เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2060093/ สวัสดีครับวันนี้พบกันอีกแล้วกับกฎหมายดี ๆ สไตล์ผู้เขียน วันนี้อยากนำเสนอเรื่องใกล้ตัวเรา ๆ ท่าน ๆ นี้หละครับบางครั้งกับเรื่องที่เราไม่คิดว่ามันจะเป็นเรื่อง มันก็เป็นเรื่องขึ้นมาจนได้ เคยได้ยินหรือไม่ครับว่า “พี่น้องฆ่ากันแย่งมรดกของพ่อ” หรือ “พี่แค้นน้องโกงมรดกฆ่าดับอนาถยกครัว” หรือ “ทุบหัวโหดสมภารวัดดังแค้นปมมรดกไม่ลงตัว” อะไรประมาณนี้ครับ แต่วันนี้ผู้เขียนไม่ได้นำเสนอเรื่องมรดกนะครับแต่จะเป็นเรื่องของความชัดเจนในการรับมรดกครับนั้นก็คือ “เรื่องของพินัยกรรม” เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-620011/ จริง ๆ แล้วการทำพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มี 5 ประเภทได้แก่ 1. พินัยกรรมแบบธรรมดา 2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง 4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา แต่วันนี้ผู้เขียนอยากนำเสนอพินัยกรรมประเภทที่ 2 ครับ คือ พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ มาดูกันครับว่าประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ได้วางหลักในเรื่องดังกล่าวไว้ว่าอย่างไร มาตรา 1657 ผู้เขียนสรุปได้ดังนี้ครับ 1. พินัยกรรมนั้นต้องเขียนเองทั้งฉบับ ต้องเขียนด้วยมือผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น 2. ข้อความทั้งหมดต้องระบุ วัน เดือน ปี และลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น 3. การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นต้องทำด้วยมือผู้ทำพินัยกรรม และลงลายมือชื่อกำกับไว้ ถ้าไม่เช่นนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์ 4. ต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น ห้ามประทับนิ้วมือ (แล้วมีคนรับรองว่าเป็นลายประทับนิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม) หรือทำเครื่องหมายใด ๆ แทนการลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-3261425/ ทีนี้มาดูกันครับว่าปัญหาที่พบมักจะเป็นอย่างไร คำถาม : คำว่าเขียนเองด้วยมือผู้ทำพินัยกรรมจะพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่....มีตัวเลือกให้เลือกครับ ก. ได้เพราะการพิมพ์ก็ถือว่าเป็นการเขียน ข. ไม่ได้เพราะต้องเขียนด้วยมือเท่านั้น ค. ไม่แน่ใจ ง. ยังไงก็ได้เพราะก็ออกจากผู้ทำพินัยกรรมอยู่แล้ว...... เฉลย คำตอบ : ไม่ได้นะครับ คำว่าเขียนเองด้วยมือ คือ ต้องเขียนด้วยมือตนเองเท่านั้นจะพิมพ์ไม่ได้เด็ดขาด อ่อ...ให้ผู้อื่นเขียนแทนก็ไม่ได้นะครับ คำถาม : หากไม่ได้ระบุวัน เดือน ปี และไม่ลงลายมือชื่อพินัยกรรมจะมีผลอย่างไร คำตอบ : ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมครับง่าย ๆ คือ ยังไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมหรืออีกนัยหนึ่งก็หมายความว่ายังใช้ไม่ได้ คำถาม : การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นหากผู้ทำพินัยกรรมไม่ลงลายมือชื่อกำกับไว้จะมีผลอย่างไร คำตอบ : จะกลายเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ครับ คือ ใช้บังคับไม่ได้ เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2196609/ พินัยกรรมแบบเขียนเองนี้จะมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกอย่างผู้ทำพินัยกรรมต้องทำเองหมดไม่ว่าจะเขียน จะขูด ลบ ตก เติม หรือแม้แต่การลงลายมือชื่อต้องทำเองทั้งสิ้นจะให้ใครคนใดคนหนึ่งทำแทนไม่ได้เด็ดขาดนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเอง (แต่อาจจะไปเข้าลักษณะของพินัยกรรมประเภทอื่นแทนก็ได้) เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/images/id-3309829/ ที่นี้มาดูกันครับว่าการเขียนพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับต้องเขียนด้วยมือ (ต้องเขียนด้วยลายมือของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้นนะครับ ห้ามพิมพ์ (ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านได้เห็น และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น) เครดิตภาพจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.) เห็นไหมละครับว่าหากทำให้มีความชัดเจนตั้งแต่แรก ปัญหาในเรื่องมรดกก็คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นในอนาคต....นี่ผู้เขียนก็กำลังจะทำพินัยกรรมเหมือนกันครับแต่ติดปัญหาว่า ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะเอามาเขียนในพินัยกรรม...(ฮากันเข้าไป....) สำหรับวันนี้เท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ.....