มงกุฎแห่งจักรวาล สำหรับสาวงามผู้ครองตำแหน่ง Miss Universe เท่านั้นที่จะได้ครอบครอง โดยในแต่ละปีรูปแบบของมงกุฎอาจเปลี่ยนไปหรือในบางปีอาจนำรูปแบบเดิมกลับมาใช้อีกครั้ง ในปี 2019 นี้ Mouaward แบรนด์จิวเวลรี่ชื่อดังได้เปิดตัว มงกุฎสำหรับผู้ชนะการประกวด Miss Universe 2019 “The Power of Unity” ภาพประกอบจาก missuniverse.com มงกุฎ “The Power of Unity” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเถาวัลย์และใบของไอวี่ และมีมูลค่า 5 ล้านดอลล่าร์ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 150 ล้านบาท โดย Pascal Mouawad เจ้าของแบรนด์ Mouawad ได้เล่าถึงจุดกำเนิดของมงกุฎแห่งจักรวาล Miss Universe 2019 นี้ว่าได้ทำมาจากทองคำ 18 กะรัต ฝังเพชรกว่า 1,770 ชิ้น โดยมีน้ำหนักรวม 167 กะรัด จุดศูนย์กลางของมงกุฎคือ Golden Canary Diamond ที่มีน้ำหนัก 62.83 กะรัต โดยเพชรเม็ดงามนี้ถูกขุดพบที่เหมืองในประเทศบอตสวานา ในทวีปแอฟริกา เรียกได้ว่าเป็นมงกุฎรุ่นที่ 11 ที่ทุบสถิติเป็นมงกุฎนางงามที่แพงที่สุดตั้งแต่มีการจัดการประกวดมาอีกด้วย ภาพประกอบจาก missuniverse.com จากที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่าเพชร Golden Canary Diamond ที่มีน้ำหนัก 62.83 กะรัต ถูกขุดพบที่เหมืองในประเทศบอตสวานา ในทวีปแอฟริกา และในที่สุด เพชรเม็ดนี้ก็กลับสู่ทวีปแอฟริกาโดย Zozibini Tunzi จากแอฟริกาใต้เป็นผู้ชนะคว้ามงกุฎ “The Power of Unity” และครองตำแหน่ง Miss Universe 2019 โดยเธอถือเป็นคนแรกที่ได้สวมมงกุฎ The Power of Unity นี้อีกด้วย ภาพประกอบจากเฟซบุ๊ก Miss Universe นอกจากมงกุฎ The Power of Unity แล้ว ประวัติของมงกุฎแห่งจักรวาลที่มีมาอย่างยาวนานก็ได้เปลี่ยนมาหลายรูปแบบ ดังนี้ The Romanov Imperial nuptial crown (1952) ภาพประกอบจาก Angelopedia ใน 1952 เป็นปีแรกที่มีการจัดการประกวด Miss Universe ขึ้น โดยในตอนนั้นได้ใช้มงกุฎแห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย ที่ประดับไปด้วยเพชรมากถึง 1,535 เม็ดมาให้กับสาวงามผู้ชนะรางวัลสวมใส่ The Christiane Martel Crown (1953) ภาพประกอบจาก Angelopedia ในปีต่อมา 1953 มงกุฎนางงามจักรวาลได้รูปแบบใหม่ให้เป็นหน้าตาธรรมดา โดยมีลักษณะเป็นโลหะสีบรอนซ์ มีดีไซน์เป็นแผ่น และไม่มีอัญมณีหรือคริสตัลประดับให้ดูงดงาม เรียกได้ว่าเป็นมงกุฎที่ดูธรรมดาที่สุดในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ Star of the Miss Universe Crown (1954-1960) ภาพประกอบจาก Angelopedia มงกุฎนี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 1954 – 1960 เป็นมงกุฎที่มีดวงดาวประดับเปรียบเสมือนมงกุฎแห่งจักรวาล โดยประกอบไปด้วยไข่มุกประมาณหนึ่งพันเม็ด มีน้ำหนัก 1.25 ปอนด์ (ประมาณ 566 กรัม) และมีมูลค่าประมาณ 500,000 เหรียญ (ประมาณ 16.3 ล้านบาท) The 10th Anniversary Crown หรือ The Rhinestone Crown (1961-1962) ภาพประกอบจาก Angelopedia นับเป็นหนึ่งทศวรรตที่มีการประกวดมิสยูนิเวิร์สทางกองประกวดจึงผลิตมงกุฎรุ่นฉลองครบรอบ 10 ปีขึ้นมาเพื่อให้กลายเป็นที่จดจำ และมีนางงามเพียงสองคนเท่านั้นที่จะได้ใส่มงกุฎนี้ The Sarah Coventry Miss Universe Crown (1963-1972) ภาพประกอบจาก