จากคอร์สสัมมนาของ The Money Coach มาสู่หนังสือความรู้ทางการเงินแบบเจาะลึกฉบับมนุษย์เงินเดือนที่บริหารเงินเป็นอย่างละเอียด กลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้ คนไทยฉลาดการเงิน (Money Literacy) หนังสือที่ว่าด้วยความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานที่คนไทยต้องรู้แบบเจาะลึก หนังสือเล่มนี้เขียนโดย จักรพงศ์ เมฆพันธุ์ ถนอม เกตุเอม และศักดา สรรพปัญญาวงศ์ มาถ่ายทอดความรู้ทางการเงินอย่างละเอียด เนื้อหาภายในเล่มภาคที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางการเงินภาคที่ 2 การบริหารสภาพคล่องภาคที่ 3 การจัดการความเสี่ยงทางการเงินภาคที่ 4 การวางแผนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลภาคที่ 5 การวางแผนเกษียณรวยภาคที่ 6 การวางแผนเกษียณเร็ว แนวคิดที่ได้ภายในเล่มจากมุมมองของผู้เขียนความสัมพันธ์ของสองงบการเงิน (งบแสดงฐานะการเงินและงบรายรับ-รายจ่าย) คือ ทรัพย์สิน และ หนี้สิน ทรัพย์สินทำให้เกิดรายรับ เช่น เงินฝากหุ้น กองทุนรวมที่จ่ายปันผลให้เรา อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าที่ทำแล้วได้กำไร หนี้สิน ทำให้เกิดรายจ่าย เช่น หนี้กู้ซื้อบ้าน หนี้กู้ยืมการศึกษา ความรู้ทางการเงินที่มากขึ้นก็ช่วยให้เรารู้จักสร้างทรัพย์สินให้มากกว่ารายจ่ายนั่นเอง วิธีคำนวณงบประมาณรายวัน หาได้จาก รายจ่ายผันแปร หารด้วย จำนวนวัน เช่น นายแดงมีรายจ่ายผันแปร ทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ รวมต่อเดือน 18,000 บาท และกำหนดให้ 1 เดือนมี 30 วัน จะได้เป็น 18,000/30 = 600 บาท พูดง่ายๆ ถ้าฝน 1 วัน นายแดงใช้จ่ายไม่เกิน 600 บาทต่อวัน ภายในสิ้นเดือนนายแดงจะมีเงินเหลือเก็บเพิ่มจาก 10% ที่หักออมไว้อย่างแน่นอน ระดับของหนี้ที่เหมาะสม1.กรณีที่ไม่มีการผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ (มีแต่หนี้บริโภค) ก็ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายเงินผ่อนเกินระดับ 15% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งคำนวณได้จาก เงินค่าผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน หารด้วย รายได้ต่อเดือน × 100 เช่น มีหนี้ผ่อนชำระขั้นต่ำ 6,500 บาท มีเงินเดือน 20,000 บาท จะได้เป็น 6,500/20,000 × 100 = 32.5% ซึ่งแปลว่าหนี้สินอยู่ในระดับไม่เหมาะสม2.กรณีมีการผ่อนบ้านและรถยนต์ ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายเงินผ่อนเกินระดับ 35-40% ของรายได้ต่อเดือน เมื่อคำนวณด้วยวิธีการเดียวกันทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวได้คำนึงถึงรายจ่ายภาคบังคับอย่างเงินออม รายจ่ายภาษี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม ยังเหลือรายจ่ายจำเป็นของเราไว้แล้ว สัญญาณอันตรายที่เตือนว่ากำลังมีหนี้มากเกินไป1.เริ่มผ่อนชำระขั้นต่ำ พร้อมมีภาระดอกเบี้ยเข้ามาด้วยไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี2.เงินผ่อนหนี้ต่อรายได้ แตะระดับ 40%3.กู้เงินมาผ่อนหนี้ 7 ขั้นตอนปลดหนี้1.สัญญากับตัวเองว่าจะจัดการกับหนี้สินที่มีอยู่ให้หมด2.หยุดก่อหนี้เพิ่ม3.ตรวจสอบวงเงินหนี้คงค้างทั้งหมด ให้รู้รายละเอียดว่าเป็นหนี้ประเภทใดบ้าง บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล หนี้คงเหลือเป็นวงเงินเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยของหนี้แต่ละก้อนอยู่ที่เท่าไร ยอดชำระขั้นต่ำคือเท่าไรจะได้วางแผนถูก อย่าทำเป็นไม่รับรู้ เพราะถ้าหนีความจริงนานวันเข้าหนี้จะพอกพูนขึ้นกว่าเดิม4.หาเงินก้อนมาชำระหนี้ เช่น โบนัส ค่าคอมมิชชั่น ค่าจ้างพิเศษต่างๆ ขายของมือสอง ด้วยเงินปลอดภาระ ทั้งนี้เราไม่ควรกระจายเงินบ่งจ่ายหนี้หลายรายการ แต่ให้มุ่งปิดหนี้ลงทีละรายการจะดีกว่า โดยเลือกจากหนี้ที่เหลือค้างชำระต่ำสุดก่อน ถ้ามีหนี้ก้อนไหนอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดก็ให้ชำระหนี้ก้อนนั้นก่อน เพื่อให้เจ้าหนี้ลดลงไปทีละรายการ 5.พูดคุยกับสถาบันการเงินเพื่อขอปรับลดดอกเบี้ยหรือทำการรวมหนี้ เพื่อชำระเป็นก้อนเดียว (Debt Consolidation) แม้จะไม่รับประกันว่าจะได้รับการตอบรับ แต่ย่อมมีโอกาสดีกว่าไม่ขออย่างแน่นอน อย่ารอให้จ่ายไม่ไหวแล้วค่อยไปคุย ทั้งนี้เพื่อจะได้รับการลดดอกเบี้ย ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเพื่อช่วยรักษาสภาพคล่องของเราเองไว้ก่อนก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็ต้องตรวจสอบหากต้องการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว คือเงื่อนไขการชำระ ต้องผ่อนต่อเดือนน้อยลงกว่าเดิมอัตราดอกเบี้ย ตรวจสอบว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นเท่าไหร่ เพราะมันควรถูกกว่าดอกเบี้ยที่ผ่อนชำระอยู่ อัตราดังกล่าวนานเป็นเวลากี่เดือน ต้นทุนทั้งหมดเป็นเท่าไรเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ อย่ากลับเข้าสู่วังวนของการสร้างหนี้ใหม่เพียงเพราะมองว่าตนปลอดภาระแล้ว6.วางแผนชำระคืนอย่างชาญฉลาด7.ใช้ยาแรง กรณีหนี้หนัก แม้ผ่อนขั้นต่ำก็ยังไม่พอจ่าย นั่นคือ หยุดชำระหนี้ชั่วคราว และสะสมเงินคืนเพื่อเจรจาแก้ไขปัญหาในภายหลัง อาจต้องเสียเครดิตไประยะหนึ่ง แต่เครดิตที่แย่สามารถแก้ไขกลับมาดีได้ ภัยทางการเงิน มีอะไรบ้าง1.ภัยต่อชีวิตและสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต2.ภัยต่อทรัพย์สิน เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ทำให้บ้านและทรัพย์สินของมีค่าเสียหาย สูญหาย3.ภัยต่อครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก หมายถึง ภัยหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว ซึ่งส่งผลทำให้เราต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว4.ภัยต่อความรับผิด หมายถึง ภัยที่เกิดจากภาระรับผิดชอบในหน้าที่การงานหรืออาชีพ เช่น ถูกฟ้องร้องค่าเสียหายต่อแพทย์ผู้ให้การรักษา หรือผู้รับเหมาถูกฟ้องร้องค่าเสียหาย กรณีที่ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เป็นต้น วิธีจัดการความเสี่ยงให้ตัวเอง1.หลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยการละเว้น หลีกหนีสิ่งที่เป็นภัยหรือความเสี่ยงโดยเด็ดขาด เช่น เราทำอาชีพที่ต้องใช้กำลังในการจัดของ แต่เรามีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่นนี้เราก็อาจจะพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนงาน2.ลดความเสี่ยง ลดและควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงไม่ให้ภัยเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นก็สามารถบรรเทาผลกระทบให้สามารถจัดการได้ เช่น ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานให้ครบ 5 หมู่ วางระบบตัดไฟฟ้าป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าลัดวงจรในบ้าน3.โอนความเสี่ยง ความหมายก็คือการทำประกันนั่นเอง4.การรับความเสี่ยงไว้เอง คือ การที่เราประเมินแล้วว่าภาระที่เกิดขึ้นจากภัยดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่เราจัดการได้ การเลือกทำประกันภัยโรคร้ายแรงนั้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้1.ความครอบคลุมของกรมธรรม์2.เงื่อนไขการจ่ายประกัน ต้องชัดเจนและเหมาะสมตามลักษณะของโรคและระดับอาการ3.วงเงินเอาประกัน ต้องเพียงพอต่อการรักษาพยาบาล4.เบี้ยประกัน ต้องอยู่ในระดับที่ผู้เอาประกันรับภาระไหว ไม่กระทบกับสภาพคล่อง โดยปกติคนเราควรมีเงินสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน อย่างน้อยเท่ากับรายจ่าย 6 เดือนหรือมากกว่านั้น ซึ่งเริ่มสะสมจากรายได้มาออมขั้นต่ำ 10% โดยส่วนตัวของครีเอเตอร์แล้วมองว่าหนังสือ MONEY 101 จะช่วยให้เข้าใจภาพรวมได้ดีกว่า อีกทั้งได้ความรู้ที่จำเป็นอีกด้วย แต่ถ้าอยากเจาะลึกความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานอย่างละเอียดจริงๆจากผู้เขียนทั้ง 3 ท่าน หนังสือเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ท่านได้ ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้ก็คือ มันอาจจะต้องติดตามจากสถานการณ์ของกฎหมายภาษีแบบปัจจุบัน โดยการตีพิมพ์ครั้งล่าสุดจะให้ข้อมูลอัปเดตถูกต้องมากกว่า หมายความว่า ถ้ากฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคตข้างหน้า เราก็ต้องหาทางรู้ ทำความเข้าใจกับมันได้ อย่างน้อยหนังสือเล่มนี้ก็ทำให้เข้าใจแนวคิด พอถึงเหตุการณ์ที่กฎเกณฑ์บางอย่างเปลี่ยนไป เราก็จะเรียนรู้เป็นและทำความเข้าใจกับมันได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การลงมือทำจริงของผู้อ่านว่าจะช่วยให้ชีวิตมีสภาพคล่องได้ดีขึ้น รู้จักปรับใช้ประยุกต์หาทางเอาความรู้ความสามารถเฉพาะตนเอามาทำเป็นอาชีพที่สอง ธุรกิจที่สาม งานเสริมที่สี่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการมีอิสรภาพทางการเงินนั่นเอง เครดิตภาพ ภาพปก โดย jcomp จาก freepik.com ภาพที่ 1 2 3 และ 4 โดยผู้เขียนภาพที่ 5 โดย jcomp จาก freepik.comภาพที่ 6 โดย jcomp จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจ(รีวิว) หนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุขรีวิวหนังสือ THE RICHEST MAN IN BABYLON เศรษฐีชี้ทางรวยรีวิวหนังสือ ถอดรหัสลับสมองเงินล้านข้อคิดที่ได้จาก MONEY COACH ON STAGE SPECIALรีวิว บันทึกการแสดงสด MONEY COACH ON STAGE 5 ได้เวลาอยู่ดีกินดี...ซะทีเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !