เป็นเรื่องน่าตกใจเนื่องจากผลวิจัยของจุฬาฯ ออกมาว่าคนไทยมีความพร้อมหลังเกษียณต่ำกว่า 40% เป็นคำถามที่ต้องกลับมาย้อนคิดถึงตัวเองว่า เราเองล่ะ ได้เตรียมแผนเกษียณไว้ดีพอแล้วหรือยังบางคนอาจคิดว่า อายุยังน้อย ยังไม่ต้องรีบร้อนก็ได้ แต่ความจริงแล้วการเตรียมแผนเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย หากทุกคนลองคำนวณเงินที่เราต้องมีหลังเกษียณแล้ว ทุกคนจะตกใจว่า โอ้โห เราจะหาเงินจำนวนนั้นทันได้ยังไง มันจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ยิ่งเตรียมตัวได้ไวเท่าไหร่ก็ยิ่งดี และยิ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เมื่อเรามีโอกาสเตรียมตัวในยามที่เรายังมีสุขภาพดี มีรายได้ และมีความพร้อมและเพื่อให้เรามีใช้เพียงพอ มันจึงไม่ใช่แค่การมุ่งมั่นทำงานหนักหาเงินเท่านั้น แต่รวมไปถึงการรู้จักออมเงิน และการบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ส่วนแรกที่เราต้องทราบก่อนก็คือ ปัจจุบันเรามีรายจ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และเราคาดว่าหลังเกษียณจะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ ซึ่งส่วนนี้แต่ละคนก็จะมีตัวเลขที่ไม่เท่ากันคำถามที่ต้องหาคำตอบต้องการเงินใช้หลังเกษียณเดือนละกี่บาทตอนนี้อายุเท่าไหร่คิดว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ตอนนี้เหลือเวลาทำงานเก็บเงินอีกกี่ปี (เอาอายุเกษียณมาลบอายุปัจจุบัน)คิดว่าเราจะมีชีวิตไปจนถึงอายุเท่าไหร่ (ถึงจะคิดยาก แต่ก็เดาเผื่อๆไว้ก่อน)เมื่อได้คำตอบคร่าวๆแล้ว ก็ลองมาคำนวณกันเลยสมมุตว่าเราอยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาทตอนนี้อายุ 30 ปี อยากเกษียณตอนอายุ 50 ปี แปลว่าเราเหลือเวลาทำงานเก็บเงินอีก 20 ปีและคาดว่าเราอาจอายุยืนไปจนถึง 80 ปีเท่ากับว่าหลังเกษียณตอนอายุ 50 เราจะต้องมีเงินเหลือพอใช้เป็นจำนวน 30 ปีด้วยกัน30 ปี ก็เท่ากับ 360 เดือนใช่ไหมทุกคน เมื่อนำไปคูณกับเงินที่เราต้องใช้เดือนละ 20,000 บาท360 x 20,000 = 7,200,000 นี่คือจำนวนเงินที่เราต้องมีก่อนถึงอายุ 50และขอบอกว่า เงินก้อนนี้ยังไม่ได้คิดรวมอัตราเงินเฟ้อนะทุกคน ซึ่งในแต่ละปีเราจะเห็นว่าราคาข้าวของต่างๆแพงขึ้นอยู่แล้ว ไหนจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันแต่ละปีอีก เช่น สุขภาพ อุบัติเหตุ หรือค่าใช้จ่ายซ่อมแซมบ้าน/รถทีนี้วกมากลับมาที่เงินจำนวนที่เราต้องมี 7,200,000 ถ้านำมาหาร เวลาทำงานที่เหลืออีก 20 ปี ของเรา ก็เท่ากับว่าเราต้องเก็บเงินปีละ 360,000 บาท หรือเดือนละ 30,000 บาทนั่นเอง!!อันนี้คือเงินเก็บเพื่อเกษียณนะทุกคน ยังไม่รวมเงินเก็บเพื่อเป้าหมายส่วนบุคคล (เช่น ท่องเที่ยว ลงทุน หรือเงินค่าเทอมลูก) และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก น่าตกใจใช่ไหม ว่าเราจะต้องหาเงินได้เดือนละเท่าไหร่ล่ะ ถึงจะทำได้ตามแผนTips #1อย่าลืมประเมินและจัดการหนี้สินส่วนบุคคลที่มีอยู่ เช่น หนี้บ้าน รถ หรือบัตรเครดิต โดยเฉพาะหนี้บ้าน ซึ่งเป็นรายจ่ายระยะยาวเมื่อเห็นตัวเลขแล้วอย่าเพิ่งท้อไปนะทุกคน อย่าลืมว่าเรายังมีตัวช่วยอยู่ นั่นก็คือ เงินออมที่เราสะสมไว้ยังไงล่ะ (บางคนบอกว่า ไม่มีเลย) ใจเย็น! สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือคนที่ทำประกันสังคมเอาไว้ ทั้ง ม.39 และ ม.40 แน่นอนว่าคุณมีเงินในกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว ซึ่งคุณจะได้รับหลังอายุ 55 ปี และรวมถึงกองทุนอื่นๆอีกที่คุณอาจมี เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรวมไปถึงประกันชีวิตที่มีการคืนเบี้ยประกัน (ถ้ามี) ให้ลองสำรวจและประเมินดูว่า คุณจะได้รับเงินก้อนนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่เมื่อไปถึงวันที่คุณเกษียณซึ่งเราสามารถนำไปหักลบกับเงินที่เราจะวางแผนเก็บในแต่ละเดือนได้แต่ถ้าคุณไม่มีเงินในกองทุน ไม่ได้ทำประกัน และไม่มีเงินออมใดๆเลยจริงๆ อันนี้คือปัญหาแล้วล่ะ! แต่มันก็ยังไม่สายไปนะ ถึงจะต้องเก็บเงินมากขึ้นก็ตาม เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ ก็หมายความว่าคุณเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารเงินส่วนบุคคล และอยากมีสุขภาพการเงินที่ดีแล้ว เพราะฉะนั้นเริ่มวางแผนเก็บออมตั้งแต่วันนี้ ไม่สายเกินไปแน่นอนTips #2ตัวช่วยเพื่อเพิ่มเงินเก็บของเรา ให้เติบโตสู้เงินเฟ้อในอนาคตได้ นั่นก็คือการลงทุนการออมเงินเพียงอย่างเดียว เราแพ้เงินเฟ้อนะทุกคน ดังนั้นจึงควรมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมเอาไว้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่า เงินก้อนนี้เป็นเงินเพื่อเกษียณ เราจึงไม่ควรนำไปลงทุนในรูปแบบที่เสียงมากจนเกินไป และควรจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม มีความหลากหลาย (กระจายความเสี่ยง)Tips #3หากลองคำนวณเงินที่ต้องเก็บแล้ว คิดว่ามันยังยากเกินไป เราสามารถปรับแผนได้โดยประเมินดังนี้เงินเก็บ มีช่องทางหารายได้เสริมอื่นๆอีกไหม หรือเราสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้างชีวิตหลังเกษียณ เราอาจยอมลดค่าใช้จ่ายบางส่วนยามเกษียณลง หรือปรับ Life style ที่เราคาดหวังไว้ เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องเก็บอายุเกษียณ ลองยืดอายุการทำงานออกไป เพื่อจะได้มีเวลาทำงานเก็บเงินมากขึ้น โดยยอมเกษียณช้าลงการลงทุน ศึกษาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี มีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับวัย และต้องเป็นการลงทุนที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย อย่าลืมว่านี่อาจจะเป็นเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตของเรา หลักประกัน สำรวจสวัสดิการที่เรามีอยู่ และลองมองหาประกันที่เหมาะสมเอาไว้บ้าง เพื่อปิดความเสี่ยงที่อาจกระทบกับแผนเก็บเงินของเราเมื่อลองวางแผนดูแล้ว จะเห็นว่าการเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ เราควรประเมินแผนเกษียณของเราทุกปี เพราะในแต่ละปีอาจมีเรื่องไม่คาดฝันเข้ามาในชีวิต หรือวิถีชีวิตของเราที่เปลี่ยนไป จึงต้องทบทวนแผนของเราอยู่เสมอเพื่อปรับให้เป็นไปตามความเหมาะสม และก็เพื่อให้เรายังยึดมั่นอยู่ในแผนการ ไม่วอกแวกหรือหลงลืมไป บทความที่คุณอาจสนใจMaruey Library ห้องสมุดความรู้ทางการเงินรวม List รายการที่ต้องแจ้ง เมื่อเปลี่ยนเบอร์ใหม่เครดิตภาพประกอบบทความภาพ 1 / ผู้เขียนภาพ 2 / ผู้เขียนภาพ 3 / Chaweekunภาพ 4 / Chaweekunภาพปก / Sahlabs7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์