จิ้งหรีดเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ลักษณะหัวและลำตัวจะติดกันมีปีกสองชั้น ชั้นนอกจะหนามีสีทึบส่วนชั้นในจะบางและมีสีใสใช้สำหรับบิน ขาคู่หลังใหญ่ใช้สำหรับกระโดดหนี จิ้งหรีดชอบกินยอดอ่อนของพืช รากพืช หัวมันที่อยู่ใต้ดิน จึงจัดว่าเป็นแมลงศัตรูพืชเช่นกัน แต่ชาวบ้านก็นิยมจับจิ้งหรีดมารับประทานเป็นอาหาร เพื่อลดประชากรของจิ้งหรีดไม่ให้ไปกัดกินพืชที่ปลูกเอาไว้ เมื่อก่อนจะรับประทานจิ้งหรีดต้องออกไปหากันตามท้องไร่ท้องนา แต่ปัจจุบันได้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได่อย่างาม เพราะว่าจิ้งหรีดใช้เระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงไม่นานก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว และที่บ้านสวนของผู้เขียนเองก็ได้เลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์ทองดำเพื่อขายเป็นอาชีพเสริม และเป็นที่ศึกษาดูงานของชาวบ้านด้วย วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการเลี้ยงที่ช่วยประหยัดต้นทุนมาฝากกันค่ะวิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด1. การเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด ที่บ้านสวนของผู้เขียนทำบ่อขึ้นมาเองโดยดัดแปลงมาจากเล้าไก่ ล้อมรอบด้วยแผ่นเรียบ บริเวณขอบจะปิดด้วยเทปกาวป้องกันจิ้งหรีดหนีออกไป และด้านบนปิดด้วยตาข่าย เพื่องป้องกันสัตว์ที่จะมากินจิ้งหรีด เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก หนู ไก่2. ข้างในจะวางแผงไข่ที่เป็นกระดาษเอาไว้ทั้งหมด ด้านบนเอาแผ่นไม้มาวางไว้เพื่อจะได้วางอาหารและน้ำให้จิ้งหรีดกิน ที่ว่างตรงกลางบ่อจะวางใบตองแห้งเอาไว้เพื่อให้จิ้งหรีดได้หลบซ่อน ป้องกันการกัดกันเองของจิ้งหรีด เครดิตภาพโดย ผู้เขียน3. อาหารจิ้งหรีดแรกเกิดคืออาหารไก่และรำละเอียดผสมกันที่อัตรา 1:1 จิ้งหรีดอายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไปเราจะเริ่มให้ผักที่มีอยู่ในสวนเพื่อจะได้ประหยัดต้นทุน โดยผักที่จิ้งหรีดชอบกินมากคือ ผักโขม ผักไชยา ผักบุ้ง ผักกาด ฟักทอง แตงกวา หยวกกล้วย เป็นต้น4. เมื่ออายุได้ 3 สัปดาห์ จิ้งหรีดเริ่มที่จะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ระยะนี้จิ้งหรีดจะกินอาหารมากดังนั้นจะต้องให้อาหารเสริมด้วย เพราะจิ้งหรีดเมื่อโตเต็มวัยก็เริ่มจะผสมพันธุ์ เพื่อวางไข่ เครดิตภาพโดย ผู้เขียน5. เมื่อจิ้งหรีดผสมพันธุ์เสร็จแล้วจะเริ่มวางไข่ เราจะหาวัสดุที่ชุ่มน้ำ เช่น ขุยมะพร้าวแช่น้ำทิ้งให้สะเด็ดน้ำ ทรายชุ่มน้ำเพื่อให้จิ้งหรีดไข่ ระยะนี้จิ้งหรีดต้องการอาหารเสริมเราจะให้อาหารไก่ผสมกับรำละเอียดและฟักทองเป็นหลัก หลังจากที่จิ้งหรีดวางไข่แล้วเราจะงดอาหารไก่และจะให้เฉพาะฟักทองหรือมันแกวอย่างเดียวเพื่อให้จิ้งหรีดไม่มีกลิ่นของอาหารไก่และจะมีรสหวานมันจากฟักทองและมันแกวแทน เครดิตภาพโดย ผู้เขียนโดยธรรมชาติแล้วจิ้งหรีดเป็นแมลงที่กินพืชเป็นหลักอยู่แล้ว ดังนั้น ผักที่อยู่ในสวนก็สามารถเก็บเอามาให้จิ้งหรีดกินได้หมด ถือเป็นการเลี้ยงที่ประหยัดต้นทุนไปได้มากทีเดียว หากใครจะนำไปวิธีนี้ไปประยุกต์และดัดแปลงวิธีการเลี้ยงให้ได้ผลดีก็ได้นะคะ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่าน วันนี้ผู้เขียนต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ ขอบคุณภาพหน้าปก https://pxhere.com/th/photo/839050