หลาย ๆ คนกินกาแฟเพื่อแก้ง่วง หวังให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีแรงทำงานต่อ แต่เชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อยที่กินกาแฟ แต่ก็ยังง่วง แล้วทำไมถึงเป็นยังงั้นนะ วันนี้เรามาดูสาเหตุกันในกาแฟนั้นจะมีสารที่เรียกว่า"คาเฟอีน"ซึ่งจัดเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเมตาบอลิซึมหรือกลไกการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย เพื่อลดความง่วง ความเหนื่อยล้า และจะส่งผลกระตุ้นเส้นประสาท โดยมีการปล่อยโปแตสเซียมและแคลเซียม เข้าสู่เซลล์ประสาท เพิ่มการตื่นตัวของร่างกาย โดยในระบบประสาท คาเฟอีนจะไปกระตุ้นการทำงานในระดับสูงของสมอง เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ทำให้กลไกการคิดรวดเร็วและมีสมาธิมากขึ้น หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือคาเฟอีนจะไประงับสารที่ทำให้ร่างกายเกิดความง่วงนั่นเอง แต่หากได้รับปริมาณคาเฟอีนสม่ำเสมอหรือกินกาแฟเป็นประจำ ร่างกายก็จะปรับตัวให้เคยชินกับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับ โดยร่างกายจะปรับตัวโดยการปล่อยสารที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้กินกาแฟเท่าไหร่แต่ก็ยังง่วง เรียกได้ว่ากินก็ง่วงไม่กินก็ยิ่งง่วงกันเลยทีเดียว นั่นทำให้ยิ่งเพิ่มปริมาณคาเฟอีนเข้าไปอีกเรื่อย ๆ เพื่อให้ตื่นตัวซึ่งอาการเหล่านี้เรียกได้ว่า การดื้อกาเฟอีนนั่นเองสำหรับใครที่เริ่มรู้ตัวว่าร่างกายกำลังดื้อคาเฟอีน ควรปรับลดการกินกาแฟลง เช่น จากที่ต้องกินกาแฟทุกวันก็ให้เหลือ 3-4 วันต่อสัปดาห์ หรือกินแบบวันเว้นวัน เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับลดการหลั่งสารง่วงลง แต่ถ้าดื้อคาเฟอีนมาก ๆ ควรทำติดต่อให้ได้เกิน 1 เดือนขึ้นไป ดื่มกาแฟตอนท้องว่าง ร่างกายจะดูดซึมคาเฟอีนได้ดีสุด หายง่วงที่สุด เราจึงมักจะดื่มกาแฟกันแทนอาหารมื้อเช้า และถ้าง่วง ก็ต้องแก้ด้วยการนอน แค่พักผ่อนให้เพียงพอก็ลดการพึ่งพากาแฟลงได้ จะเห็นได้ว่ากาแฟนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ เราควรกินแต่พอเหมาะ ส่วนใครที่กำลังที่รู้สึกว่ากำลังดื้อคาเฟอีนอยู่ ผมว่าการลดการกินกาแฟลงก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากแถมยังดีต่อตัวเราเองด้วยอย่าลืมลองทำตามกันดูนะครับภาพประกอบภาพปก Engin Akyurt/pexelsภาพที่1 Igor Haritanovich/pexelsภาพที่2 Chevanon Photography/pexelsภาพที่3 Elijah O'Donnell/pexelsภาพที่4 John-Mark Smith/pexelsเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !