เรื่องและภาพ โดย วรกร เข็มทองวงศ์เมื่อพูดถึงรถไฟ หลายคนนึกถึงความเนิบช้า บรรยากาศที่เหมาะกับการเดินทาง เพื่อบันทึกประสบการณ์การท่องเที่ยว และความทรงจำที่ต้องลองสักคร้งในช่วงชีวิตแต่ครั้งนี้ ผมจะพูดถึงประวัติศาสตร์ของรถไฟ และทางรถไฟสายแรกเริ่มของประเทศ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการส่วนตัว ผมรับรับรู้ด้วยความคุ้นชิน เพราะพื้นถิ่นอยู่สมุทรปราการ และขับขี่รถจักรยานยนต์ไปทำงาน ทำธุระ บนถนนที่ถูกเรียกว่า ทางรถไฟสายเก่า จนไม่ต้องนับจำนวนการเคลื่อนไปบนถนนสายนี้ รวมทั้งสมัยเรียนมัธยม ยังเดินข้ามรางรถไฟ ที่ครั้งนี้คือเส้นทางการเดินรถตลอด 3 ปีของชีวิตนักเรียนมัธยมปลายจนถึงวันนี้ ผมเกิดความสงสัยว่า แล้วทางรถไฟเดิม ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเส้นทางสัญจรโดยรถไฟ หายไปไหนทั้งหมด แล้วทุกวันนี้ ยังมีอะไรที่จะสามารถเป็นตัวแทนบอกเล่า เกร็ดประวัติศาสตร์ที่กำลังจะเลือนหายไป นอกจากอนุสรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นที่ตัวจังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นปลยทางของสายรถไฟสายนี้ในช่วงจังหวะของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ผมใช้เวลาตรวจสอข้อมูลและดูแผนที่ เทียบกับข้อมูลที่อ่านพบจากระบบการค้นหาออนไลน์ พบว่า สะพานที่อยู่ในส่วนคลังน้ำมันที่อนุญาตให้รถวิ่งผ่าน เป็นเส้นทางลัด มีสะพานทางรถไฟดั่งเดิมหลงเหลืออยู่ ไม่รอช้าผมรีบขี่รถจักรยานยนต์คู่ใจ ไปดูสถานที่จริงทันทีสะพานดังกล่าว อยู่ข้างสะพานข้ามคลองพระโขนงที่ผมผ่านเป็นปกติ โครงสร้างโดยรวมยังถือว่าแข็งแรงทีเดียว รวมทั้งยังมีรางรถไฟ ที่แม้จะไม่ใช่ของเดิม เพราะก่อนหน้านี้ขบวนรถไฟขนส่งน้ำมันเคยใช้สัญจร แต่เมื่อเทียบแผนที่แล้ว พบว่ารางรถไฟเหล่านี้ สร้างอยู่บนเส้นทางเดิมของรถไฟปากน้ำ-กรุงเทพฯ แต่ในรางส่วนอื่น ๆ นั้น ถูกกลบเปลี่ยนเป็นถนนไปหมดแล้วสำหรับ ทางรถไฟสมุทรปราการ –กรุงเทพฯนั้น ถือว่าเป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศอย่างแท้จริง เพราะมีหลักฐานระบุชัดเจนว่า ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดเดินรถครั้งแรก วันที่ 11 เมษายน ปี 2436 ซึ่งเดินรถก่อนทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อยุธยา ถึง 3ปี โดยการดูแลรถไฟในเส้นทางนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท รถไฟปากน้ำทุน จำกัด ระยะสัมปทาน 50 ปีสำหรับสถานีในเส้นทางรถไฟนี้ มีทั้งสิ้น 12 สถานี เริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพง และสิ้นสุดที่สถานีศาลากลางจังหวัดปากน้ำภายหลังบริษัท รถไฟปากน้ำทุน จำกัด หมดสัมปทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย ซื้อกิจการมาทำต่อในระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่ในปี 2503 นั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีคำส่งให้ยกเลิกกิจการการเดินรถไฟสายนี้ลงอย่างเป็นทางการ และได้ปรับปรุงพัฒนาการก่อสร้างถนนพระราม 4 และ ถนนทางรถไฟสายเก่าขึ้น โดยมีการเกลี่ยพื้นที่ถมทางรถไฟหลายส่วน รวมทั้งคูคลองปิดตำนานของทางรถไฟสายแรกของประเทศลงอย่างสิ้นเชิง นับตั้งแต่นั้น....