นักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่นได้พัฒนาเซ็นเซอร์ที่ใช้กระดาษพร้อมกับ Microneedle ขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งสามารถเจาะผิวหนังของมนุษย์ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ในการทำการตรวจวินิจฉัยภาวะต่างๆ โดยเริ่มที่โรคเบาหวานก่อนMicroneedles เป็นหนามแหลมเล็ก ๆ ที่มีขนาดเล็กมากจนวัดได้เป็นไมโครเมตร (หนึ่งในพันของมิลลิเมตร) ออกแบบมาเพื่อเจาะเฉพาะชั้นนอกสุดของผิวหนังไม่ให้ไปถึงเส้นประสาทรับความรู้สึกที่อยู่ลึกลงไปในผิวหนังชั้นหนังแท้ เนื่องจากการเจาะที่ตื้นและการใช้งานง่าย แค่แปะแผ่น microneedles จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการประยุกต์เพื่อฉีดหรือให้ยาบางประเภท เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และอินซูลิน หนามแหลมเล็ก ๆ เหล่านี้มีขนาดเล็กมากพวกมันสามารถช่วยให้ฉีดสิ่งต่างๆในกรณีที่เข็มธรรมดาไม่สามารถใช้งานได้จริงหรือเป็นไปไม่ได้ เช่นการส่งยาไปยังพืชหรือตรงเข้าตา เราอาจสามารถใช้มันเพื่อละลายไขมันส่วนเกินในร่างกายซึ่งอาจเป็นวิธีการลดน้ำหนักเทียมที่ไม่เจ็บปวดที่สุดในขณะที่ความเป็นไปได้ในการฉีดยาเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่งานวิจัยอีกสาขาหนึ่งกำลังสำรวจศักยภาพในการวินิจฉัยของ microneedles เพื่อตรวจหาโรคที่อาจมีอยู่แล้วซึ่งเป็นจุดสำคัญของการวิจัยใหม่ของญี่ปุ่นในการศึกษาล่าสุดที่นำโดยนักวิจัยอาวุโสและวิศวกรจากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้พัฒนาให้ microneedles สามารถวิเคราะห์ของเหลวระหว่างเซลล์ในผิวหนังชั้นนอกได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งดีกว่าเมื่อเทียบกับเข็มเจาะเลือดแบบปกติที่ทั้งเจ็บปวด และต้องมีการฝึกอบรม โดยการรวม microneedle ที่มีรูพรุนเข้ากับเซนเซอร์แบบกระดาษ ซึ่งผลลัพธ์คือต้นทุนต่ำใช้แล้วทิ้งและไม่ต้องใช้เครื่องมือเพิ่มเติมใดๆในการสร้างเซ็นเซอร์ microneedle ทีมงานได้เทส่วนผสมของโพลีเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและเกลือลงในโพรงรูปกรวย (เหมือนกับการเทแป้งลงในถาดคัพเค้ก) เมื่อแข็งตัวแล้ว หลังจากนั้น microneedles จะทำปฎิกิริยากับสารละลายที่ทำให้พวกมันมีรูพรุนโดยการกำจัดเกลือออก และติดลงบนกระดาษแผ่นเล็ก ๆ ที่มีเซ็นเซอร์กลูโคสติดอยู่หลักการคือเมื่อฉีดหนามแหลมเล็กที่มีรูพรุนเข้าไปในผิวหนังชั้นนอก รูพรุนของเข็ม microneedle จะดูดของเหลวในของเหลวระหว่างเซลล์ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพจำนวนมาก ไปสู่กระดาษ และไปยังเซ็นเซอร์กลูโคส โดยในการทดลองขณะนี้ได้เน้นในเรื่องของการวัดปริมาณน้ำตาลจนถึงขณะนี้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยใช้เจลอะกาโรสแทนกระดาษ และน่ายินดีที่ผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนสีที่ชัดเจนเนื่องจากความเข้มข้นของกลูโคสที่แตกต่างกัน อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถระบุผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ทำให้เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรค และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจที่จะทดสอบการพิสูจน์แนวคิดของพวกเขาเพิ่มเติมโดยทำการทดลองกับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์เพื่อยืนยันว่ามันทำงานได้ตามที่พวกเขาคาดหวังในสภาวะการวินิจฉัยในโลกแห่งความเป็นจริงสุดท้ายผู้จัยได้กล่าวทิ้งทายว่า “หากการทดสอบเป็นไปได้ด้วยดีเราอาจใช้มันในการวินิจฉัยได้มากกว่าแค่การตรวจสอบระดับน้ำตาลในอนาคต” ภาพ : https://unsplash.com/ https://www.pexels.com https://www.pexels.com/