สวัสดีครับคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกๆท่าน วันนี้ผมจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง "การพัฒนาชุมชนคืออะไร" มีความหมายอย่างไรและเพื่อใคร ไปอ่านกันเลยครับ ^^"การพัฒนาชุมชน หมายถึงกระบวนการพัฒนาชุมชน ที่ประกอบด้วย 2 หลักการ คือ 1.การพัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนสภาพปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม2.ชุมชน หมายถึง การรวมตัวของบุคคลกลุ่ม/องค์กรชุมชนเครื่อข่ายองค์กรชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่่ในขอบเขตพื้นที่หนึ่งๆซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระดับพื้นฐานที่สุดคือหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีการรวมตัวร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกันเช่นชุมชนลุ่มน้ำชุมชนวัฒนธรรมเป็นต้นผู้เขียนจะอธิบายถึงหัวใจ ของการพัฒนาชุมชนนั้นก็คือ "เริ่มต้นที่ประชาชนยืนจุดเดียวกับประชาชนมองโลกมองชีวิตมองปัญหาจากทัษนะของประชาชน" เพื่อให้เข้าใจถึงปัยหาความต้องการของประชาชน "เพื่อให้เข้าถึงจิตใจของประชาชน" นั้นคือหัวใจของหลักการพัฒนาชุมนโดยที่การพัฒนาชุมชนที่ดีนั้นควรทำงานร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ (ไม่ควรทำให้ประชาชน) เพราะจะเป็นการพลักภาระการดูแลท้องถิ่นของตนเองให้หน่วยงานเพียงอย่างเดียว ทำสำคัญจะทำให้ประชาชนเข้าใจปัญหาของตนเองและมีกำลังใจลุกขึ้นต่อสู้กับปัญญาช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขปัญหานั้นย่อมมีหนทางที่จะกระทำได้โดยไม่ยากหากเข้าใจถึงปัญหาและเข้าใจถึงจิตใจในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆกระบวนการพัฒนาชุมชน ต้องอาศัยส่วนร่วมในการพัฒนาซึ้งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆร่วมกันคิดวิเคราะหืและตัดสินใจในการวางแผนการติดตามกิจกรรมต่างๆโดยภาพรวมโดยการพัฒนาชุมชนนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆเป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆในชุมชนเช่นข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองและสภาพคงามเป็นอยู่ของคนในชุมชนเพื่อเข้าถึงปัญหาด้านต่างๆและความต้องการของชุมชนที่แท้จริงแล้วผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า การพัฒนาชุมชนมีกระบวนการวิธีซึ่งให้ได้มาจากแหล่งข้อมูลได้อย่างไร.....? ง่ายมากๆครับ นั้นก็คือการลงพื้นที่สำรวจโดยยึดหลักปฏิบัติที่ว่า "ชุมชนไม่มาเราก็ไปหาชุมชน" นั้นเองด้วยการสัมภาษณ์การสำรวจและการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่มีอยู่หรือผู้นำชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดโดยยึดหลักคสามสัมพันธ์กับคนในชุมชนหรือชาวบ้านโดยความสนิทใจอีกวิธีที่สำคัญและเข้าถึงได้เร็วที่สุดก็คือการให้การศึกษาการบริการวิชาการให้ความรู้ในชุมชนนั้นๆแบบถึงถิ่นเป็นการวิเคราะหืปัญหาร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆที่ได้จากขั้นตอนแรกนั้นมาศึกษาและแยกประเด็นการวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและสภาพปัญหาที่แท้จริงผลกระทบและความเสียหายในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆว่าการพัฒนาชุมชนจะสามารถเข้าไปแก้ไขได้ในจุดใดและสามารถแก้ไขร่วมกันได้หรือไม่ในอนาคตด้วยวิธีและกระบวนการที่ยั่งยืนโดยส่วนใหญ่นักพัฒนาชุมชนมักจะใช้หลักการส่งเสริมและการทำงานร่วมกันกับชุมชนนั้นๆเพื่อให้เกิดการบูรณาการที่ดีต่อกันอย่างยั่งยืนหลักการพัฒนาชุมชนด้วยหัวใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญก็คือการเปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมกันคิดวิเคราะห์ตัดสินใจแก้ปัญหาร่วมกันไม่ควรยกเป็นภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและควรมีการตรวจเยี่ยมโดยคิดว่าชุมชนก็คือญาติพี่น้องที่รอคอยการกลับมาฉันมิตรขั้นตอนและวิธีการโดยหลักปฏิบัติการพัฒนาชุมชนที่ดีมี 5 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมริเริ่มการพัฒนาชุมชนขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นส่วนโดยให้ชุมชน/ประชาชนนั้นมีส่วนร่วมกับกิจกรรมขั้นตอนที่ 3 การสร้างประโยชน์ในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐโดยการขับเคลื่อนแบบบูรณาการชุมชนขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากากรพัฒนาชุมชนทั้งการได้รับผลประโยชน์ทางวัตถุและจิตใจขั้นตอนที่ 5 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการประเมินผลการพัฒนาชุมชนว่าสำเร็จมากน้อยเพียงใดโดยผ่านการประเมินผลรวมสรุปยอดแบบง่ายๆเข้าใจง่ายๆเป็นต้นแนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรเอกชนและภาคประชาสังคมในการพัฒนาชุมชนนโยบายของรัฐเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเป้าหมายและยุทธศาสตร์ชาติเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในการพัฒนาชุมชนชนบทโโยการส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมชุมชนท้องถิ่นหรือการให้บริการในชุมชนเสริมสร้างความสะดวกให้กับชุมชนนั้นๆด้วยความสมัครใจโดยไม่มีหลักประกันใดๆหรทอข้อบังคับใดๆในชุมชนนั้นๆเพื่อให้นโยบายรัฐและเอกชนเป็นส่วนขับเคลื่อนโดยจุดประสงค์ของการพัฒนาชุมชนนั้นๆด้วยการร่วมมือการพัฒนาชุมชนเป็นตัน (จปฐ.) โดยรัฐและเอกชนสามารถส่งเสริมเรื่องกระบวนการพัฒนาอาชีพในชุมชนการสร้างงานฝีมือการให้ความรู้เกี่ยวกับการแปลรูปหรือจัดทำผลิตภัณท์ท้องถิ่นเพื่อประโยชน์และรายได้ในชุมชน.โดยความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนมีความคิดเห็นที่ว่า การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมจากทางภาครัฐก็ดีหน่วยงานเอกชนก็ดีจนถึงระดับที่มีการจัดระเบียบทางสังคมจนกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ได้รับการยอมรับและมีข้อตกลงร่วมกันที่จะยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการพัฒนาชุมชนของแต่ละฝ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชุมชนนั้นๆโดยหลักการ พึ่งพาตนเองให้มากที่สุดดูแลตนเองได้ดีที่สุด "ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยความพอดีเพื่อความมั่นคงในชุมชน" ..... สวัสดี ^^" โปรดติดตามข่าวสารดีๆ : Kreangkai E.เขียนบทความโดย อาจารย์เกรียงไกร เอกเกื้อบุญ B.P.S & B.P.A***ขอบคุณ******เครดิตภาพ***-รูปภาพ- ประกอบหน้าปก pixaboy_sasint-รูปภาพ- ประกอบที่ 1,2,3 กรมการพัฒนาชุมชน-รูปภาพ- ประกอบที่ 4 pixabay_sasint-รูปภาพ- ประกอบที่ 5 pixabay_Bob_Dmytเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !