วันนี้เราจะพามารู้จักกับ กอช. หรือมีชื่อเต็มว่า “กองทุนการออมแห่งชาติ” เป็นองค์กรของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินกันมากขึ้น และสิ่งที่พิเศษคือ “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บำนาญ” เริ่มสนใจกันขึ้นมาแล้วใช่ไหมล่ะ งั้นมาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ การสมัครสมาชิก ขั้นตอนที่ 1 อันดับแรกจะต้องทำการตรวจสอบสิทธิ์กันก่อน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ https://eservice.nsf.or.th/check-right ผู้ที่สามารถสมัครสมาชิกได้ คือ อายุระหว่าง 15-60 ปี สัญชาติไทย ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการบำเหน็จบำนาญอื่นๆของรัฐ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay สำหรับข้าราชการและพนักงานเอกชนที่ไม่สามารถสมัครสมาชิกได้ คือผู้ที่ เป็นผู้ประกันตน (มีประกันสังคม) ตามมาตรา 33 , 39 , 40 ทางเลือกที่ 2 และ 3 เป็นสมาชิกกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขั้นตอนที่ 2 หลังจากตรวจสอบสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมบัตรประชาชนไปที่จุดรับสมัครที่ใกล้บ้าน สามารถทำการสมัครสมาชิกได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่ออาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เคาน์เตอร์เซอร์วิส บุญเติม เทสโก้โลตัส หรือสมัครผ่านแอปพลิเคชันของ กอช. เองก็ได้ค่ะ ภาพโดย Emilio David Torres Vergara จาก Pixabay ขั้นตอนที่ 3 ส่งเงินงวดแรกทันที ขั้นต่ำอยู่ที่ 50 บาท และสามารถส่งได้สูงสุด 13,200 บาท สมาชิก กอช. ไม่จำเป็นต้องส่งเงินออมทุกเดือน และไม่จำเป็นต้องส่งเท่ากันทุกเดือน สามารถส่งขั้นต่ำ 50บาท และส่งได้สูงสุด 13,200 บาทต่อปี ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay ประโยชน์ที่จะได้จากการเป็นสมาชิกและออมเงินกับ กอช. 1.มีสิทธิ์รับเงิน เมื่อ สมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หากมีเงินสะสมในบัญชีเกินกว่า 144,000 บาท ก็จะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ ทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปี ลาออกจาก กอช. จะได้เพียงแค่เงินออมสะสม กับ ผลประโยชน์ของเงินสะสม จะไม่ได้เงินสมทบจากรัฐในกรณีนี้ เสียชีวิต 2.การออมเงินกับ กอช.จะได้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินกับธนาคาร โดยรัฐบาลค้ำประกันผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน(โดยเฉลี่ยจาก 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่และ 2 ธนาคารของรัฐ) และเรายังจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลด้วยค่ะ 3.สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay คำถามที่พบบ่อยๆ Q : ในระหว่างที่เป็นสมาชิก สามารถถอนเงินออกมาใช้ก่อนได้หรือเปล่า? สามารถถอนได้ แต่จะได้แค่เพียงเงินออมและผลประโยชน์จากเงินออมสะสมที่ส่งเข้ามา Q: ถ้าเกิดว่าได้ทำงานในบริษัทเอกชน/ราชการ ได้รับสวัสดิการแล้ว ควรทำอย่างไร กรณีที่ 1 : ส่งเงินสะสมต่อ เมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนที่สะสมเข้ามาก่อนทำงาน จะได้รับเงินออมสะสม+เงินสมทบจากรัฐ ถ้ายอดถึง 144,000บาท ก็จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต ถ้ายอดต่ำกว่า 144,000 บาท จะได้เงินดำรงชีพเดือนละ 600 บาทไปเรื่อยๆจนกว่าเงินจะหมดบัญชี ส่วนที่ 2 คือส่วนที่ส่งหลังจากได้ทำงานแล้ว จะได้เพียงเงินออมสะสมและผลประโยชน์จากเงินออมเท่านั้น กรณีที่ 2 : ไม่ส่งเงินสะสมต่อแล้ว แต่ยังเป็นสมาชิกอยู่ เมื่อสมาชิกอายุ 60 ปี จะได้เงินเป็น 2 แบบ ถ้ายอดที่เคยส่งถึง 144,000บาท ก็จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต ถ้ายอดที่เคยส่งต่ำกว่า 144,000 บาท จะได้เงินดำรงชีพเดือนละ 600 บาทไปเรื่อยๆจนกว่าเงินจะหมดบัญชี กรณีที่ 3 : ลาออกจากการเป็นสมาชิก กอช. ก่อนอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินก้อน ประกอบด้วย เงินออมสะสม กับ ผลประโยชน์จากเงินออมเท่านั้น การส่งเงินออมกับกอช.นั้น เป็นประโยชน์มากๆ นอกจากจะได้รับผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล ที่จะเป็นเงินบำนาญให้เราเมื่ออายุครบ 60 ปี อีกทั้งยังไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากเงินที่เราออมไปยังอยู่ครบ ถ้าหากใครมีสิทธ์สมัครสมาชิก อย่ารอช้านะคะ ทำตามขั้นตอนด้านบนได้เลย ภาพหน้าปกจาก Canva.com