมากกว่า ทริคการตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจ กระตุ้นยอดผู้อ่านตัวเลขมหัศจรรย์ การตั้งชื่อบทความด้วยตัวเลข หรือจำนวนข้อในบทความ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจบทความของเราได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างการตั้งชื่อโดยใช้ตัวเลข เช่น 7 ท่าออกกำลังกายเสกหน้าท้องให้แบนราบ หรือ 5 วิธีปรับชีวิตให้สุด Productive เป็นต้นใช้คำที่ดึงดูดใจ ซึ่งคำเหล่านี้จะช่วยหยุดนิ้วและดึงสายตาของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี เช่นคำว่า ฟรี ถูกที่สุด ละเอียดที่สุด จบ ครบในที่เดียว วันสุดท้าย ร้านสุดท้าย ฯลฯ คำสัญญาที่ให้กับผู้อ่าน ตัวอย่างเช่น วิธีงดหวาน หยุดนิสัยติดน้ำตาล เห็นผลภายใน 1 เดือน / 10 ข้อคิดชีวิต ที่จะช่วยปรับความคิดของคุณให้ดีขึ้น เป็นต้น การนำเอาสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับเมื่ออ่านบทความจนจบ มาเกริ่นนำในชื่อเรื่อง จะช่วยให้ผู้อ่านพอจะทราบคร่าวๆได้ว่าเนื้อหาในบทความเกี่ยวกับอะไร หากตรงกับความสนใจก็จะคลิกเข้ามาอ่านได้ง่ายขึ้น ตั้งชื่อบทความเชิงคำถาม เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่าน เช่น ทำไมการงีบหลับระหว่างวัน ถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ ?ใช้ Keyword หลักมาเป็นส่วนหนึ่งในชื่อบทความ เช่น บทความของเรามี keyword หลัก คือ ลดหน้าท้อง เราก็อาจจะดึงคำนี้มาเป็นชื่อบทความด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสให้บทความถูกค้นเจอมากยิ่งขึ้น โดยอาจตั้งชื่อบทความว่า วิธีลดหน้าท้อง อย่างปลอดภัยและเห็นผลภายใน 2 สัปดาห์4. วางโครงร่างของเครื่องให้เหมาะสมเมื่อเราได้วัตถุดิบสำหรับเขียนบทความครบแล้ว (หัวข้อบทความ keywords และชื่อบทความที่น่าสนใจ) งานต่อไปคือการวางโครงเรื่องของบทความแบบหลวมๆ ตอบตัวเองให้ได้ว่าบทความจะแบ่งออกเป็นกี่ส่วน (ส่วนหัวเรื่อง/บทนำ เนื้อหาหลัก เนื้อหารอง และสรุป) รายละเอียดคร่าวๆของแต่ละส่วนเป็นประมาณไหน เพื่อให้เรามองภาพรวมออกและกำหนดทิศทางการเขียนได้อย่างไหลลื่น หรือหากพบว่ามีส่วนไหนที่ดูขัดๆ ไม่เข้ากัน ก็สามารถลบออกไปได้ก่อน ไม่ต้องมาเสียเวลาปรับบทความใหม่ในภายหลังค่ะ 5. ลงมือเขียนบทความด้วยภาษาที่เป็นเอกลักษณ์งานเขียนก็คล้ายกับการพูด ที่ผู้เขียนย่อมมีลักษณะการเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ทั้งนี้กรอบสำคัญคือลักษณะและภาษาที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มผู้อ่าน เช่น หากกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านเป็นวัยรุ่นทั่วไป ภาษาที่ใช้ก็จะดูสบายๆ ไม่เป็นทางการมากนัก เพิ่มความสนิทสนมระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ แต่หากเป็นบทความที่ให้ความรู้หรือเป็นบทความเชิงวิชาการ ภาษาที่ใช้ก็อาจจะต้องดูเป็นทางการมากกว่านั่นเองค่ะโดยการใช่ภาษาเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเราเอง จะช่วยเพิ่มความโดดเด่นและแตกต่างไปจากบทความของคนอื่น ทั้งยังทำให้ผู้อ่านที่ชื่นชอบในสไตล์การเขียนของเรา ติดตามงานเขียนชิ้นอื่นๆของเราได้อีกด้วย อารมณ์คล้ายๆกับการที่เราชอบนักเขียนนามปากกาต่างๆสักท่าน ที่ไม่ว่าเราจะอ่านเล่มไหนของเขา ก็ต้องประทับใจทุกครั้งแบบนั้นเลยล่ะค่ะTips :บทความที่ผ่านหลัก SEO ควรมีจำนวนคำไม่น้อยกว่า 500 คำ ซึ่งบทความส่วนมากที่ติด SEO ในอันดับต้นๆ จะมีจำนวนคำเฉลี่ยที่ 1,500-2,000 คำค่ะอย่าลืมกระจาย Keyword ไปยังส่วนต่างๆของบทความ โดยเฉพาะในส่วนต้นๆของบทความ6. เติมสีสันให้บทความด้วย “รูปภาพ” การอ่านบทความที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือ จนแทบจะไม่มีที่พักสายตาให้ผู้อ่านเลยอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่ค่ะ ผลการสำรวจจาก Skyword พบว่าเว็บไซต์ที่มีภาพหรือวิดีโอด้วย มียอดการเข้าชมสูงขึ้นถึง 94% (เทียบกับเว็บไซต์ที่ไม่มีภาพและวิดีโอ) ตลอดไปจนถึงการทำการตลาดผ่านทาง Email ที่ใช้รูปภาพประกอบเนื้อหาด้วยจะช่วยเพิ่มสัดส่วน CTR ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้น การเลือกใช้รูปภาพ (ที่มีความเกี่ยวข้อง) ประกอบบทความ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้อ่านอยากอ่านบทความของเรา และยังช่วยเน้นจุดสำคัญของเนื้อหาได้อีกด้วยTips :อย่าลืมใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพ (Alt Text) เพื่อให้ Bot ของ Google ทราบได้ว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพเกี่ยวกับอะไร ช่วยให้ Bot เข้าใจบทความของเราได้ดีมากสามารถใช้ Keyword ตั้งชื่อ Alt Text เพื่อเพิ่มโอกาสการติดหน้าค้นหาได้เช่นกันค่ะประโยชน์ที่โดดเด่นของ Alt Text อีกข้อคือ เมื่อหน้าเว็บไซต์ไม่โหลด ผู้อ่านอาจมองไม่เห็นภาพ แต่จะยังเห็นคำอธิบายภาพที่เราเขียนไว้อยู่ ผู้อ่านจึงสามารถรู้ได้ว่าภาพนี้เป็นภาพเกี่ยวกับอะไรค่ะ7. Internal Link & External Link ก็สำคัญเคยสังเกตกันไหมคะว่าในหลายๆบทความ (บทความนี้ก็ด้วย) มักจะมีตัวอักษรสีฟ้าๆ ที่สามารถคลิกเพื่อเปิดหน้าใหม่ขึ้นมาได้ บ้างก็เป็นอีก link ภายในเว็บไซต์เดียวกัน (Internal Link) บ้างก็ส่งเราไปยังเว็บไซต์อื่น (External Link) การสร้างช่วงให้บทความของเราได้เชื่อมโยงกับหน้าอื่นๆภายในเว็บไซต์ของเรา หรือหน้าอื่นๆในเว็บไซต์ที่ดูน่าเชื่อถือ จะช่วยให้ Bot ของ Google มองว่าเนื้อหานั้นๆของเรามีความต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับบทความอื่นๆในเว็บของเรา หรือถูกมองว่ามีการอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆที่มีความน่าเชื่อถือ สิ่งนี้จะช่วยให้ Google มองว่าบทความของเราเป็นบทความที่มีคุณภาพและจะจัดเรียงเราไว้ในฐานข้อมูลเป็นลำดับต้นๆ เมื่อมีคนมาค้นหาด้วย Keyword ที่สอดคล้องกับที่เราพยายามปรับเอาไว้ โอกาสที่บทความของเราจะถูกส่งไปอยู่ในอันดับต้นๆก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นค่ะ 8. ใช้เครื่องมือช่วยวัดที่แม่นยำเพราะการเขียนบทความที่ดีและมีคุณภาพ เกิดมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งหัวข้อและชื่อเรื่องที่น่าสนใจ keyword ที่หยิบมาใช้แบบถูกจังหวะและปริมาณความหนาแน่นในปริมาณที่เหมาะสม รวมไปจนถึงจำนวนคำของบทความที่ควรมากกว่า 500 คำ การใช้แค่ความรู้สึกมาวัดสิ่งเหล่านี้อาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบทความภาษาไทยที่วิธีการนับจำนวนคำจะแตกต่างไปจากภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ โดยตัวผู้เขียนแอบสังเกตมาว่า เว็บไซต์สำหรับนับคำออนไลน์ส่วนใหญ่จะนับคำภาษาไทยได้ไม่ค่อยตรงนักค่ะ คือ คำจะหายไปเป็นหลักร้อยคำเลย เพราะเว็บออนไลน์ส่วนมากจะนับคำโดยแบ่งจากการเว้นวรรค ซึ่งหลักการนี้ใช้กับภาษาไทยไม่ได้ค่ะ Cancount.app ตัวนับจำนวนคำออนไลน์ ภาษาไทย สุดแม่น!!ตัวเว็บไซต์ของ Cancount ถูกออกแบบมาให้ช่วยนับคำอย่างแม่นยำ โดยเฉพาะภาษาไทย ที่นับได้แม่นยำมากๆเลยค่ะ (ผู้เขียนลองเทียบจำนวนที่โปรแกรม Word และ Cancount นับได้ อยู่ในจำนวนคำที่เท่าๆกันค่ะ) หน้าตาของเว็บไซต์ก็จะเรียบๆ ใช้งานง่าย เหมือนกับเว็บนับคำตัวอื่นๆ วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก เพียงแค่เราคัดลอกข้อความ/บทความที่เราอยากนับคำมาวางในกล่องข้อความ จากนั้นกด เริ่มการนับจำนวนคำ เพียงเท่านี้เราก็จะทราบจำนวนคำได้แล้วค่ะ สะดวกและรวดเร็วมากๆข้อดีของ Cancount.appนับจำนวนคำภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนอกจากจำนวนคำแล้ว ยังช่วยนับจำนวนตัวอักษร รวมถึงช่วยคำนวณเวลาที่ใช้ในการอ่านหรือการพูดได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้จะสะดวกมากสำหรับนักเขียน เพราะเราจะได้ปรับเนื้อหาให้อยู่ภายใต้เวลาที่เหมาะสมได้ค่ะแสดงความหนาแน่นของคำได้ โดยระบบจะแสดงคำ 5 คำ ที่มีเยอะที่สุดในบทความ เป็นรูปแบบเปอร์เซ็นต์ (%) ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้เราเช็คได้ค่ะว่า Keyword ที่เราเขียนเอาไว้มีจำนวนกี่เปอร์เซนต์ในบทความ ต้องเขียนเพิ่มไหม หรือถ้าเยอะไปก็เลือกลบออกได้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีโปรแกรม Word หรือต้องการนับจำนวนคำภาษาไทย แต่ไม่อยากลงโปรแกรมหรือติดตั้งส่วนขยายอื่นๆเพิ่มเติมใช้ได้ฟรี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้หลังการปรับใช้ทั้ง 8 ทริค!!ตัวผู้เขียนเองได้มีโอกาสเขียนบทความคุณภาพให้กับแบรนด์ต่างๆ และได้นำเอาทั้ง 8 ทริคที่กล่าวมาข้างต้นมาปรับใช้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ค่อนข้างน่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เพราะสามารถดันบทความ "ดื่มน้ำยังไงให้เพียงพอ? พร้อม 4 ทริคง่ายๆให้ดื่มน้ำได้วันละ 2 ลิตร" ไปอยู่ที่ตำแหน่งด้านบนสุดของหน้า Serach Result ที่เราเรียกกันว่า Google Rich Snippet ได้ เรามาลองวิเคราะห์กันดูดีกว่าค่ะว่า ปัจจัยที่สามารถส่งให้บทความนี้ขึ้นไปอยู่บนตำแหน่งบนสุดในหน้าแสดงผลการค้นหาได้มากจากอะไรบ้างความน่าสนใจของหัวข้อ : สิ่งที่ผู้เขียนทำเป็นสิ่งแรกเลยคือ การเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ หรือหัวข้อที่คนหมู่มากให้ความสนใจค่ะ ซึ่งการดื่มน้ำให้ได้วันละ 2-3 ลิตร นับเป็น Topic ที่คนให้ความสนใจกันอยู่เรื่อยๆอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ จึงเป็นหัวข้อที่เราสามารถหยิบมาเล่าได้อยู่เสมอ การวิเคราะห์ Keyword และการตั้งชื่อหัวข้ออย่างสอดคล้องกัน : จะเห็นได้ว่าบทความนี้ผู้เขียนใช้ Keyword หลักอย่างคำว่า ดื่มน้ำได้ 2 ลิตรต่อวัน มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบทความไปด้วยเลย ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการติดอันดับได้ดียิ่งขึ้นและอีกสิ่งที่สำคัญ คือตัวผู้เขียนได้กระจาย Keyword ที่วิเคราะห์ไว้แล้วไปทั่วทั้งบทความใช้หลักการตัวเลขมหัศจรรย์ : โดยใช้คำว่า 4 ทริคง่ายๆให้ดื่มน้ำได้ 2 ลิตรต่อวัน เมื่อผู้อ่านเลื่อนมาเห็นบทความก็จะสามารถเข้าใจได้คร่าวๆทันทีว่า หลังการอ่านบทความนี้จบ ผู้อ่านจะต้องได้เคล็ดลับการดื่มน้ำจำนวน 4 ข้อกลับไป ตัวเลขจะช่วยกระตุ้นให้คนเข้ามาอ่านบทความกันมากขึ้นค่ะใช้รูปภาพประกอบบทความ : เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับพักสายตาและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจบทความได้ง่ายขึ้นจำนวนคำในบทความ : ใช้ความยาวประมาณ 700 - 1,000 คำ ซึ่งเป็นจำนวนคำที่เหมาะสมสำหรับบทความ SEO ค่ะ ตาคุณลงมือเขียนบทความสุดโดดเด่นแล้วมาเริ่มเขียนบทความคุณภาพ ที่หยุดนิ้วและเตะตานักอ่านได้ แถมยังเข้าใจและถูกหลักการทำ SEO กันเลยตั้งแต่วันนี้ อย่าลืมนำทริคทั้ง 8 ข้อนี้ไปปรับใช้กันดู ได้ผลอย่างไรอย่าลืมแวะมาแชร์กันได้นะคะ ขอให้ทุกท่านสนุกกับการทำ SEO ค่ะ :) ขอบคุณภาพประกอบบทความภาพปกบทความ โดย bongkarn thanyakijภาพประกอบบทความ : ภาพที่ 1 / ภาพที่ 2 / ภาพที่ 3 / ภาพที่ 4 / ภาพที่ 5 / ภาพที่ 6 / ภาพที่ 7 / ภาพที่ 8 (โดยผู้เขียน)แหล่งที่มาของข้อมูล : Google Serach Central / Skyword / getveroอัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !