เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2060093/ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทั้งหลาย วันนี้ผู้เขียนมีสาระดีดีมานำเสนออีกแล้วครับท่านวันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอกฎหมายง่าย ๆ สไตล์ผู้เขียนอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับบางท่านแต่บางท่านอาจมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาบ้างหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องไม่ไกลตัวจากเรา ๆ ท่าน ๆ เลยก็ว่าได้...มาดูกันครับว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2826065/ คำถาม : ท่านเคยได้ยินคำว่า “ครอบครองปรปักษ์” หรือไม่ครับ นั่นแน่ ๆ ไม่ต้องงงครับ เอ้าลองมาทายกันเล่น ๆ ก.ครอบครองปรปักษ์ คือ เอาของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ข.เอาตนไปให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ค.ซื้อของผู้อื่นแต่ให้เงินไม่ครบ ง.ถูกทุกข้อเลย เฉลยครับ ...ใครตอบ ก. ข. ค. ง. โปรดกลับคำซ่าหล้า..(ไมล์ภิรมย์พร..ครับ ล้อเล่น) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 วางหลักไว้ว่า 1.บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น (ทรัพย์สินในที่นี้หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตนเอง และเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้) และอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) 2.การครอบครองนั้นต้องโดยสงบและต้องเปิดเผย 3.โดยมีเจตนาจะเอาเป็นเจ้าของ 4.ถ้าเป็นการครอบครองสังหาริมทรัพย์กฎหมายกำหนดห้าปี 5.ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์กฎหมายกำหนดสิบปี 6.เมื่อครอบครองตามห้วงระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3,4 แล้วย่อมได้สิทธิครองโดยปรปักษ์ เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-4322521/ นี้คือตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง ทีนี้คำว่า “ครอบครองปรปักษ์” มาดูความหมายง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างที่ผู้เขียนจะยกขึ้นมาเพื่อทำความเข้าใจกับผู้อ่านได้ง่ายขึ้น ครอบครองปรปักษ์ หมายถึง มีเจตนาจะเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยผู้ครอบครองต้องทำโดยสงบ และต้องเปิดเผย ถ้าครอบครองสังหาริมทรัพย์ครบห้าปีตนได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นตนได้กรรมสิทธิ์ และต้องดำเนินการไปเปลี่ยนแปลงเอกสารทางทะเบียน ตัวอย่างที่ 1 นายสนิท ครอบครองที่ดินของนายชาญชัย จำนวนเนื้อที่ 3 ไร่ โดยทำการปลูกต้นมะม่วงจำนวน 2 ไร่ ปลูกข้าวจำนวน 1 ไร่โดยนายชาญชัยเห็นแล้วก็ไม่ได้โต้แย้งหรือแสดงความเป็นเจ้าของใด ๆ ทั้งสิ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2552 นายสนิทได้เอาที่ดินดังกล่าวไปขอคำสั่งศาลให้มีคำสั่งเรื่องการครอบครองปรปักษ์เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วนายสนิทสามารถนำไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดในที่ดินทั้ง 3 ไร่ เป็นชื่อของตนได้ ดังนี้เห็นว่าระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ล่วงเลยเวลามาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ต่อมานายชาญชัยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน 3 ไร่ดั้งกล่าวจะมาอ้างความเป็นกรรมสิทธิต่อสู้เรื่องการครอบครองปรปักษ์ของนายสนิทไม่ได้ ดังนั้นที่ดินจึงตกเป็นของนายสนิท เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-1853936/ ตัวอย่างที่ 2 นายกมล อยู่บ้านข้างเคียงนายสมศรี วันหนึ่งอากาศร้อนนายกมลเห็นว่านายสมศรีมีพัดลมในบ้านหลายตัว นายกมลเลยถือวิสาสะไปเอาพัดลมนายสมศรีมาใช้โดยพละการ ซึ่งนายสมศรีเห็นแล้วก็ไม่ได้ว่าอะไรจนเวลาล่วงเลยไปถึง 5 ปี เช่นนี้นายกมลย่อมได้สิทธิการครอบครองปรปักษ์ในพัดลมของนายสมศรีดังกล่าวแล้ว เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-513062/ เห็นไหมละครับว่าการครอบครองปรปักษ์ที่เขามักจะพูดถึงกันมันหมายถึงอะไร ยังไง คงเข้าใจกันแล้วหละครับ ระวังนะครับอย่างให้ใครมาครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินของเราได้หละ....แต่ตอนนี้ผู้เขียนโดยครอบครองปรปักษ์หัวใจแล้วหละ...(อิอิ ล้อเล่นครับ) จบน้อ...สวัสดีครับ