Angelopedia ต่อมาในปี 1963 มิสยูนิเวิร์สก็ได้เปิดตัวมงกุฎรุ่นใหม่อีกครั้งและถือเป็นมงกุฎคลาสสิกรูปแบบหนึ่งของการประกวดนางงามจักรวาลเลยก็ว่าได้ โดยมงกุฎนี้ถูกเรียกว่า The Lady Crown เนื่องจากถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นร่างของผู้หญิงถือคฑาประดับอยู่ อย่างไรก็ตามบางคนยังคงเรียกว่า Sarah Coventry Crown เพราะเป็นชื่อของบริษัทเครื่องประดับที่ได้สร้างมงกุฎรุ่นดังกล่าวออกมา The Chandelier Miss Universe Crown 1973-2001) ภาพประกอบจาก Angelopedia มงกุฎนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากมงกุฎรุ่นก่อน คือ The Sarah Coventry Miss Universe Crown เพื่อให้การสวมใส่ง่ายขึ้น The Mikimoto Miss Universe Crown (2001-2007) มงกุฎนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบคลาสสิคที่ถูกเรียกได้ว่าเป็นมงกุฎที่สวยงามเหมาะสมกับมิสยูนิเวิร์สอย่างมาก ออกแบบโดย Mikimoto ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนกฟีนิกซ์ที่แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจและความงดงาม ประดับด้วยเพชร 500 เม็ดหนักรวมกว่า 30 กะรัต และไข่มุกจากเกาะในญี่ปุ่นอีก 120 เม็ด รวมมูลค่าทั้งหมดแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 250,000 เหรียญ หรือประมาณ 8 ล้านบาท CAO Fine Jewelry Miss Universe Crown (2007-2008) มงกุฎนี้ออกกแบบโดย CAO Fine Jewelry จากเวียดนามทำมาจากทองคำขาวและทองคำเหลือง 18 กะรัต ประดับด้วยอัญมณีกว่า 1,000 ชิ้น มูลค่า 120,000 เหรียญ หรือประมาณ 3.9 ล้านบาท โดยถือเป็นมงกุฎที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดเพราะแทบจะไม่ถูกกล่าวถึงเลยก็ว่าได้ Peace Crown by Diamond Nexus Labs (2009-2013) มงกุฎ Diamond Nexus Labs ออกแบบโดยมุ่งเน้นให้มองว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเพราะหิน นับพันเม็ดในมงกุฎล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด นอกจากนี้ทับทิมสีแดงที่อยู่ตรงกลางวงกลมแต่ละวง สื่อถึงความต้องการ ที่อยากให้ความรู้เกี่ยวกับเชื่อ HIV และโรคเอดส์ อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคนี้อีกด้วย The DIC Miss Universe Crown (2013-2016) มงกุฎ Diamond International Corporation (DIC) ถูกออกแบบขึ้นมาให้มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมที่สื่อถึงตึกระฟ้าในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กร Miss Universe เป็นมงกุฎที่สะท้อนสัญลักษณ์และแสดงออกถึงความงาม ความมั่นคง ความตั้งใจและพลังของสตรีทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 เหรียญ หรือประมาณ 9.8 ล้านบาท The Mikimoto Miss Universe Crown (2017-2018) มงกุฎ Mikimoto ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในการประกวดปี 2017 และ ปี 2018 The Power of Unity Miss Universe Crown (2019 - ) เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 11 มงกุฎแห่งจักรวาล ใครจะไปรู้ว่ามงกุฎในปีถัดไปจะเป็นรูปแบบไหน และไทยจะได้ครองมงที่สามเมื่อไหร่ คอยติดตามกันนะครับ ติดตามผลงานจาก ปรภ ไม่ใช่ รปภ ได้ที่ Porraphat.com blockdit TrueID