บัญชี Credit Balance หรือ Margin Account = บัญชีเงินกู้เพื่อลงทุนโดยเราออกเงินเองเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น คือ บัญชีที่ เราสามารถกู้เงินโบรกเกอร์เพื่อใช้ในการลงทุนได้ โดยที่ เราต้องออกเงินเองส่วนหนึ่งและ ส่วนที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นคนจ่ายแทนให้เรา และในส่วนที่เราออกเองส่วนหนึ่งนั้นไม่ใช่ว่าเราอยากออกเท่าไรก็ได้นะเพราะเขาจะมีการกำหนดจำนวนเงินวางหลักประกันขั้นต่ำของหุ้นแต่ละตัวเอาไว้ (ตามเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์)ถามว่าโบรกเกอร์ให้เรากู้เงินฟรีๆหรือไม่ คำตอบก็คือ...ไม่ เพราะเราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่โบรกเกอร์ออกให้ เพราะถือว่าเป็นการกู้เงิน โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์)เราอาจจะมีความคิดว่า" อัตราดอกเบี้ยที่ประมาณ 5% ต่อปี เมื่อมองผ่านๆ อาจจะมองว่าน้อยก็ได้นะ พอๆกับการขอกู้อสังหา 1 หลังเอง ฉันจ่ายไหวอยู่แล้ว ฉันมั่นใจว่าหุ้นที่ฉันลงทุน ภายใน 1 ปีมูลค่าหุ้นต้องเพิ่มขึ้นเกิน 100% ต่อปี แน่ๆ เท่ากับว่าฉันทำกำไร 20 เท่า หรือ 2000% เมื่อเทียบกับการจ่ายดอกเบี้ยที่ 5% ต่อปี คุ้มสุดๆ "แต่ในความเป็นจริง หุ้นไม่ได้มีวิ่งขึ้น ตลอดเวลา หุ้นสามารถมูลค่าลดลงได้ตลอดเวลาตามความผันผวนของตลาดและเมื่อมูลค่าของหุ้นที่เราลงทุนนั้นลดลงจนต่ำกว่า มูลค่าหลักประกันขั้นต่ำที่โบรกเกอร์กำหนดไว้โบรกเกอร์ของเราก็จะมีขั้นตอนง่ายๆ 2 Step ดังนี้ Step แรก โบรกเกอร์จะโทรมาหาเราและบอกให้เราวางหลักประกัน หรือเติมเงินสดเข้าพอร์ตเพิ่มเพื่อให้มูลค่าหลักประกันของเรากลับไปมีมูลค่าเพียงพอตามขั้นต่ำที่โบรกกำหนด แต่ถ้าเราไม่มีทั้งหลักประกันและเงินมาเติมเพิ่มล่ะ ?? Step ต่อมา โบรกเกอร์ก็สามารถ บังคับขาย (Forced Sell) ได้ทันที ทำให้เราต้องรับรู้ผลขาดทุนในทันทีโดยไม่มีข้อแม้เช่น เรามีเงินในพอร์ต ประเภทบัญชีมาร์จิ้น จำนวน 5000 บ.เราอยากซื้อหุ้น ZZZ ที่ราคา 10 บ. ต่อหุ้น และโบรกเกอร์กำหนดว่าต้องวางหลักประกันขั้นต่ำเพียง 25% ของมูลค่าที่เราต้องการซื้อนั้นหมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้น ZZZ ได้ในมูลค่าสูงสุดได้ไม่เกินที่ 2000 หุ้นหรือ 20000 บ. ถ้าเรามีหลักประกันหรือเงินในพอร์ต 5000 บ.กรณีที่ 1 (ลงทุนบนความโลภ)ถ้าเราลงทุนซื้อหุ้น ZZZ ณ ราคา 10 บ. จำนวน 2000 หุ้น ในมูลค่า 20000 บ.แล้วต่อมาราคาลดลงเหลือ 9.5 เท่ากับว่าหลักประกันของเรามีมูลค่าลดลงจาก5000 บ. เหลือ 4000 บ. โบรกเกอร์ก็จะโทรมาบอกให้เราเติมเงินอย่างน้อย 1000 บ.เพื่อรักษาสถานะของระดับมาร์จิ้นให้คงไว้ที่ 25% ของมูลค่าลงทุนที่ 20000 บ.(เห็นอะไรในกรณีที่ 1 ไหมว่าถ้าเราลงทุนตามมูลค่าสูงสุด และวางเงินตามขั้นต่ำแบบพอดีแป๊ะๆ เพียงแค่ราคาหุ้นที่เราซื้อมูลค่าลงเพียง 5% หรือ 0.50 บ. เราก็ต้องโดนบังคับเติมเงินเพิ่มแล้ว)กรณีที่ 2 (ลงทุนตามความเป็นจริง)เราลงทุนซื้อหุ้น ZZZ ณ ราคา 10 บ. เหมือนกัน แต่เราซื้อเพียง 1000 หุ้น ในมูลค่า 10000 บ.เท่ากับว่าเราลงทุนโดยเราวางหลักประกัน 50% ของมูลค่าแล้วต่อมาราคาลดลงเหลือ 9.5 เท่ากับว่าหลักประกันของเรามีมูลค่าลดลงจาก 5000 บ. เหลือ 4500 ระดับอัตรามาร์จิ้นของเราก็ลดลงจาก 50% เหลือ 45% ซึ่งยังมีมูลค่ามากกว่าอัตราขั้นต่ำที่ 25% ไม่ว่าราคาหุ้นที่เราลงทุนจะลงมาที่ 9.5 บ.เราก็ไม่จำเป็นต้องเติมเงินจนกว่ามูลค่าหลักประกันในพอร์ตเราจะลดลงเหลือต่ำกว่า 2500 บ.ก็คือราคาหุ้นต้องลงมาต่ำกว่า 7.5 บ.(เห็นอะไรในกรณีที่ 2 ไหมว่าถ้าเราลงทุนเพียง 50% ของมูลค่าสูงสุดที่เราลงทุนได้ราคาต้องลดลงมากกว่า 25% หรือ 2.50 บ. เราถึงจะถูกเรียกเติมเงินเข้าพอร์ต นั้นหมายความว่าเราอึดขึ้นมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าเลยนะ)ข้อดี- เราสามารถเร่งผลตอบแทนได้ แม้เราจะมีเงินไม่เยอะ- ไม่จำเป็นต้องใส่เงินเต็มจำนวน ทำให้เราสามารถนำเงินอีกส่วนไปสร้างผลตอบแทนในรูปแบบอื่นได้ และสามารถวางกลยุทธ์ได้หลากหลายขึ้นข้อเสีย- สามารถเร่งผลขาดทุนให้เราได้เช่นกัน ถ้าผิดทาง- เรียกความโลภในจิตใจได้ง่าย เพราะเป็นเงินกู้ ที่เราจ่ายเพียงส่วนน้อย- มีการคิดดอกเบี้ยเมื่อลงทุน (ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญห้ามมองข้าม)คำแนะนำของ BlueGeMsบัญชี Margin Account หรือ Credit Balance นั้นเหมาะกับมือเก๋าที่มีประสบการณ์มาแล้วในระดับหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในสนามการลงทุนมาแล้ว และ Blue GeMs ก็ไม่ขอแนะนำสำหรับมือใหม่ให้ใช้บัญชีนี้เป็นจุดเริ่มต้นการลงทุน เพราะด้วยความยุ่งยากและเรียกความโลภในจิตใจได้ง่าย เพราะนอกจากจะขาดทุนเงินต้นได้ง่ายแล้ว ยังสามารถสร้างหนี้สินให้เราได้อีกด้วยถ้าเราถูกบังคับขายโดยมูลค่าหุ้นที่เราลงทุนโดนเทขายตอนตลาดตกใจ จนราคาลดลง และทำให้มูลค่าต่ำกว่าหลักประกันที่มีในพอร์ตสุทธิ เมื่อมือใหม่โดนครั้งเดียวอาจจะขยาดกับการลงทุนไปเลยก็เห็นได้บ่อยๆ ทำให้เราเสียโอกาสในการได้รู้จักกับการลงทุนที่ดีไปโดยปริยาย เพียงเพราะความโลภคำเดียวขอบคุณครับBlueGeMsขอบคุณภาพสวยๆรูปปก geralt / Pixabayรูปที่ 1 Tumisu / Pixabayรูปที่ 2 geralt / Pixabayรูปที่ 3 AhmadArdity / Pixabayรูปที่ 4 guvo59 / Pixabayรูปที่ 5 StockSnap / Pixabayรูปที่ 6 Alexas_Fotos / Pixabayรูปที่ 7 Alexas_Fotos / Pixabayรูปที่ 8 Kanenori / Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !