ภาพที่ 1 จาก Pixabay / pexelsสวัสดีครับบุคคลที่ต้องการรู้เรื่องเงินๆทองๆ ทุกๆท่าน สำหรับบทความนี้จะเป็นความต่อจากบทความที่แล้ว หากท่านใดยังไม่ได้อ่าน ผมแนะนำให้อ่านก่อนนะครับผม ผมมีความต้องการอย่างสูงว่าผู้อ่านทุกๆท่านจะได้รับความรู้และแนวคิดของผมอย่างต่อเนื่อง บทความเรื่องก่อนหน้าเงินๆทองๆ ทำไมต้องรู้ ในบทความนี้จะว่ากันด้วยเรื่องของ ความรู้ทางการเงินคืออะไร หลายๆท่านอาจจะรู้แล้วและหลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้เช่นกันนะครับ วันนี้เดี๋ยวผมจะถ่ายทอดให้ทุกท่านเองนะครับ ภาพที่ 2 จาก Pixabay / pexelsความรู้ทางการเงิน หรือ Money Literacy คือ ความเข้าใจในเรื่องของเงินทองนั่นเอง แต่ว่านอกจากเข้าใจแล้วยังไม่พอนะครับ ท่านต้องนำความเข้าใจดังกล่าวมาบริหารจัดการเงินของเราให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราด้วยนะครับ มากไปกว่านั้นเรายังต้องสามารถนำความเข้าใจในเรื่องเงินทองดังกล่าวมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเราได้เป็นอย่างดีด้วยนะครับ หลายๆคนคงจะแอบคิดในใจกันใช่ไหมละครับว่า "เฮ้ย จะคิดแบบนั้นได้มันต้องรวยก่อนน่ะสิ ถึงจะจัดการได้" ผมจะบอกว่าจริงๆแล้วไม่ต้องรวยก่อนนะครับ คำว่า ความรู้ทางด้านการเงิน หรือ Money Literacy คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มั่งคั่งทางด้านการเงินหรือจะเป็นคนที่ยังใช้เงินติดขัดอยู่ ขอแค่ท่านสามารถดูแลด้านการเงินของท่าน ให้ท่านมีความสุขทางด้านการเงินได้ ก็ถือว่าโอเคแล้วครับภาพที่ 3 จาก Pixabay / pexelsจากที่เกริ่นมาอย่างยาว ผมจะบอกท่านผู้อ่านนะครับว่า ความรู้ทางด้านการเงินประกอบด้วยอะไรบ้างในหลักสากลเลย เชิญติดตามกันต่อได้เลยนะครับการหารายได้ คือ ความสามารถในการหารายได้ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของเรานะครับ ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าการหารายได้อาจไม่ต้องมากหรือน้อยนะครับ เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากก็จำเป็นต้องหารายได้ให้ได้เยอะหน่อย หรือคนบางคนอาจจะไม่ได้สนใจกับสิ่งของเหล่านั้นมากแต่อาจจะไปสนใจในสิ่งอื่นก็อาจจะหารายได้ได้น้อยลงมาหน่อยนะครับ การหารายได้มีตัวชี้วัดในการวัดความฉลาดในการหารายได้ เราวัดจากคนๆหนึ่งมีรายได้หลายทางซึ่งเพียงพอต่อการใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันหรือเปล่า ผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยนะครับ ว่าทำไมต้องมีหลายทาง ผมจะบอกทุกท่านนะครับว่าการมีรายได้ทางเดียวค่อนข้างจะเสี่ยงอยู่เหมือนกันนะครับ เนื่องจากเราไม่สามารถบอกได้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น อาจจะเกิดความผิดพลาดก็ได้นะครับ ตัวอย่างเช่น ตกงาน โดนเบี้ยวค่าแรง หรือจ่ายค่าแรงช้า ท่านจะเห็นได้ว่ามีกระทบกับการใช้ชีวิตทั้งสิ้นเลยนะครับการบริหารการใช้จ่าย คือ ความสามารถในการบริหารและควบคุมรายจ่ายนะครับ เพื่อไม่ให้รายจ่ายของเราเกินรายได้ที่เราหามาได้นะครับ ถ้าเป็นคำพูดของคนที่มีอายุหน่อยเขาจะบอกเราว่า "อย่าใช้เงินเกินตัว" ครับ ตัวชี้วัดการบริหารการใช้จ่าย เราวัดจากกระแสเงินสดของเราต่อเดือนไม่ติดลบนะครับ ในส่วนนี้ผมอยากจะผู้อ่านว่า มีกิน มีใช้ มีเก็บ และการมีหนี้และการจ่ายหนี้ หนี้ดังกล่าวไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือนนะครับ เราสามารถเช็คได้ด้วยตนเองนะครับว่าหนี้ของเราเกิน 40% ต่อเดือนหรือเปล่า โดยการ (เอารายการผ่อนชำระหนี้+กันทุกอย่าง) มาหารกับรายได้ที่เราหาได้ครับและนำผลลัพธ์มาคูณด้วย 100 ครับ แล้วดูผลลัพธ์ที่ออกมาว่าเกิน 40% หรือไม่ครับ ถ้าเกินเราควรจัดการบริหารใหม่ครับ การออม คือ ความสามารถในการบริหารรายได้ให้มีเงินออมเป็นประจำและสม่ำเสมอนะครับ ผมมีสมการให้ผู้อ่านทุกๆท่านในการออมนะครับ รายจ่ายต่อเดือน = รายได้ - เงินออม จากสมการนี้นะครับ ผมต้องการที่จะสื่อกับผู้อ่านว่าเราจำเป็นต้องออมก่อนใช้ เพราะว่า หากนำมาใช้ก่อนแล้วค่อยออม เราจะไม่สามารถเหลือเงินออมได้ครับ ตัวชี้วัดการออมนะครับ เราวัดจากการที่มีเงินออม 10% ของรายได้ทุกเดือนเป็นอย่างน้อยและสม่ำเสมอครับ เพื่อที่เงินออมนี้จะเป็นหลักประกันให้เราในภายภาคหน้าครับว่าเราจะไม่ลำบากนะครับการลงทุน คือ ความสามารถในการนำเงินที่เก็บออมหรือหยิบยืม เพราะบางทีแล้วการลงทุนเราอาจจะมีความสามารถในการยืมหรือกู้ยืมก็ได้ครับ หรือ ร่วมทุน(หมายถึง การระดมทุนกับเพื่อนหรือคนรู้จักเพื่อลงทุน) เพื่อมาต่อยอดให้เงินเก็บของเรางอกเงยขึ้นมาได้นะครับ ตัวชี้วัดสำหรับการลงทุน คือ ดูจากผลลัพธ์การลงทุนในทุกพอร์ตนะครับว่าได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่นะครับ ในส่วนนี้มีหลายท่านเข้าใจผิดนะครับเกี่ยวกับการลงทุนว่าเราจะต้องได้ผลกำไรมากที่สุด ผมอยากจะบอกกับผู้อ่านทุกท่านว่าการลงทุนทุกแบบมีอัตราผลตอบแทนในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจก่อนว่าเราคาดหวังผลตอบแทนเท่าไหร่ในการลงทุนนะครับและเราได้ผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังหรือไม่นะครับ ถ้าเราได้ผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังหรือวางแผนไว้ นั่นหมายถึงว่าเรามีการควบคุมการลงทุนได้เป็นอย่างดีนะครับ และนี่คือความรู้ทางด้านการเงินทั้ง 4 ด้านนะครับผม ที่ซึ่งคนเราควรจะมีครบทั้ง 4 ข้อนะครับ ไม่ว่าจะเป็น การหารายได้ การบริหารค่าใช้จ่าย การออม และการลงทุน หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่ดี หรือมีข้อใดข้อหนึ่งมากและข้อใดข้อหนึ่งน้อยเกินไปก็ไม่ดี เพราะนั้นหมายถึงขาดสมดุลทางการเงินไปครับ ผู้อ่านทุกท่านลองเช็คตัวเองดูนะครับผม ว่ามีครบทุกข้อหรือไม่ หากไม่ต้องเพิ่มในส่วนที่ขาดนะครับผม บทความหน้าจะเป็นอะไรรอติดตามได้เลยนะครับผม ภาพที่ 4 จาก Alesia Kozik / pexelsเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !