ความเครียดไม่ได้เหมือนกันไปหมด บางความเครียดส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ บางความเครียดช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าความเครียดนั้นจะส่งผลเสียหรือดีต่อเรา มาเริ่มกันด้วยก่อนว่าความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรมีองค์ประกอบ3อย่าง //องค์ประกอบ3อย่าง//1.ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น ร่างกายจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดนั้น2.ความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น เช่น สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดต้องถูกมองว่าเป็นสิ่งไม่ดีและสมควรหลีกเลี่ยง3.การสูญเสียอำนาจควบคุม เช่น คนคนนั้นจะต้องรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งเร้าที่มากกระตุ้นความเครียดได้ //สมองถูกสร้างมาเพื่อความเครียดที่คงอยู่เพียงไม่กี่วินาที// คุณจะรู้สึกได้เลยว่าเวลาที่ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด ชีพจรของคุณจะเต้นแรง ความดันโลหิตสูงขึ้น และคุณจะรู้สึกได้ถึงพลังงานมากมายที่ถูกปลดปล่อยออกมา ใช่ครับมันคืออะดรีนาลินซึ่งมันจะตอบสนองแบบสู้หรือหนี //ความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย// ความเครียดสามารถส่งผลทั้งในด้านบวกและลบต่อร่างกายและสมองของเรา มีผลต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน อันที่จริงแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆช่วยให้คุณตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีด้วยซ้ำ "แต่ความเครียดแบบเรื้อรังกลับส่งผลการทบในทางตรงข้าม นั่นคือ มันจะไปลดจำนวนเซลล์อย่างเม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง " อย่างที่เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนไหวต่อความเครียดมากขนาดไหน //ความจำและการแก้ปัญหา// ความจำของเราก็ได้รับผลกระทบจากความเครียดด้วยเช่นกัน ถ้ามีความเครียดอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากเกินไปนัก สมองก็จะทำงานได้ดีกว่าตอนที่ไม่มีความเครียดเลย ทำให้คุณสามรถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะจดจำข้อมูลได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีความเครียดอยู่ในระดับที่รุนแรงเกินไปหรือคงนานจนเกินไป มักส่งผลตรงข้ามกันแทน *ดังนั้น อย่าให้ความเครียดอยู่ในระดับที่รุนแรงและไม่นานจนเกินไปนะครับ*ภาพจาก : https://pixabay.com/th/ ภาพหน้าปก : manfredrichter ภาพที่ 1 : stevepbภาพที่ 2 : Counselling ภาพที่ 3 : ElisaRiva เขียนบทความโดย เกล็ดมนุด เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !