อ่านแบบให้เป็น การอ่านแบบก่อสร้าง สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการก่อสร้าง มักจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับเจ้าของบ้านที่มีบ้านเป็นของตัวเองครั้งแรกอาจจยังไม่รู้แบบ และคงเป็นเรื่องที่ยากมากในการทำความเข้าในในแบบก่อสร้าง แต่ถ้าเจ้าของบ้านอ่านแบบบ้านเป็น จะช่วยให้การสื่อสารกับผู้ออกแบบและช่างรับเหมาได้ดียิ่งขึ้น และเคลียร์แบบในส่วนที่เราไม่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องรู้คือ คำศัพท์ในแบบ หรือที่เรียกว่า “ศัพท์ช่าง” เช่น ตีเต้า ปูพื้นแบบซาลาเปา บังใบ สลัดดอก ฯลฯ ภาพโดย pisauikan จาก Pixabay เจ้าของบ้านจะต้องรู้จักภาพรวมของแบบแต่ละแผ่น ซึ่งถ้าเป็นแบบบ้าน มักนิยมใช้ แบบพิมพ์เขียวหรือแบบพิมพ์ขาว ขนาด A4 หรือ A3 แล้วแต่ขนาดของบ้าน แบบก่อสร้าง 1 ชุด จะประกอบไปด้วย แบบงานสถาปัตยกรรม แบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง แบบงานระบบไฟฟ้า และ แบบงานสุขาภิบาล แต่บางแบบอาจจะมีแบบ Interior (แบบตกแต่งภายใน) แบบแปลนก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการเสมอ ประกอบด้วยแบบสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย รายการประกอบแบบ แปลนพื้น รูปด้าน รูปตัด และแบบขยายรายการประกอบแบบ จะใช้ดูว่า รายละเอียดวัสดุที่ระบุไว้มีอะไรบ้าง ภายในรายการประกอบแบบจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ในแบบเพื่อใช้อ้างอิงในแบบแปลน รูปด้าน และรูปตัดแปลนพื้น จะบอกตำแหน่งขนาดห้องต่าง ๆ ตำแหน่งช่องเปิดต่าง ๆ ฯลฯรูปด้าน จะจะบอกถึงภาพการมองรอบ ๆบ้านทั้ง 4 ด้าน ใช้ดูวัสดุต่าง ๆ และส่วนประกอบของบ้านรูปตัด จะใช้ดูระดับความสูงของแต่ละชั้นรวมไปถึงดูโครงสร้าง ดูระยะความสูงจากท้องพื้นถึงฝ้าเพดานบ้านแบบขยาย ใช้ดูแบบที่ขยายใหญ่ หรือ แบบซูม เพื่อดูรายละเอียดที่ชัดเจมากขึ้น ภาพโดย ผู้เขียน สัญลักษณ์ที่เห็นในแบบสถาปัตยกรรมมักประกอบไปด้วย สัญลักษณ์พื้นผิว สัญลักษณ์เส้นบอกระยะแบบบ้าน สัญลักษณ์รูปตัดและแบบขยาย สัญลักษณ์รูปด้าน สัญลักษณ์ประตู สัญลักษณ์ผนัง สัญลักษณ์ประกอบห้อง และ สัญลักษณ์หน้าต่างภาพโดย ผู้เขียน เมื่อทำความรู้จักกับแบบบ้านไปแล้ว ทีนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแบบวิศวกรรม แบบวิศวกรรม ประกอบด้วย รายการประกอบแบบ แปลนฐานราก แปลนโครงสร้างต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้สัญลักษณ์ต่างๆ ของแต่ละที่อาจจะแตกต่างกัน โดยในแปลนตัวอย่าง ใช้ B=คาน, C=เสา และ F=ฐานราก ภาพโดย ผู้เขียน ในงานแบบระบบไฟฟ้า จะประกอบด้วย รายการประกอบแบบ แปลนแสดงผังไฟฟ้า แปลนเต้าเสียบ สวิตซ์ ฯลฯภาพโดย ผู้เขียน และสุดท้าย แบบงานระบบสุขาภิบาล ส่วนมากในแปลนจะบอกเกี่ยวกับระบบบ่อน้ำดี-น้ำทิ้ง แปลนท่อระบายน้ำ บ่อพักน้ำ บ่อดักขยะ และบ่อดักไขมัน ฯลฯ ภาพโดย ผู้เขียน ทีนี้พอเรามีความรู้เบื้องต้นในการดูแบบแปลนบ้าน เวลาจะสื่อสารกับผู้รับเหมา วิศวกร และสถาปนิก ก็จะง่ายขึ้นเผื่อมีการแก้ไขในแบบตรงจุดไหนก็จะได้แก้ทันที และการสร้างบ้านก็จะเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ อย่างๆก็ทำให้เรารอบครอบขึ้น ไม่เสียทั้งเงินที่เกินความจำเป็นและไม่เสียทั้งความรู้สึก ภาพหน้าปกโดย Christian Reil จาก Pixabay