รีเซต

(คลิป) “โอมิครอน”ร้าย? ผลวิจัยชี้เข็ม 4 ยังสู้ไม่ได้!

(คลิป) “โอมิครอน”ร้าย? ผลวิจัยชี้เข็ม 4 ยังสู้ไม่ได้!
TNN ช่อง16
20 มกราคม 2565 ( 11:21 )
90
(คลิป) “โอมิครอน”ร้าย? ผลวิจัยชี้เข็ม 4 ยังสู้ไม่ได้!


ผลการวิจัยเบื้องต้นของหน่วยงานสาธารณสุขในอิสราเอล ที่มีการเผยแพร่ไปก่อนหน้าหน้านี้ พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 4  กระตุ้นภูมิได้ดีกว่า  การฉีด 3 เข็ม แต่อาจยังไม่พอ" รับมือกับเชื้อ "โอมิครอน"   โดยอิสราเอล แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม   กลุ่มแรก เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 154 คน  ที่ฉีดวัคซีน 4เข็มเป็นไฟเซอร์ทั้งหมด  มีการประเมินผลหลังผ่านไป 2 สัปดาห์


ส่วนอีกกลุ่ม จำนวน 120 คน ฉีดวัคซีน ทั้ง 3 เข็ม เป็นไฟเซอร์ และตามด้วยเข็ม 4 วัคซีนโมเดอร์นา และประเมินผลหลังผ่านไป 1 สัปดาห์  


โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มพบว่ามีระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการรับวัคซีน 3 เข็ม แต่ ระดับภูมิคุ้มกันซึ่งร่างกายสร้างขึ้นใหม่ ยังไม่เพียงพอต้านทานเชื้อโอมิครอน

---------------------------------------------------------------------------------------------


ด้าน ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  อนันต์ จงแก้ววัฒนา  ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยของอิสราเอลในครั้งนี้  สรุปใจความสำคัญ ว่า   เป็นเรื่องไม่เกินความคาดหวัง ที่วัคซีนเข็ม 4 ไม่เพียงพอต่อสู้โอมิครอน  เพราะวัคซีนที่ใช้ในการกระตุ้นเข็มที่ 4 ยังเป็นวัคซีนตัวเดิมที่ออกแบบมาจากไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่การเริ่มระบาด  แต่โอมิครอนมีความแตกต่างกันของโปรตีนหนามสไปค์อย่างชัดเจน ความสามารถของแอนติบอดีที่วัคซีนจะกระตุ้นมายับยั้งการติดเชื้อได้จะน้อยลงไปด้วย


ขณะที่ระดับภูมิคุ้มกันจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนจะมี 2 ระดับใหญ่ ได้แก่ ภูมิป้องกันการติดเชื้อ และ ภูมิป้องกันอาการหนัก ซึ่งทั้ง 2 ระดับจะแตกต่างกันออกไปจากตัวแปร ใน 2 ปัจจัย คือ สายพันธุ์ที่ระบาดตรง หรือ ใกล้เคียงกับวัคซีน (well-matched) หรือ แตกต่างจากวัคซีน (less well-matched) และ ปัจจัยที่ 2 คือ  อายุและสภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยผู้สูงอายุ และ ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำก็จะมีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงไปด้วย


ดังนั้นหากวัคซีนที่ฉีดใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่ระบาด ระดับภูมิคุ้มกันที่มากเพียงพอต่อการปัองกันการติดเชื้อจะไม่สูงมาก และไม่แตกต่างมากนักกับระดับที่ใช้ป้องกันอาการรุนแรงของโรค แต่ถ้าความแตกต่างระหว่างวัคซีนกับสายพันธุ์มีมากขึ้น อย่างกรณีของโอมิครอน ระดับภูมิที่ร่างกายต้องการใช้ป้องกันการติดเชื้อจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก  และยังมีปัจจัยเกี่ยวกับระยะเวลาด้วยที่ภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นเมือ่ได้รับเข็มกระตุ้นไม่กี่สัปดาห์ หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันจะค่อยๆลดลง  จนกระทั่วระดับภูมิคุ้มกันจะต่ำกว่าเส้นที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน  

ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ยังระบุอีกว่า  ประเด็นสำคัญคือ เส้นระดับภูมิคุ้มกันที่ป้องกันอาการหนักสำหรับโอมิครอน “ไม่ได้” ขยับขึ้นมากนัก แสดงว่า ภูมิคุ้มกันจากเข็มกระตุ้น หรือ เข็มมาตรฐานก่อนกระตุ้น น่าจะเพียงพอต่อการป้องกันอาการรุนแรงของโอมิครอนได้

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง