ใช้ออโต้โฟกัส (AF.) อย่างไรให้เหมาะกับงานถ่ายภาพของเรา ปัจจุบันการถ่ายรูปเป็นสิ่งที่ง่ายมาก ๆ ต่างจากสมัยก่อนการถ่ายรูปในแต่ละครั้งจะต้องคำนวณอะไรหลายอย่างขณะถ่ายภาพ ทั้งการวัดแสง ความเร็วชัตเตอร์ และค่ารูรับแรง โดยในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีระบบการถ่ายภาพแบบดิจิตอล ทำให่ต้องให้การกะหรือการคำนวณแบบคร่าวๆ ซึ่งถ้าคำนวณผิดพลาดการกลับมาแก้ไขภาพที่ถ่ายออกมาแล้วทำได้ยากมาก โดยเฉพาะในเรืองของการโฟกัส ถ้าการโฟกัสเกิดการผิดพลาดจะทำให้ภาพออกมาไม่ชัด หรือทำให้ภาพนั้นไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ภาพสุนัข โฟกัสที่ดวงตา เมื่อการถ่ายภาพเข้าสู่ระบบดิจิตอลทำให้ทุกอย่างของการถ่ายภาพเป็นอะไรที่ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก จะว่าไปแล้วคนที่ถือกล้องถ่ายภาพเพียงแค่อ่านคู่มือเพื่อทำความเข้าใจ และจัดองค์ประกอบหรือจัดตำแหน่ง หรือองค์ประกอบของสภาพแวดล้อม โดยดูผ่านจอภาพหรือช่องมองภาพแล้วกดชัดเตอร์ก็สามารถได้ภาพได้ตามที่ใจต้องการแล้ว แต่ความซับซ้อนของการถ่ายภาพดิจิตอลก็ยังมีอยู่แต่ต่างรูปแบบออกไปกับการถ่ายภาพในสมัยก่อนคือ การโฟกัสภาพ การโฟกัสภาพถ่ายคือ การที่ทำให้ วัตถุ หรือสิ่งของ แม้แต่จุดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อม มีความคมชัดหรือชัดเจนมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการต่อการใช้ อย่างเข่น การถ่ายภาพเครื่องสำอางเพื่อนำไปเป็นตัวอย่างสินค้าลงโฆษณาขาย การถ่ายภาพต้องโฟกัสไปที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การถ่ายภาพดอกไม้เพื่อนำไปเป็นต้องอย่างสินค้าหรือนำไปเป็นภาพเพื่อประดับผนัง ในร้านขายดอกไม้เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ก็ควรหาวัตถุที่เป็นดอกไม้และการถ่ายภาพควรวางจุดโฟกัสไปที่ดอกไม้ เป็นต้น ในสมัยก่อนนั้นการโฟกัสให้ภาพเกิดความคมชัดจะใช้มือหมุนเลนส์ เพื่อปรับความคมชัดของภาพเพียงเท่านั้น และจุดโฟกัสจะอยู่ที่ตรงกลางภาพไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้การถ่ายภาพนั้นมีขีดความสามารถที่จำกัด เพราะถ่ายไม่โฟกัสที่กลางภาพวัตถุที่ต้องการทำให้เกิดจุดเด่นในความคมชัด จะเกิดภาพเบลอได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อกว้าเข้าสู่การถ่ายภาพด้วยระบบดิจิตอล จึงต้องสร้างออกโต้โฟกัสขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้ ภาพดอกไม้อยู่กับที่ โฟกัสที่ตรงกลางดอกไม้ ใช้โหมด โฟกัสอยู่กับที่ (AF-S) เมื่อระบบการโฟกัสแบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่การโฟกัสด้วยเลนส์แบบมือหมุน ทำให้ผู้ถ่ายภาพไม่ต้องกังวลว่าภาพจะไม่คมชัดอีกต่อไปซึ่งก็เป็นความจริง โดยเฉพาะส่วนใหญ่ของคนที่ไม่จริงจังกับการถ่ายภาพ มีกล้องแล้วก็เอาไว้ถ่ายตอนไปเที่ยวอะไรทำนองนั้น แต่สำหรับคนที่เอาจริงเอาจังกับการถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพราะถ้าใช้โหมดโฟกัสผิดภาพที่ถ่ายออกมาจะเพี้ยนไปทันที มาดูกันว่าระบบโฟกัสในกล้องดิจิตอลมีอะไรบ้างและเหมาะที่จะใช้กับการถ่ายภาพในรูปแบบใด โดยทัวไปแล้วระบบโฟกัสของกล้องดิจิตอลจะมีด้วยกันอยู่ 3 แบบเพื่อตอบสนองการใช้งาน ในการถ่ายภาพที่มีความแตกต่างกัน คือ ภาพคนอยู่กับที่โฟกัสที่ดวงตา ใช้โหมด โฟกัสอยู่กับที่ (AF-S) 1.AF-S การโฟกัสแบบคงที่ เป็นโหมดโฟกัสอัตโนมัติ สำหรับถ่ายภาพที่วัตถุคงที่ไม่มีการเคลื่อนไหว อย่างเช่นการถ่ายภาพสินค้า การถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลที่สามารถควบคุมให้อยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว เป็นต้น โดยมีจุดโฟกัสที่คงที่ และสามารถเลือกจุดโฟกัสได้ทุกทิศทางโดยใช้ปุ่มกด ภาพสัตว์มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โฟกัสที่ดวงตา ใช้โหมด โฟกัสจับความเคลื่นไหว (AF-C) 2. AF-C การโฟกัสภาพเคลื่อนไหว หรือวัตถุที่มีความเคลื่อนไหว แบบอัตโนมัติ ภาพนี้เหมาะสำหรับถ่ายภาพกีฬา ถ่ายภาพสัตว์ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หรืออริยบทของมนุษย์ การถ่ายภาพแบบแคนดิดหรือสิ่งมีชีวิตที่ถูกจับโฟกัสแบบไม่รู้ตัว เป็นต้น จุดโฟกัสจะติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้มือเป็นตัวเลื่อนจุดโฟกัส และต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ ที่สูงขึ้นเพื่อหยุดภาพที่เคลื่อนไหวนั้นให้หยุดนิ่งเมื่อเรากดชัตเตอร์ไปแล้วภาพคนหาปลามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาบางครั้งวัตถุนิ่งอยู่กับที่ทำให้จับการเคลื่อนไหวแน่นอนไม่ได้ ใช้โหมด โฟกัสอัตโนมัติ (AF-A) แล้ว ขยายจุดโฟกัสโดยปล่อยให้กล้องทำการโฟกัสด้วยตัวเอง 3. AF-A เป็นโหมด โฟกัสอัตโนมัติ ทั้ง 2 แบบอยู่ด้วยกัน คือ AF-S เมื่อมีการจัดภาพหรือวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหวและ AF-C เมื่อวัตถุเคลื่อนไหวจุดโฟกัสก็จะไปตามวัตถุนั้น กล่าวคือถ้าวางจุดโฟกัสไว้บนวัตถุที่หยุดนิ่ง จะเป็น โฟกัสแบบ AF-S แต่ถ้าวัตถุนั้นเกิดความเคลื่อนไหวจุดโฟกัสจะจับตามวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นเป็น AF-C โดยไม่ต้องปรับโหมดโฟกัสใหม่ ระบบโฟกัสของกล้องดิจิตอลทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เป็นเพียงแค่บริบทคร่าว ๆ โดยทั่วไปของกล้องดิจิตอล ซึ่งในกล้องดิจิตอลของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีระบบโฟกัสพื้นฐานทั้ง 3 อย่างนี้ทั้งนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่เป็นปลีกย่อยเฉพาะอีก ด้วยเหตุนี้เมื่อได้กล้องดิจิตอลมาใหม่เราควรที่จะศึกษาคู่มืออย่างละเอียด และในระบบโฟกัสของกล้องดิจิตอลนั้นต่อให้มีระบบโฟกัสอัตโนมัติ ทางบริษัทผู้ผลิตก็ยังคงรักษาระบบโฟกัสแบบมือหมุน ไว้เหมือนเดิมแบบเช่นในอดีตเพราะในบางครั้งระยะของเลนส์กับวัตถุที่ใกล้กันมากจนเกินไปไม่อาจที่จะใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติได้ ด้วยเหตุนี้ระบบโฟกัสด้วยการหมุนเลนส์ หรือระบบ Manual ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ของการถ่ายภาพในยุคปัจจุบัน ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียน บทความ