มีกลิ่นเหม็น ใช้อะไรดับกลิ่นดี การย่อยสลายของเสียแบบไม่ใช้อากาศเรื่องกลิ่นเหม็นสำหรับหลายๆ คนก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นรายวัน! จริงไหมค่ะ? กลิ่นเหม็นรบกวนทำให้เกิดความรำคาญใจและหงุดหงิดเวลาได้กลิ่นเหม็นต่างๆ ดังนั้นกลิ่นเหม็นจึงถูกระบุว่าเป็นเหตุรำคาญชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นข้อร้องเรียนได้ หากบ้านไหนทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้! และไม่จัดการให้เหมาะสม เพราะกลิ่นเหม็นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ที่หลายคนอาจยังมองไม่เห็นค่ะ! กลิ่นเหม็นสามารถพบได้จากหลายๆ กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราค่ะ จะว่าไปในบ้านเราแค่หลังเดียวสามารถมีแหล่งของกลิ่นเหม็นได้หลายจุดมาก! เช่น กลิ่นเหม็นจากถังส้วม กลิ่นเหม็นจากถังขยะ กลิ่นเหม็นจากรางระบายน้ำทิ้ง กลิ่นย้อนกลับเข้ามาในอาคารจากพื้นห้องน้ำ ฯลฯดังนั้นพอพูดเรื่องกลิ่นเหม็นจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องที่สามารถเพิกเฉยได้ และเวลามีกลิ่นเหม็นเราคนแรกในบ้านที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ ค่ะ จะว่าไปกลิ่นเหม็นรบกวนยังสามารถพบได้จากที่อื่นด้วยที่ไม่ใช่บ้าน เช่น เวลาเราขับรถผ่านหน้าโรงงานแป้งมันจะมีกลิ่นเหม็นมากค่ะ เวลาขับรถผ่านฟาร์มหมูฟาร์มไก่ ผ่านโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านคลองน้ำเสียของชุมชนๆ หนึ่ง หรือแม้แต่ไปเที่ยวที่สวนสาธารณะก็ยังสามารถมีประสบการณ์กับเรื่องเหม็นๆ ได้จากบ่อน้ำที่เน่าเสีย และยังมีอีกหลายๆ อย่างคล้ายๆ แบบนี้ค่ะ ขนาดผู้เขียนเองไปโรงพยาบาลแท้ๆ ก็ยังไปเจอจุดที่มีน้ำเสียกระจายออกมาอยู่ในรางน้ำฝนแล้วก็เหม็นมากอีกเหมือนกันค่ะ ยิ่งบ้านเราเป็นประเทศเขตร้อนจึงทำให้มีการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศได้ง่ายค่ะเวลาที่เราทิ้งเศษอาหาร ทิ้งขยะเปียก ปล่อยน้ำเสียและอื่นๆ ที่เป็นสารอินทรีย์นั้น จุลินทรีย์ตามธรรมชาติมีความสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์เหล่านั้นได้ ทั้งที่เป็นการย่อยสลายแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ แต่การย่อยสลายของเสียแบบไม่ใช้อากาศ คือ กระบวนการเดียวที่ไปทำให้ของเสียชนิดหนึ่งเปลี่ยนรูปไปและได้ผลผลิตสุดท้ายเป็นก๊าซ โดยก๊าซที่ว่านี้ คือ ก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่ะ แต่ก๊าซที่ทำให้เราได้กลิ่นเหม็นคือก๊าซมีเทนค่ะ และมีเทนยังเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วยค่ะ ซึ่งการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศนี้ อาศัยการทำงานของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศค่ะ ที่สามารถพบได้ทั้งในน้ำ ในดิน ในกองปุ๋ยหมัก ในถังขยะ ในบ่อฝังกลบขยะและอื่นๆ คุณผู้อ่านเคยได้ยินข่าวบ่อขยะไฟไหม้ไหมค่ะ? นั่นเป็นเพราะมีเทนที่ไม่ได้มีระบบรวบรวมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ บางข่าวบอกว่าคนงานลงไปในบ่อสูบแล้วเสียชีวิต นั่นเป็นเพราะมีเทนในบ่อสูบที่มีความเข้มข้นสูงค่ะ ซึ่งหลายคนไม่รู้จุดนี้‼️ เลยพบปัญหาจากมีเทนที่มากไปกว่าการเหม็นรบกวนจมูกค่ะ อาหารที่เน่าเสียแล้วมีกลิ่นเหม็นก็เพราะการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน จึงมีกลิ่นเหม็นรบกวนภายในบ้าน จะเห็นว่าการที่ไม่มีออกซิเจนเป็นตัวบ่งชี้ถึงกลิ่นเหม็นว่าต้องมีเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะมีการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน ตามธรรมชาติของมีเทนเป็นก๊าซที่ไม่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบเราจึงสามารถได้กลิ่นเหม็นของมีเทนได้ถึงแม้ว่าจะเป็นมีเทนที่ความเข้มข้นต่ำๆ และหากมีเทนมีความเข้มข้นมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ การย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากบริเวณนั้นไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอ และกลิ่นเหม็นนี้หากมีการต่อท่อระบายอากาศขึ้นที่สูง มีเทนสามารถถูกทำลายได้ด้วยออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ และก็มีหลายคนอาจรู้จักมีเทนเพราะสนใจเกี่ยวกับก๊าซชีวภาพ แต่มีเทนในชีวิตประจำวันจริงๆ ที่เกิดขึ้นไม่สามารถถูกรวมรวมไปจัดการได้หมดทุกจุดเหมือนกับที่ๆ รวบรวมเอามีเทนไปทำก๊าซชีวภาพค่ะ เราจึงพบปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในชีวิตประจำวันค่ะ แล้วถ้ามีกลิ่นเหม็นจะทำยังไงดี!? ถึงจะทำให้กลิ่นเหม็นหายไป ต้องอ่านต่อค่ะ..และจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศมานั้น มีแนวทางที่สามารถทำได้โดยขอแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้ค่ะ- กรณีแรก เร่งการย่อยสลายด้วยการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ หลายคนคงเคยได้ยินการเทอีเอ็ม ก้อนแบคทีเรียหรืออะไรในทำนองนี้ลงไปในจุดที่มีกลิ่นเหม็น ใช้ได้หมดค่ะจะยี่ห้อไหนก็ได้ เพราะทั้งหมดคืออาศัยการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายสารอินทรีย์จากความเข้มข้นของปริมาณจุลินทรีย์ที่เวลาหนึ่ง ซึ่งการแก้ไขด้วยหลักการนี้ต้องทำอยู่เรื่อยๆ และทำตลอดค่ะ เราจึงพบว่าหลายบ้านขยายหัวเชื้ออีเอ็มเอาไว้ใช้เทราดในรางระบายน้ำเสียบ้าง เทราดคอกวัวบ้าง เทราดลงไปในชักโครกบ้าง- กรณีที่ 2 เป็นเรื่องของการทำลายก๊าซมีเทนด้วยการเติมอากาศ ปกติมีเทนถูกทำลายได้เมื่อมีออกซิเจน และหากเป็นระบบบำบัดน้ำเสียเราจะติดตั้งเครื่องเติมอากาศเพื่อทำลายกลิ่นเหม็นรบกวนจากมีเทนค่ะ หากที่ไหนไม่มีหน่วยเติมอากาศเราต้องสร้างหน่วยที่มีการเติมอากาศขึ้น โดยการเติมอากาศนี้สามารถใช้ได้ทั้งจากการสังเคราะห์แสงของพืชร่วมกับเครื่องเติมอากาศค่ะ ในคนทั่วไปอาจพบว่ามีการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงปลา อ่างเลี้ยงปลา ซึ่งเครื่องเติมอากาศทำหน้าที่ทั้งเติมอากาศให้กับน้ำเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตและทำลายก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากก้นบ่อด้วย ซึ่งสถานการณ์นี้เห็นได้ชัดในบ่อน้ำขนาดใหญ่ค่ะ- และกรณีที่ 3 เกี่ยวกับการรวบรวมของเสียเข้าสู่หน่วยกำจัดของเสียแบบไร้อากาศ และต่อท่อระบายอากาศร่วมกับมีที่ดักกลิ่นในบางจุด ต้องบอกว่ากรณีนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอย่างมากค่ะ เช่น ในถังส้วม โดยเรารวบรวมของเสียทั้งหมดเข้าสู่ถังส้วมและต่อท่อระบายอากาศจากถังขึ้นที่สูงเพื่อระบายให้มีเทนไปสู่ที่ชอบๆ ตจากนั้นอาศัยออกซิเจนในชั้นบรรยากาศทำลายมีเทนค่ะ การมีที่ดักกลิ่นตามอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน เช่น พื้นห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ทำให้มีเทนไม่สามารถย้อนกลับเข้ามาในบ้านและอาคารได้ค่ะจบแล้วค่ะพอจะมองเห็นภาพกันไหมคะ? ซึ่งถ้าคุณผู้อ่านได้อ่านและทำความเข้าใจดีๆ นั้น จะพบว่า แค่เราเข้าใจที่มาที่ไปของกลิ่นเหม็นและแนวทางในการจัดการกลิ่นเหม็น ก็จะทำให้เรามองภาพออกทันทีว่าต้องทำอะไรต่อหากภายในบ้านมีกลิ่นรบกวนหรือในสำนักงานมีกลิ่นเหม็นค่ะ ที่ในบางครั้งไม่มีความจำเป็นต้องไปจ้างคนมารื้อหรือซ่อมแบบไม่จำเป็นเลยค่ะ เช่น ถ้าน้ำเสียไหลซึมกระจัดกระจายภายในบริเวณอ่างล้างจานก็ต้องรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่แนวท่อรับน้ำเสียค่ะ ถ้ารางรับน้ำเสียเป็นท้องช้างก็ให้เทปูนใหม่ให้ระดับของรางสามารถทำให้น้ำเสียไหลไปเข้าสู่ระบบรวบรวมน้ำเสียของเทศบาลได้สะดวก พอไม่มีน้ำขังในรางการย่อยสลายของเสียแบบไม่ใช้อากาศก็เกิดขึ้นไม่ได้ค่ะ ถ้าพื้นห้องน้ำไม่มีที่ดักกลิ่นก็ให้จัดหามาติดตั้งค่ะ เพราะสามารถทำได้ง่ายๆ แค่มีไขควงแบบแฉกก็ทำได้ค่ะ และที่ดักกลิ่นสมัยนี้ก็มีราคาไม่ได้แพงมากจากการผู้เขียนได้ทำงานเกี่ยวข้องกับการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศมานั้น เราใช้ทั้ง 3 วิธีการข้างต้นในการแก้ไขเรื่องกลิ่นเหม็นค่ะ เพียงแต่ว่าต้องหาสาเหตุให้เจอก่อนว่าที่จุดๆ หนึ่งมีกลิ่นเหม็นมาจากไหน อะไรเหมาะสมที่สุดหากต้องแก้ไขในจุดนั้น สำหรับเครื่องเติมอากาศอาจเป็นแนวทางของคนที่ทำงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียค่ะ ซึ่งสำหรับคนทั่วไปกรณีที่ 1 และ 3 เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นรบกวนแบบง่ายๆ ค่ะ โดยส่วนตัวล่าสุดก็ได้แก้ไขในส่วนของรางรับน้ำเสียที่บ้านเหมือนกัน โดยเทปูนใหม่ให้ได้ระดับและติดตั้งท่อรับน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้าใหม่เพื่อรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่รางรับน้ำเสียค่ะ และมีบางครั้งที่ได้เทอีเอ็มลงในชักโครกเพื่อเร่งการย่อยสลายของเสียในถังส้วมค่ะเครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Mohamed_hassan จาก Pixabayภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1 โดย Juhele จาก Pixabay, ภาพที่ 2 โดย Shafin_Protic จาก Pixabay, ภาพที่ 3 โดย ผู้เขียน จาก Canva, ภาพที่ 4 ถ่ายภาพโดยผู้เขียนออกแบบปกบทความใน Canvaบทความอื่นที่น่าสนใจระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดอยู่กับที่ ของโรงพยาบาล บำบัดน้ำเสียยังไงหลักการจัดอ่างเลี้ยงปลาให้รอด แบบไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !