พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) คือช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเป็นช่วง Sideways คือราคาหุ้นไม่ขยับไปไหน อยู่นิ่ง แทบจะไม่ขึ้นไม่ลง เก็งกำไรไม่ได้ บรรยากาศซื้อขายเงียบเหงา กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นเงินปันผลจึงกลับมาอีกครั้ง และนั่นก็คือการลงทุนสไตล์เน้นคุณค่าอย่าง Value Investing นั่นเองดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หรือที่สื่อมักเรียกว่าอาจารย์นิเวศน์ จึงได้เขียนบทความผ่านคอลัมน์โลกในมุมมองของ Value Investor แล้วรวมเป็นเล่มมาในธีม ลงทุนในตลาดหุ้น Sideways พร้อมแนวคิดที่น่าสนใจ แม้มันจะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่เราสามารถดึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียนได้ เนื้อหาภายในเล่มThe Next Thailand (and beyond)Scenario InvestingOperation Big BubbleSynthetic GrowthThe Zulu PrincipleTPP กับหุ้นCornerDon QuijoteGood Company in Bad IndustryWarrant = Worryจัดกลุ่มหุ้นจากผลประกอบการจิตวิทยาของคนเล่นหุ้นนักลงทุน 4 แนวบุคลิกภาพกับการลงทุนปัจจัยด้านต้นทุนฟองสบู่ (เล็กๆ) ของอสังหาริมทรัพย์ฟองสบู่ของนักลงทุนฟองสบู่ Nasdaq vs MAIลงทุนหุ้นเปลี่ยนชีวิตวิชาเทพ-วิชามารเวลาขายหุ้นซูเปอร์สต็อกสัญญาณจากเว็บบอร์ดสั้น vs ยาวHappy Moneyหน้ามือ-หลังมือหลอก VIเรื่องเหล็กเหล็ก (อีกแระ)ยีนกับการลงทุนกลยุทธ์สู่ความมั่งคั่งนิสัยบัฟเฟตต์M&A ยี่ห้อบัฟเฟตต์EQ ของบัฟเฟตต์ม้าลายในดงสิงห์ปรัชญา VI จากหนังสือลงทุนเสาหลักของการลงทุนอารมณ์ของนักลงทุนหนังสือเล่มเล็กตลาดหุ้นจีน - ซูเปอร์กาสิโนหุ้นในฝัน ปั่น 100 เด้งหุ้นแบงค์หุ้นมือถืออุตสาหกรรมดาวตกลงทุนในตลาด Sidewaysปรับใจสู่ความเป็นจริงบทเรียนหุ้นขาลง แนวคิดและความประทับใจที่ได้จากมุมมองของครีเอเตอร์ ได้เรียนรู้ว่านักลงทุนประกอบด้วย 4 แนว คือ1.แนวเทคนิค เน้นลงทุนระยะสั้นโดยอาศัยเครื่องมือ ราคา ปริมาณซื้อขายหุ้นในอดีต2.แนว Value Investment วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตัวบริษัทอย่างละเอียด เพื่อหามูลค่าที่แท้จริงก่อนลงทุน3.แนว Growth Investment ลงทุนในหุ้นเติบโต เน้นค้นหากิจการที่มีศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจสูงเป็นพิเศษ4.แนว Passive ลงทุนที่ไม่เน้นการเลือกหุ้น แต่เน้นกระจายการลงทุนในหุ้นจำนวนมากและจัดสรรให้เหมาะสมรองรับความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างเหมาะสมตามแผน ได้เรียนรู้ว่าคนลงทุนหุ้น น้อยคนนักจะใช้แนวทางเดียวอย่างเคร่งครัด แต่มักใช้แนวทางผสมผสานมากกว่า เช่น คัดเลือกหุ้นแบบ VI หรือ Growth แต่จังหวะซื้อหรือขายก็อาศัยดูกราฟทางเทคนิคช่วยหาจังหวะที่เหมาะสม ซึ่งตอบไม่ได้ว่าควรใช้วิธีไหน มันเป็นประสบการณ์ที่หล่อหลอมให้ตัวนักลงทุนรู้จักใช้แนวทางในแบบฉบับของตัวเอง ส่วน ดร.นิเวศน์มักชอบหุ้น Growth ที่มีความแน่นอนสูง และซื้อในราคาต่ำหรือยุติธรรมมากพอ ส่วนตัวครีเอเตอร์ชอบหุ้นที่รู้จักตัวธุรกิจอยู่แล้ว มีความแน่นอนในผลประกอบการ แม้โดไม่มากแต่ก็ไม่ผันผวนจนเกินไป ลงทุนแบบ VI รอรับปันผล ส่วนจังหวะขาย อาศัย Volume เพราะดูกราฟไม่เป็น ได้เรียนรู้ว่า ลงทุนแบบ VI มีความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ1.ถ้าเป็นคนบุคลิกภาพชอบเข้าสังคมมักไม่เหมาะกับ VI เพราะไม่ชอบในเรื่องของการวิเคราะห์หาเหตุผลความเป็นจริงของบริษัท เขามักเหมาะกับลงทุนผ่านกองทุนรวม2.บุคลิกภาพคนกล้าคิดกล้าทำ มักเหมาะกับการทำธุรกิจด้วยตัวเอง กล้าได้กล้าเสีย เป็นนักเทรดได้ดี แต่เป็น VI ไม่ได้3.บุคลิกแบบอนุรักษ์นิยม ไม่ชอบแหกกฎ เป็นผู้ตามที่ดี มักลงทุนแบบ VI ตามหลักการได้ แต่ไม่แน่ว่าจะเป็น VI ผู้มุ่งมั่นเสมอไป4.บุคลิกภาพแบบจริงจัง เหมาะกับงานที่ใช้ความเป็นชายสูง รวมถึงเรื่องของพละกำลัง อาจไม่เหมาะกับการลงทุนด้วยตัวเองสักเท่าไหร่ เพราะเข้าใจมิติด้านคุณภาพน้อยเกินไป แม้จะเก่งเรื่องคำนวณตัวเลขได้ดี5.บุคลิกภาพแบบสืบสวนสอบสวน ชอบหาเหตุผล ชอบหาความรู้ ชอบคิดมากกว่าลงมือทำ มักเก็บตัว ไม่สนใจสังคม ประเภทนี้เหมาะกับ VI พันธุ์แท้มากที่สุด เพราะมักมีความรู้หลายศาสตร์จากอุปนิสัยข้างต้น6.บุคลิกภาพแบบศิลปิน มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบทำตามใคร ไม่ชอบระเบียบแบบแผน ซึ่งยากจะนักลงทุน ได้เรียนรู้ว่าเวลาขายหุ้นซูเปอร์สต๊อก ควรมีเกณฑ์ดังนี้1.ตลาดของสินค้าของบริษัทนั้นอิ่มตัวแล้ว2.การแข่งขันเริ่มสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด3.หุ้นนั้น ทางบริษัทได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย และระเบียบใหม่จากหน่วยงานรัฐ4.ราคาหุ้นหรือมูลค่าหุ้นซูเปอร์สต๊อกสูงมากเกินไป ราวกับฟองสบู่ใกล้แตก เราก็อาจขายเพื่อลดความเสี่ยง ทั้งนี้หุ้นซูเปอร์สต๊อกมีค่า PE 30-40 เท่า ก็ยังไม่ถือว่าสูงเกินไปเพราะบริษัทมีศักยภาพที่จะโตไปเรื่อยๆ ได้เรียนรู้กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้น Sideways ที่ราคาไม่ขยับไปไหน1.ขายหุ้นทิ้งทั้งหมด ในกรณีที่ถือหุ้นมานานเกิน 5 ปีแล้วดัชนีหุ้นไม่ขึ้นเลย แต่หากยังมีจ่ายปันผลที่ดี เราอาจเลือกถือหุ้นต่อ2.ลงทุนในต่างประเทศที่มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตและราคาหุ้นยังถูกกว่า3.เลือกหุ้นที่มีผลตอบแทนปันผลที่ดีทั้งนี้ยังคงต้องรู้จักติดตามสถานการณ์และพร้อมปรับตัวตลอดเวลา ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ภายในเล่มยังมีแนวคิดที่ดีอีกมากเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่าเปรียบเทียบกับการลงทุนหุ้นด้วยกลยุทธ์อื่น มันทำให้เราเข้าใจถึงการลดความเสี่ยง ป้องกันเหตุสุดวิสัยที่เกิดจสกความผันผวนของราคา รักษาผลตอบแทนไว้ในระยะยาว ฯลฯ นอกจากนี้ช่วงปี พ.ศ.2558 เป็นช่วงที่ ดร.นิเวศน์เริ่มสำรวจตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามที่ต้องเฝ้าจับตาสังเกตเป็นพิเศษ เพราะถ้าจะลงทุนในเวียดนาม มันจะต้องเป็นการตัดสินใจที่อยู่กับมันไปนานๆ พร้อมทั้งเหตุผลด้วยว่าทำไมต้องเป็นที่เวียดนาม ? แน่นอนการลงทุนในหุ้นไทยไม่ได้ให้ผลตอบแทนเหมือนในอดีต การลงทุนในต่างประเทศจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าจับตามองบทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ เด็กวัดดอน ชีวิต ความฝัน และการลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรรีวิวหนังสือ Super Stock ในตลาดหุ้นเวียดนามรีวิวหนังสือ ลงทุนหุ้นท่ามกลางวิกฤติ โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรรีวิวหนังสือ ลงทุนแบบเฮดจ์ฟันด์ โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรรีวิวหนังสือ ฝ่าวิกฤติหุ้นด้วย VI พันธุ์แท้ โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรเครดิตภาพภาพปก โดย pikisuperstar จาก freepik.com ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย freepik จาก freeoik.com ภาพที่ 4 โดย jcomp จาก freepik.comเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !