กะเหรี่ยง ไทใหญ่ และพม่า ได้ต่อสู้กันหลังจากนั้นก็ได้ กลายมาเป็นมิตรที่ดีต่อกันจึงเกิดวัฒนธรรมรำดาบขึ้นมา วัฒนธรรมที่ดีงามคือวัฒนธรรมที่ผ่านการสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษ ผู้เขียนอยากบอกเล่าเรื่องราวของวัฒนธรรมการรำดาบของพี่น้องชาวปกาเกอะญอให้ทุกท่านได้ศึกษา วัฒนธรรมของพี่น้องราษฏรบนพื้นที่สูงว่ามีความเป็นมาอย่างไร และวันนี้ผู้เขียนจะพามาชมวัฒธรรมการรำดาบ ปกาเกอะญอ บ้านแม่จุม ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่รำดาบมีมานานกว่า ๑๐๐ ปี การรำดาบมีวิวัฒนาการมาจากการฆ่ากันของกะเหรี่ยง ไทใหญ่ และพม่า หลังจากฆ่ากันแล้ว ก็กลับกลายมาเป็นมิตรภาพที่ดีต่อกันและเปลี่ยนการใช้ดาบในการสู้รบกันนั้นมาเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามที่เกิดขึ้นคือการรำดาบหรือการฟ้อนดาบนั้นเอง การรำดาบครั้งแรกมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศพม่าก่อนที่จะเข้าสู่มายังชมเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ โดยไทใหญ่เป็นผู้ที่นำการรำดาบเข้ามาเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้ปืนแต่ใช้ดาบในการต่อสู้ แล้วการรำดาบนั้นได้เข้ามายังประเทศไทยโดยกะเหรี่ยง อีกทั้งยังเป็นครูสอนรำดาบที่เข้ามายังบ้านแม่จุม ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ ชื่อว่าครูดีเก สมัยก่อนผู้ชายจะเข้าไปเรียนรำดาบกับครูดีเกในป่าลึกเนื่องจากมีสถานที่กว้างขวางและสะดวกต่อการสอนรำดาบในสมัยนั้น เมื่อมีการเรียนรำดาบครบ ๗ วันแล้วนักเรียนจะต้องเตรียมของเพื่อมาของขมาดาบและครูเพราะถือว่าครูเป็นผู้ประสาทวิชา อีกทั้งยังถือเป็นความสิริมงคลป้องกันอันตรายตลอดเวลาขณะที่นักเรียนรำดาบลักษณะการประกอบพิธีพิธีการในการรำดาบ แต่ละปีจะต้องมีการไหว้ครู ๑ ครั้ง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลในการรำดาบ โดยการนำไก่และสุรามาเป็นเครื่องเซ่นประกอบพิธีซึ่งการนำไก่มาเป็นเครื่องเซ่นประกอบพิธี จะต้องเป็นไก่แดงเท่านั้น จำนวน ๑ คู่ ไม่จำกัดเพศ โดยลักษณะของไก่แดงเพศผู้ จะต้องมีสร้อยคอสีแดง ขนหางสีแดง-ดำ ขนลำตัวสีแดง ขา ปาก สีเหลือง ใบหน้าสีแดง หงอนคล้ายถั่ว เพศเมียจะมีลักษณะเหมือนเพศผู้ ยกเว้นไม่มีสร้อยคอและมีขนหางสีแดง พร้อมทั้งสุรา ๑ ขวด แต่เดิมจะต้องเป็นสุราขาว(เหล้าขาว)เท่านั้น ปัจจุบันจะเป็นสุราชนิดใดก็ได้ การประกอบพิธีจะต้องประกอบพิธี ในป่า รวมทั้งเมื่อเรียนเสร็จก็จะต้องมาขอขมาครู ในอดีตจะเป็นการมัดมือ การดำหัว เนื่องจากแต่เดิมมีการนับถือผี ในปัจจุบันมีการนับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็ยังมีการขอขมาครูอยู่เช่นกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นค่าครูแทน ส่วนจำนวนนั้นก็แล้วแต่จำนวนที่ครูเรียกลักษณะการแต่งกายการรำดาบจะรำได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาทำให้ผู้หญิงสามารถรำดาบได้ ซึ่งการแต่งกายในการรำดาบจะแบ่งเป็น ผู้ชายจะสวมเสื้อปกาเกอะญอสีแดงและกางเกงแบบผู้ชาย ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อปกาเกอะญอสีใดก็ได้และกางเกงสะดอคาถารำดาบ (ภาษาเงี้ยว) คาถาที่ใช้รำดาบจะท่องในใจ หรือพูดออกมาก็ได้ จะท่องตั้งแต่เริ่มรำไปจนถึงรำจบ โดยคาถาจะมีประมาณ ๓๐ ข้อ ในที่นี้จึงจะยกตัวอย่างคาถาประมาณ ๓ ถึง ๔ ข้อ เนื่องจากผู้ให้สัมภาษณ์อายุมากแล้วและจำไม่ค่อยได้คาถาดังกล่าวจะกล่าวจะท่องได้ดังต่อไปนี้ “โอซาตุ ซาตู้ หม่อตวยลู้ แหลลุ้แหล่แป่ หม่อจ่ออูปี บาแว่นจ่า เพิ่มพามาพากามาแหล่ย่ายู้ ย่าตวย ต้อตี๋พาโห” คาถาดังกล่าวมีความหมายประมาณว่า “เขาจะมาฟันเรา เราก็ต้องป้องกันตนเอง”ท่าทางการรำดาบท่าทางการรำดาบจะมี ๒ ท่า ดังนี้ท่านอนกลิ้งท่าควงยืนลักษณะการแสดงในงานการรำดาบของหมู่บ้านแม่จุม หมู่ที่ ๒ ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะจัดแสดงในงาน ดังต่อไปนี้การรำดาบส่วนใหญ่จะแสดงในงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของคนในภาคเหนือ จะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการจัดฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือฉลองสิ่งก่อสร้างของวัดที่ประชาชนช่วยกัน สร้างขึ้นและมักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนการรำดาบในพิธีแต่งงาน ส่วนมากจะไม่ค่อยพบเห็นแล้ว เนื่องจากต้องใช้กลอง หรือเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ มาช่วยสร้างจังหวะให้ครึกครื้นในสมัยก่อนแค่ท่องคาถา แต่ปัจจุบันจะรำดาบประกอบกับเพลงการรำดาบในขบวนงานสตรอว์เบอร์รี่และของดีอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งงานนี้ถือเป็นงานใหญ่ที่สุดของอำเภอ ภายในงานจะมีกิจกรรมการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละหมู่บ้านที่นำของดีในหมู่บ้านตนเองออกมาแสดงให้ผู้อื่นได้ชื่นชมพร้อมทั้งเรื่องราวของสตรอว์เบอร์รี่และร้านค้าต่างๆ มากมายซึ่งจะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสะเมิงความเชื่อการรำดาบมีความเชื่อว่าถ้าผู้รำดาบในขณะที่กำลังซ้อมมีการฟันโดนถึงตัวครูผู้สอนแสดงถึงผู้รำดาบ ผู้นั้นสามารถรำดาบได้แล้ว แต่ถ้ายังฟันไม่โดนถึงตัวครูผู้สอนหมายถึงยังรำดาบไม่ได้ และผู้ที่สามารถรำดาบได้นั้นจะต้องมีบุคลิกภาพเป็นผู้ที่มีมืออ่อนช้อย ตัวอ่อน คออ่อนและหลังอ่อน จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่รำดาบได้สวยงามวัฒนธรรมการรำดาบนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก เพราะไม่มีคนสืบต่อสิ่งที่ดีงามเล่านี้ ทำให้ท่าทางในการรำดาบได้หายไปจากชุมชน ดังนั้นเยาวชนรุ่นใหม่ควรจะต้องสืบทอดวัฒนธรรมเล่านี้ให้อยู่คู่กับสังคม และผู้เขียนอยากเขียนเรื่องราวนี้ไว้เพื่อให้เป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจต้องการศึกษาได้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป "เครดิต แหล่งที่มาของภาพ ถ่ายโดยผู้เขียน Ng Wongprasert"