รีเซต

วิจัยพบกบตัวเมีย กะพริบตาสื่อรัก อ่อยตัวผู้เข้าคู่กอดรัด

วิจัยพบกบตัวเมีย กะพริบตาสื่อรัก อ่อยตัวผู้เข้าคู่กอดรัด
Xinhua
27 มีนาคม 2567 ( 10:55 )
17
วิจัยพบกบตัวเมีย กะพริบตาสื่อรัก อ่อยตัวผู้เข้าคู่กอดรัด

(แฟ้มภาพซินหัว : กบเกาะบนกิ่งไม้ที่อุทยานธรรมชาติในสิงคโปร์ วันที่ 12 เม.ย. 2022)

เหอเฝย, 26 มี.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนพบว่าพฤติกรรมการกะพริบตา ซึ่งเคยมีสมมติฐานก่อนหน้านี้ว่าเป็นสัญญาณแสดงอาการทางสังคมที่มักพบได้ในสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) บางชนิด โดยเฉพาะในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ยังสามารถพบได้ในกบตัวเมียที่กะพริบตาสื่อสารกับกบตัวผู้ เพื่อกระตุ้นให้พวกมันเริ่มรุกเร้าด้วยท่วงท่ากอดรัด (amplexus)

การศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยครูอันฮุย และได้รับการเผยแพร่ในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อไม่นานมานี้ทีมวิจัยระบุว่ากบโอดอร์รานา ทอร์โมตา (Odorrana tormota) ตัวเมีย ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ตามสายน้ำไหลเสียงดังและสื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ยังใช้การกะพริบตาเป็นการสื่อสารกับกบตัวผู้ เพื่อกระตุ้นให้พวกมันเริ่มรุกเร้า ด้วยท่วงท่ากอดรัดสำหรับการผสมพันธุ์

การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของเปลือกตาเพื่อส่งสัญญาณในกลุ่มสัตว์นอกตระกูลไพรเมตบางชนิด ขยายขอบเขตไปไกลกว่าบทบาทการทำงานทางสรีรวิทยาแบบดั้งเดิม เช่น การหล่อลื่นกระจกตา และการกำจัดฝุ่นละอองคณะนักวิจัยพบว่ากบตัวเมียส่งสัญญาณกะพริบตาให้กบตัวผู้ที่พวกมันชื่นชอบผ่านวิธีการทดลองอย่างการสังเกตภาคสนาม การทดลองท่วงท่ากอดรัดแบบอยู่ภายใต้การควบคุม และการบันทึกคลิปวิดีโอ ซึ่งพบว่ากบตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้สำเร็จ เมื่อได้รับสัญญาณกะพริบตาเท่านั้น และหากปราศจากสัญญาณนี้เท่ากับมีความเสี่ยงว่ากบตัวเมียจะปฏิเสธการผสมพันธุ์

จางฟาง หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านพฤติกรรมการสื่อสารของกบ เสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของการสื่อสารด้วยภาพระหว่างสัตว์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง